อาชีพประมง
การทำประมง ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักของชุมชนชาวเกาะยอ จังหวัดสงขลา โดยชาวบ้านที่ยึดอาชีพนี้จะใช้เครื่องมือประมงที่สืบทอดกันมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็น การดักไซนั่ง การดักไซนอน การดักโพงพาง และการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ความได้เปรียบเชิงนิเวศทางธรรมชาติอันมาจากการมีสภาพน้ำถึง 3 อย่าง ได้แก่ น้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย จึงทำให้อาหารทะเลทุกชนิดมีรสชาติที่อร่อยกว่าที่อื่น แล้วถือเป็นโอกาสที่ชาวบ้านเกาะยอสามารถเลี้ยงปลากะพงในกระชังได้อย่างมีคุณภาพ จัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสงขลาด้วย ขณะเดียวกันการใช้เวลาเลี้ยงถึง 2 ปี กับผลตอบแทนที่ได้รับค่อนข้างสูง จึงทำให้ชาวบ้านที่ยึดอาชีพนี้ต้องใส่ใจและทุ่มเทต่อการเลี้ยงปลากะพงอย่างเต็มที่ คุณไพฑูรย์ ทีปบวร อยู่บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นชาวบ้านอีกคนของชุมชนแห่งนี้ที่ยึดอาชีพประมงด้วยการเลี้ยงปลากะพงในกระชัง ได้ให้รายละเอียดว่า ลูกพันธุ์ปลากะพงสั่งซื้อมาจากจังหวัดสตูลหรือปัตตานี มีขนาด 7 นิ้ว โดยนำมาปล่อยในกระชัง จำนวน 400-500 ตัว ต่อกระชัง ทั้งนี้ จำนวนปลาที่ปล่อยควรสอดคล้องกับขนาดของกระชัง เพราะไม่ต้องการให
หนุ่มตรัง วัย 31 ปี เพาะเลี้ยงปลากระเบนน้ำจืดสวยงามส่งขายหลายประเทศสร้างรายได้นับล้านบาทต่อปี จนต้องขยายสร้างเครือข่ายกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากระเบนเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่นบาทต่อตัว นายจิรโรจน์ ดีจุฑามณี เรียนจบจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทุกวันนี้เขาใช้เวลาว่าง เพาะเลี้ยงปลากระเบนน้ำจืดจำนวนหลากหลายสายพันธุ์ เช่น โมโตโร่, แบล็คไดมอนด์, โพลคาดอท, ไทเกอร์, ไฮบริค ฯลฯ นายจิรโรจน์ เริ่มสนใจเลี้ยงปลากระเบนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาเมื่อปี 2555 ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาสวยงาม เพื่อเป็นค่าเทอมระหว่างเรียน ต่อมาเห็นว่าการเลี้ยงปลากระเบนสวยงามมีแนวโน้มเติบโตดี ประกอบกับชอบเลี้ยงปลาชนิดนี้อยู่แล้ว จึงตัดสินใจลงทุนตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยง โดยจดทะเบียนกับกรมประมงตามสัญญาไซเตสประเภท 3 อย่างถูกต้อง บริเวณบ้านเลขที่ 22/1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีสำนักงานประมงจังหวัดตรังและศูนย์วิจัยและการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตรัง เข้ามาดูแลระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง คุณจิรโรจน์ สั่งซื้อปลากระเบนชนิ
การปรับพื้นที่ทำนาเพื่อใช้เลี้ยงปลา เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และหญ้า ล้วนเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำเป็นอย่างดี คุณศุภกิตติ์ เซียนประเสริฐ หรือ คุณอ้วน อยู่บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 9 ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 063-328-9962 ได้ปรับพื้นที่จำนวน 16 ไร่ ซึ่งเคยทำนามาเป็นบ่อเลี้ยงปลา/กุ้ง แบบผสมผสานเพียงบ่อเดียว สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี คุณอ้วน เลี้ยงปลาหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลานิล ปลาตะเพียน และปลายี่สก รวมอยู่ในบ่อเดียวกัน แต่เลี้ยงปลานิลเป็นหลักเพราะเป็นปลาตลาดที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงต่อเนื่อง สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้ที่ผ่านมาราคาไม่ค่อยลดต่ำ อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ปลาแปลงเพศที่เหมาะกับการเลี้ยงเพื่อบริโภคทางการค้า เพราะโตเร็ว มีอัตราเนื้อมาก เหตุผลที่คุณอ้วนเลือกเลี้ยงปลาเพียงบ่อเดียว เพราะง่ายและสะดวกต่อการดูแลบริหารจัดการ อีกทั้งบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ช่วยทำให้ประชากรปลาอยู่อย่างมีความสุขโดยไม่แออัดจนเครียด มีผลทำให้ปลามีสุขภาพดี กินอาหารได้มาก แข็งแรง โตเร็ว จับ
