ฮอร์โมนไข่
อาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์ร่า อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ที่ 5 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์กว่า 300 ไร่ โดยขั้นตอนการผลิตก็อินทรีย์ล้วนๆ ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป อาจารย์กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การทำนาอินทรีย์ประสบความสำเร็จ คือการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยเพื่อเตรียมและปรับปรุงบำรุงดิน รวมทั้งฮอร์โมนไข่ โดย “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” นั้นประกอบด้วย ไส้ของหน่อกล้วย ที่ได้จากหน่อหนุ่มสาว ลอกกาบออก ให้เหลือเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาว 50 เซนติเมตร ทุบให้ช้ำ อย่างอื่นมี กลูโคส 1 กระป๋อง (ราว 450 กรัม) น้ำส้มสายชู 1 ขวด (ราว 750 ซีซี) ขัณฑสกร 2 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวหมาก 6 ก้อน นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก นำสิ่งที่แนะนำมาใส่รวมกันในถัง 200 ลิตร จากนั้นเติมน้ำให้เต็ม นำไปวางไว้กลางแดด ใช้หินที่เป็นก้อนๆ ซึ่งเขาใช้ถมเป็นเขื่อนกันดินพัง หุ้มด้วยตาข่าย วางลงไปยังถัง 5-7 วัน ดูที่หินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน สามารถนำออกใช้งานได้ อัตราที่แนะนำ 5 ลิตร ต่อไร่ หรือจะมากกว่านี้ก็ได้ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย เริ่มใช้เมื่อมีการเตรียมดิ
วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน บอกหมดเปลือก เคล็ดไม่ลับ “สูตรน้ำหมักฮอร์โมนไข่” เร่งดอกให้ติดดอกได้เร็ว ทำให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ช่วยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ออกดอกออกผล เร่งผลผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นิยมใช้บำรุงพืช ควบคู่กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ส่วนระยะเวลาในการให้ฮอร์โมนไข่นั้น ไม่ควรให้ถี่จนเกินไป ควรเว้นช่วงการให้ ฮอร์โมนไข่ คือ การนำไข่ไก่สดมาผสมกับนมเปรี้ยว และน้ำตาล เพื่อให้จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยว ย่อยสลายธาตุอาหารในไข่ไก่ ทำให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย สูตรนี้จะนิยมใช้ในการบำรุงพืช ออกดอกออกผล เร่งผลผลิตได้รวดเร็ว “ฮอร์โมนไข่” เรียกได้ว่าเป็นปุ๋ยชั้นดีให้แก่พืชผักเลยทีเดียว ในไข่ไก่มีโปรตีนที่มีประโยชน์มาก นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของมนุษย์แล้ว ยังมีประโยชน์ที่นำมาใช้กับพืชได้อีกด้วย วิธีใช้ : ผสมฮอร์โมนไข่ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดรดต้นไม้ตอนที่ยังไม่ออกดอก และถ้าหากต้นไม้เริ่มออกดอกใช้เพียง 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร หากใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วงได้ วิธีการเก็บรักษา : หากใช้ไม่หมด ให้นำไปเก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแสงแดด สามารถเก็บได้นานเป็นปี
✨สมุนไพรรสเบื่อเมาที่นำมาสับให้ละเอียด พืชสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมาทุกชนิด เช่น ปลีกล้วย เปลือกมังคุด เปลือกฝรั่ง มะยมหวาน ยาสูบ ขอบชะนางแดง-ขาว หนอนตายหยาก หัวกลอย ใบเมล็ดสบู่ดำ ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก เมล็ดมะกล่ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าหนอน เพลี้ยต่างๆ และแมลงอื่นๆ ใช้ได้ผลดีในนาข้าวและแปลงพืชผักทุกชนิด แต่ที่นำมาใช้ในสูตรนี้จะมีหัวกลอย ใบน้อยหน่า ใบเมล็ดสบู่ดำ แล้วแต่ละพื้นที่ที่สามารถหาวัตถุดิบได้ 🍀วัตถุดิบ สมุนไพรรสเบื่อเมาสับละเอียด 3 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า 10 ลิตร 🪴ขั้นตอนการทำ 1. เทน้ำเปล่าใส่ถังพลาสติก จากนั้นเทกากน้ำตาลลงไป และคนจนกากน้ำตาลละลายเป็นเนื้อ เดียวกันกับน้ำ (เคล็ดลับให้คนไปทางเดียวกัน) 2. ใส่สมุนไพรที่สับละเอียดแล้วลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง ปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม นาน 3 เดือน สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ 💡การนำไปใช้ ผสมหัวเชื้อน้ำหมัก 1 ลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ถ้าเป็นพืชผักให้ฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน ถ้าเป็นไม้ผลให้ฉีดพ่นทุก 7 วัน ช่วยในการฆ่าเพลี้ย หนอน และแมลง ในพืชผักทุกชนิด 🍃เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี 1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาห
ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพยังมาแรงต่อเนื่อง ส่งผลดีกับหลายกิจการ รวมถึงในภาคการเกษตร โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (GAP) จะช่วยการันตีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรมีช่องทางการขาย และการสร้างมูลค่ามากขึ้น จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ คุณประภัทรษร นิลศิริ หรือ คุณแป๊ก อยู่ที่บ้านวังม่วง หมู่ที่ 2 ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ผ่านประสบการณ์การทำงานมาหลายอาชีพ เริ่มตั้งแต่ไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อเก็บเงิน หลังจากนั้นกลับมาหางานทำที่บ้านและตั้งใจทำงานจนได้บรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่อย่างไรก็ตาม เธอคนนี้ก็ยังไม่หยุดที่จะแสวงหาทำในสิ่งที่รักนั่นก็คือการทำเกษตรกรรม ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำเป็นงานหลัก แต่ขอให้ได้ทำเป็นอาชีพเสริมก็สุขใจ แถมมีรายได้เข้ามาต่อเดือนไม่น้อย คุณแป๊ก เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองได้เดินทางไปทำงานโรงงานทอผ้าที่ต่างประเทศเพื่อเก็บเงิน เมื่อเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งจึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาเริ่มต้นทำในสิ่งที่รักที่บ้านเกิด โดยสิ่งแรกที่ทำคือการกลับมาพัฒนาพื้นที่การทำเกษตรของพ่อกับแม่จากเดิมที่ปลูกพืชไร่อย่างเ
ชุมชนห้วยเสือเต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในชุมชนเกษตรต้นแบบที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ใช้โมเดล D&MBA ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยคนในชุมชน เริ่มจากปลูกผักยกแคร่หนีน้ำท่วม สู่การทำเกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรคนรุ่นใหม่เป็นหัวขบวนในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตที่ได้มาตรฐาน พร้อมเติมทุนต่อยอดธุรกิจสู่มาตรฐานผ่านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ชุมชนห้วยเสือเต้น ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ชุมชนห้วยเสือเต้นซึ่งมีสมาชิกในชุมชนจำนวน 338 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ปัญหาอุทกภัย และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤตพลังงาน ปัญหาปุ๋ยแพง ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและรายได้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ ธ.ก.ส. เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาตามแนวทางการจัดการ-การออกแบบเชิงพื้นที่ “แก้หนี้ แก้จน” หรือ Design & Manage by Area : D&MBA เริ่มตั้งแต่การประเมินศักยภาพในการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้
คุณประสิทธิ์ รัตนพรหม เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน อดีตวิศวกร ผันตัวมาเป็นชาวสวนลำไยโดยการใช้น้ำหมักอินทรีย์บำรุงลำไย จากวัตถุดิบใกล้บ้าน หาง่าย ราคาถูก ต้นทุนถูกลงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้ต่อเนื่องสภาพใบและต้นลำไยดีขึ้นเห็นผลอย่างชัดเจน ที่สำคัญยังหารายได้จากการขายน้ำหมักอินทรีย์ได้อีกด้วย คุณประสิทธิ์ เล่าว่า ก่อนจะมายึดอาชีพเป็นชาวสวนลำไยอย่างเต็มตัวนั้น ตนเป็นวิศวกรในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ประสพกับช่วง 13 ปีที่แล้ว ภรรยาท้องลูกแฝด 3 คน ตนจึงต้องเสียสละลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก อีกทั้งครอบครัวพ่อแม่ของตนก็มีอาชีพเป็นชาวสวนลำไยอยู่แล้ว ประกอบกับราคาลำไยช่วงนั้นค่อนข้างดี จึงหันมาเป็นชาวสวนลำไยอย่างเต็มตัว ปัจจุบันมีสวนลำไยอยู่ที่ 120 ไร่ มีต้นลำไย 1,400 ต้น สาเหตุที่หันมาใช้น้ำหมักอินทรีย์บำรุงต้นลำไย คุณประสิทธิ์บอกว่า เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน การทำลำไยให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นจำเป็นต้องใช้สารเคมีสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลำไยนั้นสูงขึ้นตาม และพบว่าดินของลำไยมีปริมาณธาตุอาหารหลายๆ ตัวเกินสมดุล จึงมองหาความรู้ศึกษาแนวทางการปรับปรุงสภาพดิน นั่นคือก
อาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์ร่า อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ที่ 5 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์กว่า 300 ไร่ โดยขั้นตอนการผลิตก็อินทรีย์ล้วนๆ ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป อาจารย์กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การทำนาอินทรีย์ประสบความสำเร็จ คือการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยเพื่อเตรียมและปรับปรุงบำรุงดิน รวมทั้งฮอร์โมนไข่ โดย “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” นั้นประกอบด้วย ไส้ของหน่อกล้วย ที่ได้จากหน่อหนุ่มสาว ลอกกาบออก ให้เหลือเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาว 50 เซนติเมตร ทุบให้ช้ำ อย่างอื่นมี กลูโคส 1 กระป๋อง (ราว 450 กรัม) น้ำส้มสายชู 1 ขวด (ราว 750 ซีซี) ขัณฑสกร 2 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวหมาก 6 ก้อน นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก นำสิ่งที่แนะนำมาใส่รวมกันในถัง 200 ลิตร จากนั้นเติมน้ำให้เต็ม นำไปวางไว้กลางแดด ใช้หินที่เป็นก้อนๆ ซึ่งเขาใช้ถมเป็นเขื่อนกันดินพัง หุ้มด้วยตาข่าย วางลงไปยังถัง 5-7 วัน ดูที่หินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน สามารถนำออกใช้งานได้ อัตราที่แนะนำ 5 ลิตร ต่อไร่ หรือจะมากกว่านี้ก็ได้ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย เริ่มใช้เมื่อม