อุ่นไอรัก
ประชาชนจำนวนมากไปเดินชมและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกคู่กับสวนดอกไม้นานาพันธุ์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมจัดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ถึง 11 มีนาคม ด้าน นายชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ซึ่งกำลังยืนคุมงานจัดดอกไม้ เปิดเผยว่า วันนี้กรมศิลปากรได้นำเรือสุพรรณหงษ์จำลองมาจัดวางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ทางเราได้ทยอยนำต้นไม้มาวางรอบๆ เรืออย่างสวยงาม ก่อนการซ้อมใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่มา : มติชนออนไลน์
LATEST NEWS
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น คุณณรงค์ชัย ปาระโกน อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง “ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายในกลุ่มก็เริ่มที่จะสนใจ ทำให้เราได้มีการ
โกสนจัดเป็นไม้มงคล ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดี เนื่องจากชื่อ “ โกสน” เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “กุศล” หมายถึง การสร้างบุญงาม ความดี จึงนิยมปลูกโกสนไว้หน้าบ้าน ในทางทิศตะวันออกของบ้าน มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นไม้เสริมสิริมงคล ให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ความมีเสน่ห์ของโกสนอยู่ที่ลวดลายใบที่สวยงามสลับเฉดสีต่างๆ เช่น เฉดสีชมพูก็จะมีสีเขียวเข้มมีชมพูเข้ม เส้น ลายใบชัดเจน เฉดสีเหลืองก็จะออกสีไล่เลี่ยกันในโทนเหลือง เป็นต้น โกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โคร-ออน (Croton) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม ที่มีใบเป็นจุดเด่น โดยใบมีรูปทรงและสีที่สวยงามแตกต่างไปกับพรรณไม้อื่นๆ นิยมเป็นไม้กระถาง ให้มีลักษณะทรงพุ่มเล็กๆ หากต้องการให้มีทรงพุ่มใหญ่ จะใช้วิธีปลูกลงดิน โกสนมีทั้งใบเล็ก-ใบใหญ่ ต้นโกสนเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดตั้งแต่ พุ่มเล็ก จนถึงพุ่มใหญ่ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้นี้คือ ทรงของใบมีหลายลักษณะผันแปรตามธรรมชาติ และมีเด่นที่ใบมีหลายสี เช่น เหลือง ส้ม ม่วง ขาว ชมพู ดำ และยังมีลักษณะใบลูกผสม ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โกสนที่ใช้เป็นไม้ประดับงดงามนั้นมีชนิด (species) เดียวคือ โคเดียมหรือโคดิเอี้ยม
ปัจจุบันในไทยมีเพียง 3 จังหวัดที่สามารถปลูกแมคคาเดเมียได้ มีเชียงใหม่ เชียงราย และเลย ซึ่งเกษตรกรมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแมคคาเดเมีย โดยผลแมคคาเดเมียจะถูกกะเทาะเปลือกออกแล้วนำส่วนที่เป็นเนื้อภายในไปขาย ทำให้มีเปลือกแมคคาเดเมียเหลือทิ้งจำนวนมาก ตลาดแมคคาเดเมียเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ ปัจจุบัน แมคคาเดเมียกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหมที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทุกวันนี้เกษตรกรไทยเริ่มหันมาสนใจปลูกแมคคาเดเมียกันอย่างกว้างขวางทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย มัธยัสถ์ถาวร ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เปิดเผยว่า กะลาแมคคาเดเมียเป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปแมคคาเดเมีย ซึ่งมีศักยภาพที่นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ ซึ่งถ่านจากเปลือกแมคคาเดเมียมีความหนาแน่นรวมของถ่านน้อย มีรูพรุนสูง สามารถนำมาทำเป็นถ่านกัมมันต์ได้ จึงได้พัฒนาทดสอบกระบวนการและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแท่งเชื้อเพลิง และนำเศษวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพและอัดแท่งให้เป็นแท่งเชื้อเพลิง โดยผ่านกร
“เห็ด” แหล่งโปรตีนจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมบริโภคแต่ครั้งอดีตตราบถึงปัจจุบัน สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่อร่อยถูกปาก อีกทั้งยังมีโปรตีนสูงจึงตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรืออาหารเจ อาชีพเกษตรนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการทำงานประจำ ด้วยสามารถสร้างสุขให้แก่ทั้งตัวเกษตรกรเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในบ้านเกิดของตนเอง ชัญญาณ์ภัช ภักดี (คุณเก๋) เจ้าของ “สวนเห็ดบ้านภักดี” นับเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้างชีวิตบทบาทวิถีแห่งความสำเร็จผ่านการสานต่อธุรกิจฟาร์มเห็ดอินทรีย์ของครอบครัวที่ตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คุณเก๋ เล่าว่า ตนเองจบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวการโรงแรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วได้ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ได้รับผลกระทบต่องานประจำ จึงตัดสินใจกลับมาประกอบธุรกิจส่วนตัวทำฟาร์มเห็ดที่บ้านเกิดในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมทีเป็นสวนลำไยอินทรีย์ โดยมีพ่อและแม่ดูแล ภายหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยก็มีเห