อาหารปลา
คุณพะเยาว์ และ คุณประมวล รุ่งทอง สองสามีภรรยา อยู่ที่จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสองเป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ กล้าที่จะทดลองและรับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ปัจจุบันทั้งสองมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าของสูตรใช้กล้วยน้ำว้าเลี้ยงปลา “สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานั้นจะเป็นอาหารเม็ดทั่วๆ ไป โดยจะให้วันละ 3 เวลา (เช้า กลางวัน เย็น) บวกกับรำข้าวผสมกับกล้วยน้ำว้าสุกบด (เสริมเฉพาะปลานิล ส่วนปลากดหลวงจะหั่นเป็นชิ้นๆ ลักษณะกล้วยบวชชี) วันละ 1 เวลา ซึ่งเลือกในช่วงกลางวันเพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สะดวกที่สุดของผู้เพาะเลี้ยงที่จะมีเวลาเตรียมบดกล้วยในช่วงเช้า เช้า, กลางวัน, เย็น ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง” คุณประมวล เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการนำกล้วยน้ำว้ามาเลี้ยงปลานั้น มาจากการเพาะเลี้ยงปลาในช่วงนั้น มีต้นทุนในการผลิตสูงในเรื่องของอาหาร ทำให้ไม่คุ้มต่อผลตอบแทนที่ได้มาในแต่ละครั้ง ทุกฟาร์มเกิดปัญหาเดียวกันหมด ทำให้ตนเองต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของอาหารลง จึงเกิดแนวคิดนำกล
“กล้วยน้ำว้า” เลี้ยงปลา ตัวโต เนื้อหวาน ขายได้ราคา คุณพะเยาว์ และ คุณประมวล รุ่งทอง สองสามีภรรยา อยู่ที่จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสองเป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ กล้าที่จะทดลองและรับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ปัจจุบันทั้งสองมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าของสูตรใช้กล้วยน้ำว้าเลี้ยงปลา “สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานั้นจะเป็นอาหารเม็ดทั่วๆ ไป โดยจะให้วันละ 3 เวลา (เช้า กลางวัน เย็น) บวกกับรำข้าวผสมกับกล้วยน้ำว้าสุกบด (เสริมเฉพาะปลานิล ส่วนปลากดหลวงจะหั่นเป็นชิ้นๆ ลักษณะกล้วยบวชชี) วันละ 1 เวลา ซึ่งเลือกในช่วงกลางวันเพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สะดวกที่สุดของผู้เพาะเลี้ยงที่จะมีเวลาเตรียมบดกล้วยในช่วงเช้า เช้า, กลางวัน, เย็น ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง” คุณประมวล เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการนำกล้วยน้ำว้ามาเลี้ยงปลานั้น มาจากการเพาะเลี้ยงปลาในช่วงนั้น มีต้นทุนในการผลิตสูงในเรื่องของอาหาร ทำให้ไม่คุ้มต่อผลตอบแทนที่ได้มาในแต่ละครั้ง ทุกฟาร์มเกิดปัญหาเดียวกันหมด ทำให้ตนเองต้องหาหนทาง
สูตรการทำอาหารปลาลดต้นทุนนี้ เป็นสูตรของ คุณเมธยา ภูมิระวิ (เมย์) เกษตรกรสาวคนเก่งแห่งเมืองชุมพร ภายในสวนของเธอมีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร แต่วันนี้ผู้เขียนจะนำเสนอเทคนิคการเลี้ยงปลาลดต้นทุนมาฝาก ซึ่งสูตรนี้คุณเมย์เธอยืนยันว่า ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลาได้จริง ที่สำคัญปลายังชอบกินแล้วโตดีอีกด้วย คุณเมย์ บอกว่า อาหารที่กินเหลืออย่าทิ้งให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นโดยเปล่าประโยชน์ แต่ให้นำเศษอาหารที่เหลือมาหมักให้กลายเป็นอาหารปลาดีกว่า ส่วนผสม รำละเอียด 3 ส่วน 2. น้ำหมักเศษอาหาร พร้อมกาก 1 ส่วน วิธีทำ เทส่วนผสมทั้งหมดรวมกัน จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน อย่าให้แฉะมาก ต้องให้เหนียวสามารถปั้นเป็นก้อนได้ เมื่อคลุกเคล้าและนวดจนส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้ปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากับลูกเปตอง และเพื่อป้องกันใม่ให้ลูกติดกัน ให้นำก้อนที่ปั้นเป็นลูกวงกลมแล้วมาคลุกกับรำละเอียดอีกครั้ง จากนั้นนำมาตากแดดจนแห้ง แล้วนำมาให้เป็นอาหารปลาได้เลย ซึ่งขนาดของก้อนอาหารที่ใหญ่จะจมลงไปใต้บ่อเหมือนอาหารกุ้ง แล้วปลาจะกินไปได้เรื่อยๆ ช่วยประหยัดเวลาการให้อาหารจากเคยให้ทุกวัน ลดเหลือ 3 วัน ให้เพียง 1 ครั้ง คุ
