อาชีพเสริมชาวนา
“ผมมีอาชีพทำนามานาน วันหนึ่งมีความสนใจที่อยากทำสวนผลไม้ จึงตัดสินใจปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ โดยการแบ่งผืนนา จำนวน 7 ไร่ มาทำสวนชมพู่ทับทิมจันท์ 3 ไร่ จนถึงทุกวันนี้ผมมีรายได้ต่อปีราว 3 แสนบาท จากการทำสวนชมพู่ 3 ไร่ และปลูกต้นชมพู่ เพียง 150 ต้น เท่านั้น ทำกันเพียง 2 คน กับภรรยาเป็นหลัก งานก็ไม่ตากแดดมากเหมือนทำนา รายได้ก็ดีกว่าการทำนา ส่งลูกเรียนสบาย” “แม้ราคาชมพู่ทับทิมจันท์จะไม่สูงมากเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ราคาจากสวนจะเหลือแค่เพียงกิโลกรัมละ 10 บาท เกษตรกรก็พออยู่ได้ เนื่องจากชมพู่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก สามารถบังคับให้ออกดอก ติดผลได้ทั้งในและนอกฤดูตลอดทั้งปี แต่คนทำสวนชมพู่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องไม่ขี้เกียจ ต้องมีความขยัน ช่างสังเกต ทำผลผลิตให้มีคุณภาพและเรียนรู้อยู่ตลอด” สองข้อความข้างต้น เป็นคำพูดของ คุณสำเริง เจริญวงษ์ บ้านเลขที่ 2/4 หมู่ 5 ต.ถอนสมอ อ.ถอนสมอ ต.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี โทร. 089-981-8543 ที่ปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ มานานกว่า 9 ปี มีเรื่องราวดีๆ จากประสบการณ์ในการทำสวนชมพู่แนะนำให้กับหลายๆ ท่านที่กำลังสนใจในการทำสวนชมพู่ว่าทำน้อยแต่ได้มาก ว่าต้องมีการจัดการสวนอย่างไร
“จิ้งหรีด” เป็นแมลงที่หลายคนคุ้นชื่อรู้จักดี ส่วน “จิ้งโกร่ง” เป็นแมลงประเภทไหน ฟังชื่อแล้วไม่ค่อยคุ้น แต่ทำไมจึงมีชื่อคล้ายกัน?? จิ้งโกร่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Brachytrupes portentosus เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ มีลักษณะคล้ายกับจิ้งหรีด และชื่อพื้นเมืองของญาติจิ้งหรีดนี้มีแตกต่างกัน ได้แก่ อ้ายโกร่ง หัวตะกั่ว จี้กุ่ง ขี้กุ่ง จี่นายโม้ ขี้หนาย จี่ป่ม และ จี่โป่ง จิ้งโกร่ง รูปร่างคล้ายกับจิ้งหรีดแต่ค่อนข้างอ้วน มีลำตัวยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร มีสีน้ำตาล หนวดยาวแบบเส้นด้าย หัวกลมและใหญ่ ปากแบบกัดกิน ปีกมีลายเส้นเล็กน้อย ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ขอบปีกคู่หน้าสีกัน มีอวัยวะฟังเสียงอยู่ที่บริเวณขาหน้า ในทางโภชนาการชี้ว่า จิ้งโกร่งเป็นแหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับจิ้งหรีด ในปัจจุบันผู้คนนิยมบริโภคแมลงมากขึ้น เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าบางประเภทไม่เป็นอันตราย แถมยังให้ประโยชน์และคุณค่ามากกว่าเนื้อสัตว์เสียด้วยซ้ำ และจิ้งโกร่งก็เป็นแมลงอีกชนิดที่นิยมนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ รับประทานกัน ที่จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านตำบลพระบุ รวมกันตั้งกลุ่มเพาะเลี้ยง “จิ้งโกร่ง” ขายเป็นรายได้เ
นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ 2,922 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกร ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62 รายละ 600 บาท ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 4.87 ล้านไร่ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมโอนเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 2.27 ล้านบาท และงบบริหารโครงการฯ วงเงิน 8.15 ล้านบาท ซึ่งจะใช้งบของกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้ วัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62 ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าสูบน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องสูบน้ำ และการบริหารจัดการศัตรูพืชสูงกว่าฤดูกาลปกติ โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นๆ ในนา เช่น พืชไร่ พืชผัก พืชใช้น้ำน้อย ยกเว้นอ้อยและสับปะรด นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. อนุมัติงบช่วยเหลือตามโครงการฯ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา สระบุร
หลังฤดูกาลทำนา เกษตรกรชาวสุรินทร์ ต่างหันมายึดอาชีพทำฟาร์มไก่ชน สร้างรายได้หลายหมื่นบาท โดยมีการเพาะเลี้ยงไก่ชน เป็นไก่พื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะและความสามารถพิเศษในเรื่องการต่อสู้ ไก่ชนในบางท้องถิ่นจึงอาจเรียกว่า “ไก่ตี” หรือ “ไก่นักมวย” เป็นต้น นิยมเลี้ยงหลายสายพันธุ์ แต่ละตัวล้วนมีราคาแพงหลักพันจนถึงหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว นับเป็นการสร้างรายได้เสริมหลังฤดูกาลทำนาได้เป็นอย่างดี สำหรับการเลี้ยงไก่ชนเพื่อการกีฬาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีต การชนไก่เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อหาตัวผู้ที่เก่ง แข็งแกร่งและสุขภาพสมบูรณ์เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วจะทำให้เกษตรกรขายได้ราคาเพิ่มขึ้น 10 – 100 เท่า ของราคาไก่พื้นเมืองปกติ จึงนับว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าได้อย่างดียิ่ง โดยสายพันธุ์ไก่เก่งที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นไก่ชนไทย ได้แก่เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียวหางดำ เทาหางขาว นกแดง นกกรดทองแดง และสายพันธุ์ลูกผสมไทย – พม่า ลูกผสมไทย-เวียดนาม (ลูกผสมไซง่อน) เป็นต้น ส่วนการจำหน่ายไก่ชนเพศผู้ที่คัดเป็นไก่เก่ง ไก่ชนที่คัดเป็นไก่ทดแทนและไก่ชนคัดทิ้ง ที่ขายเป็นไก่เก่ง โดยจะมีผลตอบแทนประมาณ 45,000 -50,000