อำเภอลับแล
ลางสาด และ ลองกอง ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่ออันดับต้นของจังหวัดอุตรดิตถ์ หากจะเป็นรองก็คงยอมให้ได้เฉพาะ ทุเรียนหลงลับแล และ หลินลับแล ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่จำนวนลางสาดในปัจจุบัน กำลังจะลดน้อยลง โดยสถานการณ์ลางสาดในพื้นที่อำเภอลับแล เหลือพื้นที่ปลูกอยู่เพียง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมดในอำเภอลับแล สวนที่เคยปลูกลางสาดเดิมกลับกลายเป็นลองกองไปเกือบทั้งหมด จากการโค่นต้นลางสาดเดิม นำยอดพันธุ์ลองกองมาเสียบเปลี่ยนต้นใหม่ เนื่องจากราคาซื้อขายในตลาดของลองกองสูงกว่าลางสาดมาก ขณะเดียวกัน เมื่อถึงฤดูการให้ผลผลิตลองกองแต่ละปี ราคาซื้อขายอาจไม่เท่ากัน เมื่อราคาผันผวนขึ้นลงเช่นนี้ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก อำเภอลับแล ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกลองกองมากที่สุดของอำเภอ ก่อตั้งตลาดกลางสำหรับซื้อขายลองกองให้กับเกษตรกร โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำเป็นตลาดกลางซื้อขายลางสาดและลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อของชาวตำบลนานกกก ตำบลฝายหลวง และตำบลแม่พูล ตลาดกลางซื้อขายลางสาดและลองกองแห่งนี้ เปิดให้ชาวสวนนำผลผลิตมาจำหน่ายที่ตลาดในช่วงสายของทุกวัน โดยพ่อค้าและแม่ค้าคนกลางจากจังหวัดต่า
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์ นำชมสวนมะยงชิดตัวอย่างในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดการองค์ความรู้ตั้งแต่การเตรียมปลูก การกำจัดแมลงและศัตรูพืช จัดการระบบหลังเก็บเกี่ยว แปรรูปสร้างเอกลักษณ์ให้ดึงดูดใจ พร้อมจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออก แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และคณะ ได้แก่ ดร.นุชนาถ ภักดี และ นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์แก่เกษตรกรและผู้สนใจ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ สวนใจใหญ่ ตำบลชัยชุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากโครงการการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะปรางเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำหรับองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์นั้น คร