อัญชัน
แม่บ้านทำความสะอาดสำนักงานที่ผู้เขียนทำงานอยู่ มักจะทำงานเพื่อหารายได้เสริมอยู่เสมอ งานเสริมก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วแต่โอกาส หรือแล้วแต่ใครจะมาเสนองานให้ มาในระยะหลังตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ จะเห็นเธอนำดอกอัญชันใส่ถาดใหญ่ๆ 2-3 ถาด มาตากแดดที่หลังสำนักงานเกือบทุกวัน โดยเฉพาะวันที่แดดจัด สอบถามได้ความว่า เธอทำดอกอัญชันตากแห้งขาย โดยมีคนนำดอกอัญชันสดมาให้ เธอก็นำมาตากให้แห้ง แล้วนำไปขายให้กับผู้รวบรวม โดยดอกอัญชันแห้ง 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกอัญชันสดประมาณ 10 กิโลกรัม ราคาดอกอัญชันแห้งก็จะสูงกว่าดอกอัญชันสด 7-10 เท่า เมื่อปลายปีที่แล้วเช่นกัน กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำอัญชันพันธุ์ใหม่ ชื่อ “เทพรัตน์ไพลิน 63” ซึ่งเป็นอัญชันกลีบซ้อนให้ผลผลิตสูง มีสารสำคัญสูง ขณะเดียวกันกรมวิชาการเกษตรยังเปิดตลาดอัญชันแห้งไปยังตลาดอินโดนีเซียด้วย จึงเป็นเหตุการณ์ที่จุดความสนใจเกี่ยวกับดอกอัญชันขึ้นมาให้อยากค้นหา มากกว่า อัญชัน ที่เป็นเพียงไม้เลื้อยริมรั้วบ้านเท่านั้น สรรพคุณของอัญชัน อัญชัน (Butterfly pea หรือ Blue pea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clitoriaternatea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (LEGUMINOSAE) มีถิ่
อัญชัน หลายคนมองว่าเป็นวัชพืช จริงๆ แล้วไม่ถือว่าเป็นวัชพืชโดยตรง แต่ก็มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายวัชพืชในบางบริบท เช่น โตเร็ว เลื้อยคลุมพื้นที่ได้ง่าย ถ้าไม่ควบคุม อัญชันอาจขึ้นคลุมต้นไม้อื่นหรือแทรกในแปลงเพาะปลูกได้ ในทางการเกษตรและสมุนไพร อัญชันถือเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก เช่น ใช้ทำสีอาหาร สกัดเป็นสมุนไพร หรือใช้เป็นพืชคลุมดินบำรุงดิน เพราะเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงไนโตรเจน ปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเริ่มมีการปลูกอัญชันสร้างรายได้กันมากขึ้น โดยการปลูกและนำไปตากขายเป็นดอกแห้ง ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยตลาดหลักตอนนี้อยู่ที่ประเทศจีนสำหรับการนำไปทำสมุนไพร ชมพู่-เฌอพัชญ์ นามชารี พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของสวนพรธิดา การ์เด้น – สวนอัญชัน ออร์แกนิค ปากทางบ้านนาเลา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผู้เป็นแรงผลักดันและสนับสนุนให้ครอบครัวสร้างรายได้เสริมจากการปลูกอัญชันส่งขายสร้างรายได้เสริมกว่าเดือนละ 30,000 บาท จุดเริ่มต้นของการปลูกอัญชันสร้างรายได้ คุณชมพู่เล่าให้ฟังว่า เกิดจากที่คุณแม่เห็นเพื่อนบ้านเริ่มปลูกอัญชันกันเยอะ จึงได้มาปรึกษากับตนเองว่าอยากจะป
