อาหารเป็นพิษ
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม นพ.เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าร้อนของทุกปี โรคติดต่อที่มากับอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ หรือบิด โรคอหิวาห์ตกโรค โรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย ฯลฯ มักระบาด ผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่ถ่ายเหลวเป็นน้ำมูกเลือด หรือเป็นน้ำซาวข้าว มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง แล้วแต่ชนิดของเชื้อโรค สาเหตุอาจเกิดจากกินอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการดังกล่าว ทั้งนี้ กองสุขาภิบาลอาหาร กทม. ได้ตรวจวิเคราะห์อาหาร ปี 2559 พบว่า ในกลุ่มอาหารดิบ เช่น ผลไม้ สลัด ส้มตำ มีการปนเปื้อนเชื้ออีโคไลมากที่สุด ส่วนกลุ่มอาหารทะเลพบเชื้ออหิวาต์เทียม (V.parahaemolyticus) มากที่สุด สำหรับอาหารปรุงสุกทั่วไป พบว่าข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ปนเปื้อนเชื้ออีโคไลมากที่สุด ขณะที่น้ำแข็งบดพบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์ม (coliforms) มากที่สุด นพ.เมธิพจน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ โรคลมแดดก็ต้องระมัดระวัง เพราะหากเป็นอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดย ดื่มน้ำอย่างน้อย วั
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า 2560 ต้อนรับปีใหม่ 2561 เป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองกันมาก โดยเฉพาะอาหารการกิน ซึ่งจะมีทั้งซื้อวัตถุดิบไปปรุงเอง สั่งจากร้านอาหาร หรือไปรับประทานอาหารนอกบ้าน เมนูที่นิยมรับประทานคือ อาหารทะเล ยำ ลาบ ส้มตำ ขนมจีน โดยเฉพาะอาหารทะเล ระมัดระวังเรื่องการปรุง ขอให้ปรุงสุก รับประทานอาหารร้อน ผักผลไม้ล้างด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดโรคอุจจาระร่วงและโรคอาหารเป็นพิษ นพ.โอภาสกล่าวว่า ขอให้ประชาชนยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ อาหารต้องปรุงไม่เกิน 4 ชม.ก่อนรับประทาน หากกินอาหารประเภทปิ้งย่าง เช่น หมูกระทะ กุ้งกระทะ ขอให้ปิ้งให้สุกก่อน สำหรับเมนูที่มักเป็นต้นเหตุของโรคอุจจาระร่วง 10 เมนู ได้แก่ 1.ลาบ ก้อยดิบ เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ 2.ยำกุ้งเต้น 3.ยำหอยแครง 4.ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีที่ทำปริมาณมาก 5.อาหารหรือขนมที่ราดด้วยกะทิสด 6.ขนมจีน 7.ข้าวมันไก่ 8.ส้มตำ 9.สลัดผัก และ 10.น้ำแข็ง สำหรับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยว ขอให้เลือกร้านที่มีป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ที่รับรองโดยกรมอนามัย ก