ในอดีต ชาวปากพนังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา แต่มีรายได้น้อย จึงเปลี่ยนมาทำนากุ้ง ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ทุกพื้นที่ของอำเภอปากพนัง มองไปทางไหนก็เห็นสว่างไสวไปด้วยแสงไฟจากบ่อกุ้ง แต่ไม่นานก็มีอันล่มสลายเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ส่งผลให้นากุ้งนับแสนไร่กลายเป็นนากุ้งร้าง เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านบางพระ ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมาก ก็ประสบปัญหาโรคกุ้งและผลกระทบจากสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เอื้อต่อการเลี้ยงกุ้ง ทำให้ประสบภาวะขาดทุน ต้องหยุดเลี้ยงกุ้งในที่สุด หลังจากมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ (ประตูน้ำปากพนัง) เสร็จสมบูรณ์ บ่อกุ้งที่เคยปล่อยทิ้งร้างจึงถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เข้ามาส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด กศน.อำเภอปากพนัง ช่วยพลิกฟื้นนากุ้งร้าง คุณสุรศักดิ์ อนันต์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอปากพนัง ได้ให้ความสำคัญกับการพลิกฟื้นนากุ้งร้าง จึงมอบหมายให้ คุณโศภิษฐา มาศแสวง ครู กศน.ตำบลปากแพรก จัดทำเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของช
ผมไปเที่ยวภูเก็ตครั้งล่าสุดมีลาภปากที่ได้กินกุ้งมังกร ที่ต้องใช้คำว่า ลาภปากก็เพราะเป็นกุ้งที่มีราคาแพงเหลือเกิน กุ้งชนิดอื่นๆ กิโลกรัมละ 1,000 กว่าบาท ก็ถือว่าแพงแล้ว ทว่ากุ้งมังกรกิโลกรัมละตั้ง 3,000 บาท และได้กุ้งเพียงตัวเดียวเท่านั้น เพราะแต่ละตัวหนักเป็นกิโล นี่ถ้าต้องซื้อกุ้งมังกรกินเองผมคงไม่ซื้อกิน เสียดายเงิน ที่ยอมกินก็เพราะมีเจ้ามือ แต่ก็เกรงใจเหมือนกันจึงกินเพียงพอประมาณ คือให้รู้ว่าเนื้อกุ้งมีรสชาติเป็นอย่างไรก็พอ ผมได้รับทราบจากร้านขายอาหารทะเลว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมากินกุ้งมังกรที่ภูเก็ต หากไม่ได้มากินกุ้งชนิดนี้ก็เหมือนไม่ได้มาเที่ยวภูเก็ต ก็ว่าได้ ก็เพราะอย่างนี้แหละจึงทำให้กุ้งมังกรราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ เพราะกุ้งตามธรรมชาติที่ชาวประมงจับได้มีน้อย ขณะที่คนกินมีมากขึ้น ร้านอาหารที่ภูเก็ตจึงสั่งซื้อกุ้งมังกรมาจากพม่าเสียเป็นส่วนใหญ่ กุ้งมังกรนำเข้าไม่ค่อยจะดีเพราะกุ้งจะตายก่อนถึงผู้กินกว่าครึ่ง กุ้งตายกับกุ้งเป็นราคาต่างกัน กุ้งตายเนื้อจะเละไม่แน่นเหมือนกุ้งเป็น ก็เพราะกุ้งมังกรมีราคา จึงทำให้ชาวประมงหันมาทำกระชังเลี้ยงกันหลายราย พอผมได้รับรู้ว่ากุ้งมังกรเลี
คุณบุญช้อง กลิ่นหอม อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนยายหนู อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลได้อย่างประสบผลสำเร็จ จึงทำให้อาชีพการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้กับเขาได้เป็นอย่างดี คุณบุญช้อง เล่าให้ฟังว่า ทำอาชีพเกี่ยวกับประมงมาหลายสิบปีแล้ว โดยในช่วงแรกจะเน้นเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ต่อมาเริ่มรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนเป็นเลี้ยงปลาบ้าง จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นสัตว์น้ำชนิดอื่น จึงได้เลือกเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลเมื่อประมาณปี 2556 โดยเห็นว่ามีลักษณะของลำตัวสวยจึงเกิดถูกใจที่อยากจะเลี้ยงอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา พื้นที่บ่อ ขนาดประมาณ 2 ไร่ “ตอนนั้นเลี้ยงกุ้งมานานแล้ว พอมารู้จักกับปลาตัวนี้ ก็เกิดความชอบ เพราะว่าลำตัวเขาสวยมาก จึงได้เปลี่ยนจากเลี้ยงกุ้งมาเป็นเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลแทน เพราะช่วงก่อนที่จะเปลี่ยนในช่วงนั้น ก็มีเพื่อนที่รู้จักเขาก็เริ่มเลี้ยงกันอยู่ เราก็เลยมองว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยาก เพื่อเป็นการสร้างรายได้ใหม่ขึ้นมา” คุณบุญช้อง บอก ในขั้นตอนของการเตรียมบ่อเพื่อเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลนั้น คุณบุญช้อง บอกว่า ไ