เกษตรกรญี่ปุ่น
การเกษตรถือเป็นรากฐานสำคัญของหลายประเทศ รวมถึงญี่ปุ่นและไทยที่ต่างมีความโดดเด่นเฉพาะตัว แต่ในขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างที่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ เทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณนิทัศน์ ศรีอุราม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘คุณโอซัง’ เกษตรกรตัวจริงที่เคยไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น เผยให้เห็นมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการทำเกษตรในญี่ปุ่นและไทย ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน คุณโอซัง เล่าให้ฟังว่าจากการที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเป็นเกษตรกรในญี่ปุ่นถ้าพูดถึงในมุมของการทำเกษตรในญี่ปุ่นกับไทยนั้น “การผลิตไม่ได้ต่างกันมาก แต่ที่แตกต่างจริงๆ คือการวางแผนและการบริหารจัดการ ยกตัวอย่างในไทยช่วงมีนาคม-เมษายน ทุเรียนจะออกผลผลิต ซึ่งเกษตรกรต้องวางแผนทั้งการปลูกและการขาย ถ้าเป็นคนไทย เราต้องจัดการเองทุกขั้นตอน แต่ที่ญี่ปุ่นจะมีสหกรณ์เกษตรที่ช่วยบริหารจัดการผลผลิตต่อไป และส่วนใหญ่คนไทยมักจะไม่ค่อยจดบันทึกรายละเอียดแบบที่คนญี่ปุ่นทำ” ในบ้านเรา ปัญหาของเกษตรกรมักไม่ได้อยู่ที่การปลูกพืช แต่เป็นเรื่องราคาสินค้าที่ตกต่ำหรื
ประเทศญี่ปุ่น มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการด้านต่างๆ ไม่เป็นรองชาติใด เป็นประเทศที่มีสังคมผู้สูงอายุอันดับต้นๆ ของโลก มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีมาก ชาวญี่ปุ่นมีอายุยืน มีรายได้สูง สามารถจ่ายเงินเพื่อบริโภคอาหารที่ดี ในขณะที่ภาคการเกษตรก็สามารถผลิตอาหารที่ดีมีคุณภาพตามที่ผู้บริโภคต้องการ อาชีพการเกษตรจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้สูงไม่แพ้อาชีพอื่นๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตรในประเทศญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคจากธรรมชาติ ทั้งลมพายุ ฝนกระหน่ำ อุณหภูมิต่ำ หิมะตกหนักในหลายพื้นที่ รวมทั้งปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ คนวัยหนุ่มสาวไม่นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวนเกษตรกรลดลงไปมากในปัจจุบัน งานภาคการเกษตรจึงกลายเป็นภาระของคนรุ่นพ่อแม่ทําให้เกษตรกรญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยสูงเกินวัย 60-70 ปี ไปแล้ว ในขณะที่ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาคการเกษตรก็ต้องรักษามาตรฐานการผลิต ส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากเกษตรกรญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งและรับผิดชอบงานในหน้าที่ บวกกับความร่วมมือจากหน่วยราชการและเอกชนที่ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีทุกฝ่าย ผลผลิตทางการเกษตร จ
นายนาโอกิ โมโตะยามะ อดีตกรรมการ สมาพันธ์การขึ้นทะเบียนสารจำกัดศัตรูพืชประเทศญี่ปุ่น แถลงข่าวความท้าทายใหม่ของเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรียนรู้ เข้าใจต่อการใช้สารอารักขาพืชบนรอยต่อของยุคออแกนิค จัดโดยครอปไลฟ์เอเชีย ว่า จากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น การใช้สารอารักขาพืชและเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการเพาะปลูก สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้20-40% และยังช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลาการทำการเกษตรลงจาก 50 ชั่วโมง (ชม.) เหลือเพียง 1.7 ชม. ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นประเทศทำการเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ญี่ปุ่นทำเกษตรอินทรีย์เพียง 0.24% เท่านั้น ที่เหลือ99%ทำเกษตรแบบวิธีปกติ ที่ใช้สารอารักขาพืชเข้ามาช่วยในการเพาะปลูก ภายใต้หลักการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และการใช้สารอารักขาพืชของเกษตร ตามคำแนะนำของฉลาก ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารอารักขาพืชต่อทั้งตัวเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค “ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าเห็ดชิทาเกะ จะมีสารตกค้างจากการใช้สารอารักขาพืชภายใต้การบริหารจัดการที่คุณภาพ เพียง 0.06 พีพีเอ็มเท่านั้น ซึ่งเป็นไม่ได้ส่งผลกระทบให้เกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพในต