อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร
ดร.ดวงพร อุนพานิช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (MPAD) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายนารถพล บัวอำไพ ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุและวิเคราะห์ความเสียหาย และ ดร.สุเทพ จอยเอกา นักวิชาการ MPAD ร่วมให้การต้อนรับ น.อ. ภาณุพงศ์ ขุมสิน ผอ.กผค. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ และนายทหารโครงการอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบ MARCUS-B กองทัพเรือ พร้อมด้วย นายธนดล ถมยา บริษัท SDT composite จำกัด และคณะนักวิจัยของโครงการ เข้าหารือความร่วมมือในการทดสอบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบ MARCUS-B ที่กองทัพเรือได้ทำการวิจัยและจัดสร้างขึ้น โดยได้นำอากาศยานไร้คนขับที่เป็นผลผลิตของโครงการมาจัดแสดงและทำการส่งมอบชิ้นส่วนของอากาศยานไร้คนขับให้กับห้องปฏิบัติการคุณสมบัติวัสดุและวิเคราะห์ความเสียหาย วว. เพื่อทำการวิเคราะห์ ทดสอบต่อไป ทั้งนี้ วว. โดยโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและซ่อมอากาศยาน ภายใต้การดำเนินงานของ ห้องปฏิบั
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พาชมความสำเร็จงานพัฒนานวัตกรรม “โดรนพ่นสารเคมีการเกษตรความแม่นยำสูง” ผลงานความร่วมมือระหว่าง “อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” กับภาคเอกชน เผย คุณภาพเทียบเคียงโดรนญี่ปุ่น แต่ราคาถูกกว่า 10 เท่า ลดสัมผัสสารเคมีโดยตรง ได้งานมากกว่าแรงคน 40 เท่า ญี่ปุ่นสั่งทำขายเกษตรกรแล้ว วันที่ 27 กันยายน นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ลงพื้นที่ในทุ่งนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อดูการสาธิตการใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ที่ผลิตโดยคนไทย ภายใต้การสนับสนุนของอุทยานวิทยาศาสตร์ สำหรับพ่นยาฆ่าศัตรูพืช และปุ๋ย ในนาข้าว นางอรรชกากล่าวว่า อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ และหุ่นยนต์ เป็นกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายของนโยบายภาครัฐ ลดความเสี่ยงในการสัมผัสหรือผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) อันจะมีการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งจากด้านเกษตรกรรมและวิศวกรรมเข้าด้วยก