ตอนเด็กๆ เคยได้ยิน ได้เห็น เคยฟังเรื่องบอกเล่าจากผู้ใหญ่หลายคน เรื่องเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร่างกายของตนเอง และของคนข้างเคียง ทั้งเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย เรื่องอุบัติเหตุเกิดการบาดเจ็บ เรื่องความบกพร่อง ไม่สมประกอบของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มีไฝมีหูดขึ้นตามผิวหนัง ตาฝ้าตาฟาง ตาเหล่ ขาเป๋ แขนง่อย ฟันหลอ ปากเบี้ยว ฟันเหยิน พุงยื่น หลังโก่ง หลายอย่างที่เรียกว่า ขี้เหร่อัปลักษณ์ รวมทั้ง ผมบาง หัวเถิก หัวล้าน ก็เป็นเรื่องที่นำมาถกกันในวงเหล้า และเป็นสื่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท มีบางคนตั้งตนเป็นหมอ บอกรู้วิธีแก้ไข จัดการความอัปลักษณ์ให้เป็นความหล่อเท่เก๋สวย แนะนำให้ใช้ผัก ไม้ ใบหญ้า มาเป็นเครื่องแก้ จะทำให้เป็นได้สมใจตามที่อยากเป็น การใช้ “ดอกอัญชัน” พืชข้างรั้วมาช่วยแก้ปัญหาคนหัวล้าน ก็เป็นเรื่องเด่นเย็นนี้ที่วงเหล้าบอก ว่าให้เอาดอกสีม่วง มาขยี้ทาหัวตรงที่ผมบาง หรือไม่มีผม ทาบ่อยๆ ทุกวันก่อนนอน สมัยก่อนเขาขยำดอกอัญชันทาหัวเด็ก ทำให้เด็กผมขึ้นหนา บ้างก็เอามาทาคิ้ว เพื่อให้คิ้วดำหนา ทาเพิ่มขนแขน ขนขา ขนหน้าอก เขาว่าเป็นยาปลูกผม ปลูกขน ได้ผลดีด้วย ได้หล่อสวยตามที่ต้องการ ท่านผู้อ่านหลายท่านจะ
สูตร ทำน้ำดอกอัญชันง่ายๆ มีดังนี้ ใช้ดอกอัญชันตากแห้ง 100 กรัม ล้างน้ำให้สะเด็ด โยนลงหม้อ เติมน้ำสะอาดลงไป สัก 2 ถ้วยตวง ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ 5 นาที กรองเอากากออก เติมน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งตามใจชอบ จิบอุ่นๆ หรือจะใส่น้ำแข็งป่นก็แล้วแต่รสนิยม หรืออีกวิธีหนึ่ง ก็เอาดอกอัญชันแห้ง ประมาณ 10-20 ดอก ใส่น้ำร้อน 1 ถ้วย ชงแทนชาไว้จิบอุ่นๆ ก็ดีไปอีกแบบหนึ่ง ลองเอาไปทำกันเองดูนะครับ ง่ายๆ กิจกรรมในครัวเรือน ไว้เลี้ยงเพื่อนๆ ประหยัดงบดีอีกด้วย วิธีการปลูก เก็บฝักแก่ๆ สีน้ำตาลมาแกะเอาเมล็ดข้างใน แช่น้ำสัก 10 นาที นำไปเพาะในกระบะ เมื่อเห็นต้นอ่อนงอกขึ้นมาสูงสัก 1 คืบ ให้แยกออกลงกระถาง กระถางละ 2-3 ต้น หาไม้ไผ่มาปัก เป็น 3 เส้า ผูกเชือกให้แน่น สำหรับเป็นที่ให้ต้นเลื้อย รอสักเดือนกว่าๆ ก็ออกดอกให้แล้วครับ อัญชันปลูกได้ดีทั้งกลางแจ้งและในที่ร่ม แต่กลางแจ้ง ดอกจะมีสีเข้มกว่า หรือจะปล่อยให้เลื้อยขึ้นซุ้มประตูหน้าบ้าน หรือตามรั้วริมกำแพงก็ได้ทั้งนั้นไม่เกี่ยงงอนแต่อย่างใด เหมือนสาวบ้านนอก ซื่อๆ ใสๆ อย่างไรก็ได้ยิ้มไว้ตลอด ให้อยู่ตรงไหนๆ ก็อยู่ได้ เข้ากะคนและสิ่งแวดล้อมได้ง่าย บางทีเลื้อยขึ้นพันต้นไม้ใหญ่เอง