“ปลา” เป็นอาหารประเภทเนื้อที่ดูจะปลอดภัยต่อสุขภาพมากที่สุด แม้คุณสมบัติของเนื้อปลาจะเอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพก็ตาม แต่ผู้บริโภคบางรายหรืออาจจะเริ่มเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้นที่แสวงหาแหล่งผลิตปลาที่มีคุณภาพด้วยอีกทาง “ชานนท์ฟาร์ม” ตั้งอยู่ เลขที่ 29 หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นอีกแห่งที่ผลิตปลาคุณภาพออกขาย ที่ว่าคุณภาพเพราะฟาร์มปลาแห่งนี้เน้นเลี้ยงปลาตามแนวทางธรรมชาติหลายชนิดมาเนิ่นนานจวบจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตอาหารเองจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ การบริหารจัดการบ่อปลาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ปลาที่มีคุณภาพ สมบูรณ์ แล้วไม่เคยประสบปัญหาปลาติดโรคจนตาย อีกทั้งแนวทางนี้ยังช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลาได้มาก ขณะเดียวกันยังเพิ่มมูลค่าปลาด้วยการนำมาแปรรูปอีกหลายชนิด สร้างความสนใจต่อตลาดผู้บริโภค โดยมี คุณชานนท์ คะชานันท์ หรือ คุณโบ้ ทายาทที่ตั้งใจร่ำเรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์ประมง เพื่อหวังเข้ามาสานอาชีพเลี้ยงปลาต่อจากพ่อที่เลี้ยงปลาขายมานานกว่า 20 ปี มีปลาที่เลี้ยง อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลายี่สก ฯลฯ เป็นการเลี้ยงตามแบบวิถีชาวบ้าน ด้วยการให้อาหารจากธรรมชาติเพียงอ
ชาวบ้านจังหวัดชัยนาทประสบปัญหาราคารับซื้อปลากรายตกต่ำกระทบกับรายได้ เดือดร้อนจนต้องรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม พร้อมพัฒนาวิธีแปรรูปเนื้อปลาเข้ามาเสริม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีรายได้มากยิ่งขึ้น คุณสิทธิชัย ลิ้มตระกูล หรือ คุณชัย รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลากราย จังหวัดชัยนาท บอกว่า การป้องกันจากการถูกเอาเปรียบทางด้านราคา จึงเป็นเหตุผลให้ชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อรวบรวมปลากรายสดขายให้กับผู้รับซื้อโดยตรง ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการอุดช่องว่างของการตั้งราคาจึงนำเอากระบวนการแปรรูปเนื้อปลากรายเข้ามาเป็นกิจกรรมของกลุ่มไปพร้อมกันด้วย เพื่อตัดระบบพ่อค้าคนกลางออกไป ฉะนั้น สิ่งที่ตามมาคือเทคโนโลยี การบริหารจัดการความรู้ ทักษะ และการตลาด ที่จำเป็นต้องแสวงหาเพิ่มเติม ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจจำหน่ายปลากราย ได้แก่ ร้านอาหารในจังหวัดชัยนาท กลุ่มผู้ประกอบการโต๊ะจีนในชัยนาท ขณะเดียวกัน ยังได้มีการขยายตลาดออกไปยังจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมถึงบางส่วนของกรุงเทพฯ ดังนั้น จึงถือเป็นกลุ่มบุกเบิกเรื่องปลากรายในจังหวัดชัยนาท คุณชัย เผยว่า เมื่อปี 2558 ปลากรายที่ชัยนาทมีราคาสู
ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เพศเมีย มีจุดสีดำ (Gravid spot) บริเวณรูเปิดช่องท้องด้านล่าง เพศผู้มีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะปลาสวยงาม มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ มีสีสัน และครีบที่สวยงาม คุณณรงค์วิชฌ์ มหาโชติ หรือ คุณโต้ง อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 83 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี คุณณรงค์วิชฌ์ ถือว่าเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่อยู่ในวงการสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบัน คุณณรงค์วิชฌ์ ประกอบอาชีพ เจ้าของฟาร์มปลาหางนกยูงเกรด มากว่า 10 ปี คุณณรงค์วิชฌ์ พูดถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนเองเข้ามาสู่วงการปลาหางนกยูง โดยเริ่มแรก คุณณรงค์วิชฌ์ มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ด้วยรูปแบบงานของโปรแกรมเมอร์ทำให้ไม่มีเวลา เป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูงมาก คุณณรงค์วิชฌ์ จึงคิดว่าถ้าหากวันหนึ่งมีธุรกิจเป็นของตนเองจะทำอะไร แต่เนื่องด้วยคุณณรงค์วิชฌ์ ชื่นชอบปลาหางนกยูงเกรดอยู่แล้ว โดยส่วนตัวก็เลี้ยงปกติตามความชื่นชอบส่วนตัว พอเลี้ยงไปเรื่อยๆ เริ่มมีปลาหางนกยูงเกรดเพิ่มมากขึ้น ก็มีเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการปลาสวยงามให้ความสนใจ ม
“ปลาสลิดบางบ่อ” นับเป็นสัตว์น้ำจืดที่สำคัญของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ปลาสลิดก็เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย รองจากปลานิล ปลาดุก และปลาตะเพียน (กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2558) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับปลาสลิด เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาสลิด ให้มีความเข้มแข็ง สามารถเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อ ทั้งด้านต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาจารย์เกษม พลายแก้ว และคณะ ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงปลาสลิดจำนวน 618 ราย ในพื้นที่อำเภอบางบ่อ อำเภอเมือง และอำเภอบางพลี คิดเป็นเนื้อที่เลี้ยงรวม 15,215.50 ไร่ มีกำลังการผลิตต่อปีทั้งหมด 3,451,677 กิโลกรัม โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลคลองด่าน มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดจำนวน 190 ราย คิดเป็นเนื้อที่การเลี้ยงทั้งสิ้น 4,643 ไร่ มีกำลังการผลิตต่อปี 782,180 กิโลกรัม แต่ในปัจจุบันความเจริญทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อกา
