อาชีพชาวนา
หมู่บ้านกรงกราง ม.6 ต.โนนไทย อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา มีเกษตรกรรายหนึ่งใช้พื้นที่สระน้ำกลางแปลงนา เลี้ยงหอยขมในถุงตาข่ายไนล่อนสีฟ้าขาย เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งการเลี้ยงที่ง่าย ลงทุนน้อย และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก มีลูกค้ามาสั่งซื้อถึงที่จนหอยโตไม่ทันขาย ต้องจองล่วงหน้าตั้งแต่เอาลูกหอยลงเลี้ยง เลี้ยงหอยขมในถุงตาข่าย นายชาญศิลป์ ทรัพย์โนนหวาย อายุ 44 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยขม เปิดเผยว่า ตนมีอาชีพทำนาเหมือนกับชาวบ้านทั่วไป แต่ชอบหาอาชีพสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งเห็นว่าหอยขมเป็นที่นิยมของชาวบ้านนำไปประกอบอาหาร แต่กว่าจะหารับประทานได้ก็ต้องรอถึงฤดูฝน และปัจจุบันนี้หอยขมตามแหล่งธรรมชาติก็หารับประทานยาก อีกทั้งยังมีสารพิษตกค้างจากการใช้สารเคมีตามไร่ ตามนา จึงทำให้คนเกิดความกังวลว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นตนจึงได้ลองศึกษาการเลี้ยงหอยขมในสระน้ำดู แบ่งพื้นที่ในสระน้ำเลี้ยงหอย “โดยใช้สระน้ำที่ขุดไว้กลางทุ่งนา นำหอยขมที่จับมาได้ปล่อยลงสระ ซึ่งกว่าจะขายได้ก็ใช้เวลานานเกือบ 6 เดือน อีกทั้งหอยที่ได้ก็มีขนาดไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการ รวมถึงยังมีขี้ดินติดมาอีก
ข้าว เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของวิถีแห่งชีวิต และเป็นพืชเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงคนไทยทั้งชาติ เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน การทำนาได้แทรกซึมอยู่ในวิถีวัฒนธรรม ก่อให้เกิดประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์มากมาย เมล็ดข้าวนอกจากจะเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตแล้ว ยังมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 ตลอดระยะเวลา 14 ปี แห่งการเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแล ด้านการผลิตข้าว การขับเคลื่อนงานบริหารจัดการข้าวของประเทศอย่างครบวงจร ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย มีบทบาทสำคัญ ในการดูแลชาวนาจำนวนกว่า 4 ล้านครัวเรือน กว่า 16 ล้านคน ซึ่งถือเป็นจำนวนมาก เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชาวนาให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งดำเนินการ เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดี และเพิ่มเสถียรภาพให้กับประเทศ โดยปัจจุบันมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 2
“ข้าว” คือต้นธารแห่งวัฒนธรรมของคนไทย เป็นรากฐานของชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตและสังคมของไทย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปมาก สังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเกษตร ปัจจุบันต้องพบกับปัญหา เนื่องจากรายได้ภาคเกษตรมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อมองถึงความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย จึงไม่ควรมองความสำคัญจากมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือคิดเป็นมูลค่าจากจำนวนเงินเท่านั้น เพราะสถานะภาคเกษตรมีความสำคัญในการเกื้อหนุนชีวิตแรงงานภาคเกษตร ซึ่งปัจจุบันอาชีพชาวนาต้องพบกับปัญหา เนื่องจากลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ต่างเข้ามาทำงานในเมือง หรือเคลื่อนย้ายสู่แรงงานนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพราะเห็นว่าอาชีพทำนาเป็นงานที่หนัก ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เกิดความสูญเสียจากภัยพิบัติบ่อยครั้ง ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคาและรายได้น้อยไม่แน่นอน และไม่มีสวัสดิการที่มั่นคง เหลือแต่ชาวนาสูงวัย จึงทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า อนาคตข้างหน้าอาจกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ดังนั้น การเรียนรู้การทำนาอย่างถูกต้อง โดยยึดหลัก 3 ป. คือ ประหยัด ปลอดภัย และปฏิบัติได้ จะส่งผลให้ชาวนามีความสุข และม