ไม้เลื้อยส่วนใหญ่มักเป็นไม้หน้าฝน มาเองกับธรรมชาติ และจากไปในฤดูกาลเมื่อถึงเวลาของมัน เราจะเห็นเถาตำลึง มะระขี้นก กระทกรก พวงชมพู อัญชัน เถาคัน ฯลฯ แตกต้นเล็กๆขึ้นมาจากผืนดินในที่รกร้างพร้อมกับฝนแรก และไม่นานหลังจากนั้นมันก็จะระบัดใบรวดเร็ว เลื้อยไต่พันเกาะทุกสิ่งที่มือของมันยึดเกี่ยวไปถึง ในบรรดาไม้เลื้อยเหล่านี้ ต้นที่แข็งแรงกว่าจะได้ชัยชนะในการปีนป่ายทับไม้อื่นเสมอ และมันจะไม่ยอมหยุดยั้งการแผ่อาณาเขตตราบเท่าที่มีช่องว่างให้ผ่านไป แถวบ้านฉันราชาและราชินีแห่งไม้เถาที่เลื้อยเก่งแบบไม่เกรงใจผู้ใดเลยก็คือมะระขี้นกกับกระทกรก เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ฝังอยู่ในดินมีมากมายก่ายกอง มีน้ำชุ่มเมื่อไหร่ก็แทงยอดใหม่ทันที แต่สุดยอดแห่งความทรหดอดทนนั้นต้องยกให้เป็น “ตำลึง” ซึ่งไม่ต้องรอฝนตกเลยก็เกิดและเติบโตได้ในทุกที่ขอเพียงให้มีหยาดน้ำค้างพร่างพรมอยู่บ้างในยามค่ำคืน ส่วนเถาไม้งามประดับรั้วในฤดูฟ้าฉ่ำนั้นไม่มีไม้ใดงดงามเท่า พวงชมพู กับ อัญชัน อีกแล้ว ในที่รกร้างรอบบ้านทุกฤดูต้นฝน พวงชมพูกับอัญชันจะแผ่ขยายอาณาจักรไปทุกหย่อมหญ้า ไม่ต้องมีเสารั้วให้เกาะก็ไม่เป็นปัญหา พวกเธอจะคืบคลานไปในทางระนาบทุกทิศทาง แต่
ชื่อสามัญ : BLUE BUTTERFLY PEA ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea วงศ์ : Leguminosae อัญชัน เป็นไม้ไทยแท้ๆ มีกล่าวไว้ในนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร แห่งกรุงศรีอยุธยาว่า “อัญชัน คิดอัญชัน ทาคิ้วมันกันเฉิดฉาย ชำเลืองเยื้องตาชาย ชายชมนักมักแลตาม” ดอกสดๆ ใช้นำมาขยี้ทาผม คิ้ว ทำให้ดกดำ นุ่มสลวย เป็นเงางาม คนโบราณรู้จักนำมาใช้ประโยชน์หลายทาง เช่น น้ำคั้นกลีบดอกทำสีใส่อาหาร หรือขนมต่างๆ อาทิ ขนมเรไร ขนมชั้น วุ้นอัญชัน เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น เป็นเถาเลื้อยกลมๆ ขนาดเล็ก แต่เหนียวมาก ดึงให้ขาดได้ยาก มักจะพบขึ้นพันไปกับต้นไม้อื่นๆ หรือขึ้นตามรั้วกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปทุกภาค ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายเดี่ยว หรือที่เรียกว่า Odd pinnate ผลเป็นฝักแบนๆ คล้ายถั่วลันเตา ภายในมีเมล็ด ฝักละ 2-4 เมล็ด ดอก เหมือนอะไรดีล่ะ อู๊ย! จะเขียนยังไงดีละเนี่ย ไปพิจารณาสังเกตเพ่งดูกันเอาเองแล้วกันว่าเหมือนอะไร บอกใบ้ให้ว่า ให้ดูที่ Genus รากศัพท์คล้ายๆ กันน่ะแหละ ที่ผู้เขียนก็ไม่มีซะด้วย ไม่มี้ ไม่มีจริงๆ ให้ดิ้นตาย นึกออกแล้วละก็ คงเข้าใจกันนะว่า นักพฤกษศาสตร์รุ่นเก่าๆ เขามีอารมณ์ขัน และจินตนาการล้ำลึก