เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกว่า 1,000 คน ยกทัพบุกกระทรวงการคลัง-หอการค้าไทยฯ ยื่นหนังสือขอความเห็นใจ พร้อมนำหัวหมู 37 หัว บนบานกู้วิกฤต หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากไทย 37% เพื่อลดการขาดดุลการค้า และรัฐบาลไทยเตรียมเจรจาเปิดทางนำเข้าเครื่องในหมูสหรัฐฯ ซึ่งจะกระทบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู และห่วงโซ่การผลิตทั้งหมดที่มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทให้ล่มสลาย รวมถึงกระทบสุขภาพคนไทย เสี่ยงต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ พร้อมกันนี้ได้เข้าพบ รมว.กษตรฯ ขอบคุณที่เคียงข้างเกษตรกรไทย นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ระบุว่า จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่ระบุว่าอนุมัติให้มีการนำเข้าเครื่องในสุกรจากสหรัฐฯนั้น สร้างความกังวลใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเครื่องในหมูเป็นแหล่งสะลมสารเร่งเนื้อแดงที่สหรัฐฯใช้กันอย่างแพร่หลาย หากนำเข้าเครื่องในมาไม่ว่าจะใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงหรืออาหารมนุษย์ ก็ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงและต่อประชาชนคนไทยทั้งสิ้น เนื่องจากมีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ ขณะที่คนไทยกินเครื่องใ
นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยว่า ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ปริมาณเนื้อสุกรไม่เพียงพออยู่แล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่แรกที่เสียหายจากการระบาดของโรค ASF ในสุกร จากปกติปริมาณสุกรเข้าโรงฆ่าในพื้นที่อยู่ที่ 2,000-3,000 ตัว ต่อวัน โดยปี 2564 มีการนำเข้าซากสุกรที่เชือดแล้วจากพื้นที่อื่นของประเทศ ประมาณ 2-3 ล้านกิโลกรัม ต่อเดือน แต่ปรากฏว่าเดือนมกราคมปีนี้ มีซากสุกรที่เชือดแล้วเข้ามาในพื้นที่มากถึง 8 ล้านกิโลกรัม ส่งผลกระทบต่อยอดขายสุกรมีชีวิตในฟาร์มเริ่มออกช้าลงประมาณ 30-50% เกษตรกรต้องเลี้ยงสุกรต่อไปทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ราคาหน้าฟาร์มมีทิศทางที่จะอ่อนตัว “พบว่าเมื่อ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีร้านจำหน่ายปลีกหมูของโบรกเกอร์รายหนึ่ง โฆษณาขายเนื้อหมูส่วนสะโพกราคากิโลกรัมละ 150 บาท หัวไหล่ 135 บาท เมื่อตรวจที่บรรจุภัณฑ์กลับพบว่าผลิตเมื่อปี 2020 เท่ากับเป็นหมูตกค้าง จึงเกรงว่าจะมีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือที่ร้ายที่สุดคือเป็นหมูจากประเทศที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงได้” นายสุนทราภรณ์ กล่าว ขณะที่ นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมมือปศุสัตว์จังหวัด เดินสายให้ความรู้การป้องกัน โรค ASF ในสุกร แก่เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดยโสธร พร้อมทั้งจัดอบรมต่อเนื่องให้กับเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ นครนายก และอ่างทอง ช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยกว่า 3,000 คนในกว่า 20 จังหวัดรู้ทัน และเข้าใจการป้องกันโรค นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวว่า การป้องกันโรค ASF ในสุกรเป็นวาระแห่งชาติที่่ต้องระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนป้องกันโรค ASF ในสุกร แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่พบการระบาดของโรคในประเทศไทย การจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในจังหวัดยโสธร จะช่วยสร้างความตื่นตัวให้เกษตรกรรายย่อยที่เป็นฟันเฟืองที่สำคัญมีความพร้อมในการป้องกันอย่างเข้มแข็ง น.สพ.ปัญญา มูลคำกาเจริญ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้และเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในสุกรเท่านั้น ไม่ติดต่อหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์อื่น ผู้บริโภคสามารถรับประทานหมูได้อย่างปลอดภัย 100% ปศุสัตว์จังหวัดบูรณาการทำงานกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งการป้องกันโรค การปราบปรามการ