อาเซียน
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลกระทบด้านการค้าระหว่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ที่ผ่านมาว่า วิกฤตการแพร่ระบาดดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งหากพิจารณาภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่า ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปี 2562 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะการค้าระหว่างไทยกับประเทศที่ไทยทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ไม่รวมอาเซียน พบว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของไทย กลับมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.2 คิดเป็นมูลค่า 490,726 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.7 ตลาดส่งออกที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ จีน ฮ่องกง เปรู ชิลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ตามลำดับ สำหรับสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้สด มูลค่า 83,576 ล้านบาท เนื้อไก่สด/แช่เย็น/แช่แข็ง มูลค่า 27,789 ล้านบาท มันสำปะหลัง มูลค่า 21,626 ล้านบาท ผลไม้แช่แข็ง มูลค่า 6,993 ล้านบาท ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง มูลค่า 4,358 ล้านบาท และ สุกรสด/แช่เ
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ASEAN – China Free Trade Agreement – Joint Committee : ACFTA-JC) ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และ Ministry of Commerce สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะองค์ประกอบผู้แทนไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประชุมดังกล่าว ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการตามประเด็นที่จะเจรจาต่อไปในอนาคต (Future Work Programme) ภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ACFTA Upgrading Protocol) ได้แก่ การหารือแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การหารือการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการหารือความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือ ACFTA อาทิ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และขณะเดียวกันที่ป
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามร่วมกับ ศูนย์พลังงาน อาเซียน (ASEAN Centre for Energy : ACE) ในด้านการศึกษา การวิจัย และการพัฒนาชุมชน (Education, Research, and Community Development) เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทน เชื้อเพลิงชีวภาพ และส่งเสริมผลักดันให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเชิงพาณิชย์ในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยมี ดร.อารี ธนบุญสมบัติ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) เป็นผู้แทน สวทช. และ Dr.Nuki Agya Utama ผู้อำนวยการ ACE ร่วมลงนาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ (5 ก.ย.) ที่โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ ดร. อารี ธนบุญสมบัติ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า จากการประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 33 ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ที่ประชุมได้เห็นชอบเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในอาเซียนให้เท่ากับ ร้อยละ 23 ของการจัดหาพลังงานขั้นต้นภายในปี ค.ศ. 2025 และเห็นชอบเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในการสร
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กำหนดจัดงานสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงนามและการใช้ประโยชน์จาก “พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนฉบับปรับปรุง” ในวันพุธที่ 7 ส.ค.2562 เวลา 13.30-16.00 น. ณ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าใจถึงประโยชน์และขั้นตอนการใช้กลไกระงับข้อพิพาททางการค้าของอาเซียนฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนของการระงับข้อพิพาท ประโยชน์และโอกาสจากการมีที่พึ่งในการลดข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนรับฟังข้อความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากกลไกระงับข้อพิพาททางการค้าของอาเซียนในอนาคต พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนฉบับใหม่ จะช่วยแก้ไขปัญหา อุปสรรคระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันได้ เพราะกลไกที่ใช้อยู่เดิมล้าสมัย ไม่ทันกับรูปแบบและวิวัฒนาการทางการค้าที่เปลี่ยนไป โดยประเด็นที่ได้รับการปรับปรุง เช่น กระบวนการหารือระหว่างคู่พิพาทที่ชัดเจนขึ้น การจัดตั้งคณะผู้พิจารณาเพื่อตัดสินกรณีพิพาทที่โปร่งใสขึ้น ให้ความสำคัญกับการมี
