อุตสาหกรรมสิ่งทอ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีภารกิจเดินทางเยือนกรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคม 2568 เพื่อเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ณ กรุงเบอร์ลิน โปรโมตการท่องเที่ยว และพบปะนักธุรกิจชั้นนำทางอุตสาหกรรมด้านต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมด้านแฟชั่น นี่จึงเป็นโอกาสดีในการขับเคลื่อนนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง นั่นเพราะอุตสาหกรรมแฟชั่น มีรายได้สูงถึง 3.9 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกสินค้าแฟชั่นถึง 2 แสนล้านบาท และทำให้เกิดการจ้างงานราว 7.5 แสนคน ดร.วุฒิไกร ศิริผล อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เสนอว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลไทย ควรใช้โอกาสนี้ในการหากลุ่มตลาดที่มีความสนใจในสินค้าแฟชั่น และศึกษาถึงความต้องการเฉพาะ หรือเทรนด์ที่ตลาดกลุ่มนั้นๆ ให้ความนิยม เพื่อนำข้อมูลกลับมาเผยแพร่ให้กับผู้ประกอบการแฟชั่นไทย ให้ดำเนินการส่งออกสินค้าที่สอดคล้อง และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่เพียงเท่านั้น นายกรัฐมนตรีควรมองหาความร่วมมือทางด้านการค้าในลักษณะของการร่วมทุนระห
“ม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม ” มาจากภาษาถิ่นล้านนา หมายถึงสีของผ้าฝ้ายย้อมสีครามอมดำ จาก “ ต้นฮ่อม “ ซึ่งพืชชนิดนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คนน่านเรียกพืชชนิดนี้ว่า “ ฮ่อมเมือง “ แม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ ครามหลอย ” ขณะที่คนอีสาน เรียกว่า “ ต้นคราม ” โดยทั่วไป ต้นฮ่อม มีลักษณะเป็น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 50-80 เซนติเมตร ลำต้น เป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม หัวใบเรียวท้ายใบแหลมขอบใบหยัก ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกดหรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำ ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบและกิ่ง รูปทรงคล้ายระฆัง ดอกสีม่วง เมล็ด อ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล แตกง่าย บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่นับเป็นแหล่งผลิตผ้าหม้อห้อมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ชาวบ้านทุ่งโฮ้งยังคงรักษากรรมวิธีการย้อมผ้าฝ้ายแบบแบบโบราณ โดยใช้กิ่งและใบของ “ ห้อม ” มาหมักในหม้อตามกรรมวิธี แล้วนำมาย้อมผ้าดิบให้เป็นสีน้ำเงินหรือสีกรมท่า ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ หม้อห้อม ” นั่นเอง เสื้อหม้อห้อม เป็นสินค้าผ้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดแพร่ คนเหนือนิยมสวมใส่ผ้