อาหารจากไก่
คุณคณิศร มังก้อน อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ที่ 8 ตำบลชัยพร อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬที่มีอาชีพปลูกยางพาราเช่นกัน ซึ่งในเวลาต่อมาราคาน้ำยางที่กรีดจำหน่ายได้ขึ้นลงตามกลไกของตลาด ราคาไม่แน่นอน เขาจึงได้มองหาอาชีพเสริมทางด้านปศุสัตว์มาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ภายในสวนยางคือ การเลี้ยงไก่งวง คุณคณิศร มังก้อน เกษตรกรสวนยางพารา เลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริม คุณคณิศร เล่าให้ฟังว่า มีความสนใจที่จะเลี้ยงไก่งวงเมื่อประมาณปี 2555 โดยทำควบคู่ไปกับสวนยางพารา สาเหตุที่เลือกเลี้ยงไก่งวง มองทิศทางเรื่องตลาดว่ายังสามารถไปได้ดี เพราะในจังหวัดบึงกาฬยังมีคนเลี้ยงไม่มากนัก จึงมองว่าถ้าได้นำไก่งวงมาเลี้ยงเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่ชื่นชอบในการบริโภค ก็น่าจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดี และที่สำคัญยังสามารถนำมูลของไก่งวงมาทำเป็นปุ๋ยใส่ให้กับต้นยางพาราได้อีกด้วย “จากที่ผมทำสวนยางพารามามากกว่า 10 ปี ผมได้มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนไว้ มองเห็นเลยว่าการทำสวนยาง เงินที่หายไปส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการซื้อปุ๋ยเคมีเสียส่วนมาก ก็เลยมาคิดทบทวนดูว่าอยากจะทำอะไรดีที่มันน่าจะเกื้อกูลกับการทำสวนยาง
“ไก่บ้านต้มผักติ้ว” ความโปร่งเบาที่น่าลองลิ้ม ถ้าใครถามผมว่า สมมุติมีเนื้อที่บ้านกว้างๆ จะอยากปลูกไม้ยืนต้นกินดอกกินใบอะไรบ้าง คำตอบคงมีหลากหลายนะครับ แต่หนึ่งในนั้นย่อมคือ “ติ้ว” หรือ “แต้ว” ครับ ค่าที่ว่ามันมีทรงต้นที่สวย ใบได้ขนาดพอเหมาะ เมื่อยืนต้นแล้วสูงชะลูด ใต้ต้นจึงโปร่งโล่ง ปลูกพืชล้มลุกอื่นๆ ได้อีก ที่สำคัญ ดอกติ้วเล็กๆ ออกเป็นช่อสีขาวแซมชมพูอ่อนๆ นั้นสวยมาก แถมเป็นความสวยที่กินได้เช่นเดียวกับใบอ่อนของมันครับ ติ้วถูกวางอยู่ในระดับแถวหน้าของพืชผักเปรี้ยวรสดีในวัฒนธรรมอาหารลาวอีสานนะครับ รสเปรี้ยวของติ้วมีความฝาดจากยางใบอ่อนตัดให้ออกขมนัวเล็กน้อย ซึ่งกลายเป็นเสน่ห์ไปในที่สุด ไม่ว่าจะกินใบอ่อนสดๆ กรอบๆ จิ้มป่นปลา แนมก้อยเนื้อดิบ หรือใส่ให้รสเปรี้ยวในต้มส้ม ซึ่งจะอร่อยกว่าถ้าได้ปนใบเพสลาดในอัตราส่วนอย่างน้อยครึ่งต่อครึ่งกับใบอ่อน เวลาเรานั่งรถไปตามทางหลวงชนบทในภาคอีสานหรือภาคเหนือ ถ้าสังเกตให้ดี ก็จะเห็นติ้วขึ้นอยู่ข้างทาง ยอดอ่อนสีออกแดงช้ำๆ ถ้ามองไม่ทัน หรือไม่ได้ลงเก็บ ก็หาซื้อได้ตามตลาดเล็กๆ ที่มีแผงผักแบบลาว จะมีติ้วมัดเป็นกำๆ ขายแทบทุกแผง หรือถ้าเมื่อไหร่มีเห็ดป่าอีสาน อย่า