โครงการวิจัยพัฒนาอาหารปลาจากวัตถุดิบธรรมชาติ มี อาจารย์ราชันย์ วงษ์ทวี สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ และ อาจารย์ฉัตราวีระวุท จอมวรวงศ์ สาขาเทคโนโลยีประมง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โดยมี ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ เยรัมย์ เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย โดยได้งบประมาณจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปี 2553 เครื่องอัดเม็ดอาหารปลาแบบ 2 in 1 แรกเริ่มเดิมทีอาจารย์ทั้งสองได้งบประมาณมาเพื่อวิจัยพัฒนาและออกแบบสร้างเครื่องอัดเม็ดอาหารปลาจากมันสำปะหลังแบบ 2 in 1 โดยตัวเครื่องออกแบบให้มีหัวบดละเอียดแบบ Mincer และหัวอัดเม็ดแบบ Pellet Mill ไว้คนละด้านของตัวเครื่อง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเพลาส่งกำลังตัวเดียวกัน เมื่อเปิดเครื่องหัวบดและหัวอัดจะทำงานพร้อมกัน และเพิ่มแรงบิดที่เพลาโดยใช้ล้อช่วยแรงเป็นอุปกรณ์เพิ่มกำลังอัด ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์เพียง 1 ตัว ขนาด 5 แรงม้า ความเร็วรอบ 1,450 รอบต่อนาที ทดกำลังด้วยเฟืองโซ่ เพื่อปรับความเร็วรอบที่ 174 รอบต่อนาที ความสามารถในการอัดเม็ดอาหารปลาเฉลี่ยเท่ากับ 180 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ลักษณะเม็ดอาหารเป็นแท่งกระบอกยาว 5 – 8 มิลลิเมตรขนา
จากสภาวะเศรษฐกิจไม่กี่ปีมานี้ ส่งผลให้สินค้าเกษตรหลายชนิดราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวมากขึ้น โดยทำเกษตรแบบผสมผสานที่ไม่เน้นทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนแล้ว ยังสามารถมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดทดแทน จึงช่วยเสริมรายได้สลับไปมาในแต่ละช่วงการผลิต จึงเกิดรายได้หลากหลายส่งผลให้ไม่มีหนี้สิน คุณขาว เสมอหัต อยู่บ้านเลขที่ 58/3 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีอาชีพหลักทำนาด้วยราคาข้าวที่ผลิตได้ไม่แน่นอน จึงได้หาอาชีพเสริมเข้ามาช่วย คือการเลี้ยงปลาดุก โดยใช้บ่อน้ำที่มีอยู่เดิมจากการขุดไว้ใช้ภายในสวน มาเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น พร้อมทั้งใช้เหยื่อสดต้นทุนต่ำมาเป็นอาหารให้ปลากิน ทำให้ปลาเติบโตดีตลาดต้องการ จำหน่ายได้ราคา อาชีพหลักทำนา เลี้ยงปลาดุกเสริมรายได้ คุณขาว เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ประกอบสัมมาอาชีพมาถึงปัจจุบัน รายได้หลักของครอบครัวคือเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยยึดการทำนามานานหลายสิบปี แต่ด้วยบางปีราคาข้าวที่ได้ไม่แน่นอน จึงเกิดความคิดที่อยากจะเสริมรายได้ เห็นบ่อน้ำที่อยู่บริเวณบ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นส่งเสริมความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เดินหน้าความร่วมมือกับองค์กรและสมาคมต่างๆ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล คาดในอีก 3 ปีข้างหน้าลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำเหลือไม่เกิน 5 % น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มีเป้าหมายดำเนินงานเรื่องการใช้ทรัพยากรจากทะเลชัดเจน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะลดการใช้ทรัพยากรทางทะเลด้วยการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ลดการใช้น้ำทะเลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้การผลิตอาหารกุ้ง สามารถลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นจากเดิมที่ 35 % เหลือเพียง7% ในปัจจุบัน และในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเหลือเพียง 5 % เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่เรายังสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงที่ถูกกฎหมาย “บริษัทฯมีแนวทางชัดเจนในการปกป้อง อนุรักษ์ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล โดยให้ความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมสูตรอาหารกุ้ง เพื่อลดการใช้ปลาป่นซึ่งได้มาจากทรัพยากรทางทะเล รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเป็น