อะโกลนีมา
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมปลูกเลี้ยงอะโกลนีมาไว้หลายกระถาง ประดับไว้ในบ้าน ในระยะแรกที่ซื้อมาก็สวยงามดี ต่อมาไม่ถึงปีต้นกลับไม่งามเหมือนเดิม ใบสีไม่สด แถมใบตั้งชันขึ้น รูปทรงจึงไม่สวยงาม จึงขอเรียนถามว่า ผมจะต้องบำรุงอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถือ อาวุธ กระแสวงศ์ นนทบุรี ตอบ คุณอาวุธ กระแสวงศ์ อะโกลนีมา เป็นไม้ที่มีรูปทรงสวยงาม ใบมีสีสดใส การปลูกให้งามต้องรู้นิสัยของไม้ชนิดนี้ เริ่มตั้งแต่วัสดุปลูก มีหลายสูตร ดังนี้ สูตรที่หนึ่ง แกลบดิบ แกลบดำ เปลือกถั่วลิสง และใบไม้ผุ อัตรา 1 : 1 เท่ากัน สูตรที่สอง ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน และเปลือกถั่วลิสง 1 ส่วน และ สูตรที่สาม กาบมะพร้าวสับและขุยมะพร้าว อัตรา 1 ส่วนเท่ากัน ก่อนใช้ปลูก คลุกเคล้าให้เข้ากัน อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คืออะโกลนีมาทุกพันธุ์ต้องการแสงแดดเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น จึงต้องทำร่มเงาให้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ซาแรนสีดำตัดแสง กรณีที่ได้รับแสงมากเกินไปจะทำให้ใบตั้งชัน รูปทรงไม่สวยงาม ซึ่งตรงกับกรณีของคุณ ประการสำคัญการตั้งโรงเรือนต้องให้แสงสว่างได้รับทิศทาง หากแสงส่องเข้าได้มากใ
อะโกลนีมา เป็นไม้ประดับที่มีความโดดเด่น สวยงาม เป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย หัวใจสำคัญของวิธีการปลูกอะโกลนีมา คือ แสง พืชชนิดนี้ต้องการแสงเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น หากได้รับแสงมากเกินไปใบจะหดสั้น ต้นตั้งชูขึ้น หรืออาจเกิดอาการใบไหม้ขึ้นได้ แสงต้องส่องเข้าได้ทุกทิศทางอย่างสม่ำเสมอ ถ้าได้รับแสงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ต้นอะโกลนีมาก็จะเอียงเข้าหาแสงทางด้านนั้น วัสดุปลูก นับว่าสำคัญไม่แพ้กัน วัสดุปลูกทั่วไปใช้ส่วนผสมของดินร่วนสะอาด กาบมะพร้าวสับ ปุ๋ยหมักเก่า อัตรา 2 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน หรืออาจปรับได้ตามแหล่งที่หาวัสดุปลูกได้ เช่น ใช้แกลบดิบ หรือขี้เถ้าแกลบเป็นส่วนผสมได้บางส่วน การให้ปุ๋ยบำรุงบ้าง ด้วยสูตร 15-15-15 ใส่เพียงเล็กน้อย 2-3 เดือนครั้งก็พอ โรคที่พบเสมอ คือโรคโคนเน่า วิธีป้องกันกำจัด ใช้วัสดุปลูกที่โปร่ง อย่าให้น้ำขัง หากระบาดรุนแรงให้ใช้สารเทอราคลอร์ผสมน้ำตามอัตรา แนะนำราดที่โคนต้นให้ทั่ว การใช้สารเคมีขอให้ใช้อย่างระมัดระวังตามคำแนะนำข้างฉลากอย่างเคร่งครัด เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สำหรับแฟ
ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ ไม้ประดับไม้ใบสีสันสวยงาม ค่อนข้างที่จะมีการทำตลาดจำหน่ายออนไลน์ได้เป็นอย่างดี บวกกับระบบการขนส่งที่มีมาตรฐาน ทำให้การขนส่งไม้ประดับทำได้ง่ายขึ้นและมีความปลอดภัย โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปถึงสวนก็สามารถซื้อต้นไม้ที่ต้องการผ่านการไลฟ์สดจากเกษตากรโดยตรง พร้อมทั้งชมภาพต้นไม้ได้จากเพจเฟซบุ๊กที่เกษตรกรสร้างขึ้น ซึ่งมีการอัพเดทสินค้ากันแทบทุกวัน อาจกล่าวได้ว่าช่วงสถานการณ์โควิดเช่นนี้ ตลาดไม้ดอกไม้ประดับสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีทีเดียว คุณธเนศ กรอบทอง อยู่บ้านเลขที่ 43/1 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีใจรักในการปลูกอะโกลนีมาเพราะความชอบ ทำให้เมื่อหลายปีก่อนหน้าแม้ราคาของไม้จะตกลงไปจากกลไกลตลาดและความนิยม แต่เขาก็ยังไม่ย่อท้อ กลับพัฒนาสวนและปลูกมาเรื่อยๆ พร้อมกับทำงานอื่นเสริมไปด้วย เมื่อความนิยมและราคาไม้กลับมาอยู่ตัวมีการซื้อขายดีขึ้น ทำให้การตลาดค่อยๆ ไปได้ดี ส่งผลให้อะโกลนีมากลายเป็นไม้ประดับที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของเขามาจนถึงวันนี้ คุณธเนศ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ด้ว
อะโกลนีมา (Aglaonema) จัดเป็นไม้ใบประดับที่มีอนาคตไกล มีความงดงาม แปลกใหม่ และไม่ซ้ำกัน เป็นที่ดึงดูดความสนใจ ได้รับสมญานามว่า “ราชาแห่งไม้ประดับ” ตลาดหลักอยู่ที่อินโดนีเซีย อะโกลนีมาสามารถวางประดับได้ทั้งในและนอกอาคาร เช่น เขียวหมื่นปี เงินมาก ขันหมากราชา ใช้เป็นไม้มงคล ไม้หายาก หรือใช้ใบประกอบการจัดดอกไม้ นอกจากนี้ สามารถช่วยลดมลพิษภายในอาคาร คือช่วยดูดก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์