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี (Thailand-Turkey Free Trade Agreement : THTRFTA) ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายน 2562 ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี โดยได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อเสนอรายการสินค้าที่จะลดและยกเลิกภาษีระหว่างกัน เพื่อหารือต่อเนื่องในด้านข้อบทและรูปแบบการเปิดตลาด พร้อมแลกเปลี่ยนข้อเสนอรายการสินค้าที่จะลดและยกเลิกภาษีระหว่างกัน โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยเรียกร้องให้ตุรกีเปิดตลาดให้เพิ่มเติม ได้แก่ ผลไม้ ผัก น้ำตาล เครื่องปรุงรส และสินค้าเกษตรแปรรูป ภาพรวมมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของไทยและตุรกี 3 ปี (ปี 2559-2561) เฉลี่ย 5.7 พันล้านบาท โดยไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเฉลี่ย 4.7 พันล้านบาท สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว อาหารปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภค ยางธรรมชาติยางแผ่นรมควัน และน้ำยางธรรมชาติ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรเฉลี่ย 1 พันล้านบาท สินค้าเกษตรนำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำผลไม้ แป้งข้าวสาลี เมล็ดดอกคำฝอยหรือเมล็ดฝ้าย ขนมที่ทำจากน้ำตาล น้ำมันที่ได้
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงโครงการเชื่อมโยงตลาดสินค้าข้าวอินทรีย์ และข้าวจีเอพีครบวงจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ได้ประชุมร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด และพาณิชย์จังหวัด จาก 6 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร และบุรีรัมย์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดรองรับผลผลิตข้าวอินทรีย์ของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจีเอพี ของโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวซึ่งอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ ข้าวที่ได้การรับรองมาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ และข้าวจีเอพี ได้ในราคาสูงขึ้นสอดคล้องกับคุณภาพ โดยมีเป้าหมายให้ปีการผลิต 2560-2564 เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ได้ไม่น้อยกว่า 594,000 ตัน และข้าวเปลือกจีเอพีของโครงการนาแปลงใหญ่ ไม่น้อยกว่า 10.30 ล้านตัน “จะมีการจับคู่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจีเอพี กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการ และลงนามทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอย
กูมูสต้าน้องๆ หลานๆ แฟนคอลัมน์อาเซียนข่าวสดที่น่ารัก ทักทายแบบนี้รู้ใช่ไหมว่าสัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวของเพื่อนสมาชิกอาเซียนจากประเทศไหน ใช่แล้ว… ฟิลิปปินส์นี่เอง ประเดิมด้วยความเชื่อเกี่ยวกับอาหารการกิน ชาวตากาล็อกเชื่อว่าการกินอาหารในช่วงเข้าสู่ปีใหม่จะมีผลชี้ชะตาชีวิตในปีที่จะถึง ดังนั้นในวันที่ 31 ธ.ค. ประชาชนในฟิลิปปินส์จึงงดกินเนื้อไก่ชั่วคราว และหันไปกินผลไม้ที่มีรูปร่างทรงกลมอย่างน้อย 12 ชนิด สาเหตุที่ไม่กินไก่เนื่องจากไก่เป็นสัตว์ที่ต้องเหน็ดเหนื่อย คุ้ยหาอาหารกินตามพื้นดิน เจอของดีบ้าง ไม่ดีบ้าง การกินไก่อาจทำให้มีโชคชะตาแบบเดียวกัน คือต้องทำงานยากลำบากกว่าจะมีเงินซื้ออาหาร แถมยังเป็นเงินที่ไม่มากมาย เข้าข่ายหาเช้ากินค่ำ ส่วนผลไม้ที่ระบุว่าต้องเป็นรูปร่างกลมมนนั้น เพราะวงกลมหมายถึงความต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด การกินผลไม้กลมๆ 12 ชนิด จะทำให้ผู้รับประทานมีชีวิตสุขสบาย ราบรื่น เงินทองไหลมาเทมา สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการกินขิง หากไม่อยากให้ลูกน้อยเกิดมามีนิ้วมือนิ้วเท้ามากกว่าปกติ ความเชื่อนี้คาดว่าเกิดขึ้นจากการวิตกถึงสุขภาพของว่าที่คุณแม่ซึ่งในอดีตวิทยาการยังไม่ทันสมั
ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ ได้กำหนดให้ วันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันดื่มนมโลก (World MilkDay)” เพื่อให้ประเทศต่างๆ และองค์กรที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการบริโภคนม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการบริโภคนม ด้วยการให้ความรู้และคุณประโยชน์ของนมแก่ประชาชน ปัจจุบัน กว่า 40 ประเทศทั่วโลก ได้มีการจัดกิจกรรมวันดื่มนมโลก เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณประโยชน์จากน้ำนม ที่มีผลต่อการพัฒนาของประชากรทุกเพศทุกวัย “ในส่วนของประเทศไทยปีนี้ ได้จัดงานวันดื่มนมโลก (World Milk Day) ปี 2559 ขึ้น ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ภายใต้แนวคิด “โคนมอาชีพพระราชทาน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ ได้กำหนด ให้วันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day)” นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงาน วันดื่มนมโลก ปี