เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF)
“มะขามเทศ” เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เพราะปลูกดูแลง่าย ทนทานต่ออากาศร้อนแห้งแล้งได้ดี ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มีแคลเซียมและวิตามินอีสูง เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์กับร่างกาย สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ได้ยกย่อง “คุณก้อย-ทิพย์วรรณ สลุงอยู่” เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเกษตรกรคนเก่งที่เป็นต้นแบบในการปลูกไม้ผล โดยเฉพาะ มะขามเทศ ทุกวันนี้ คุณก้อยมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต กิ่งพันธุ์ ถ่านผลไม้และน้ำส้มควันไม้เพิ่มขึ้นทุกปี หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือผลกำไรสุทธิต่อปี มากกว่าล้านบาททีเดียว ผลงานที่โดดเด่นทำให้คุณก้อยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวนระดับจังหวัด รางวัลเกษตรกรดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2562 และรางวัลชมเชย เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 2563 สาขาทำสวน กทม. ไม่ใช่คำตอบของชีวิต หลังเรียนจบปริญญาตรี ด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง คุณก้อย ทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. เพื่อเก็บออมเงินสร้างครอบครัว แต่วันหนึ่งคุณก้อยค้นพบว่า การสร้างอนาคตที่ กทม. ไม่ใช่คำตอบของชีวิตอีกต่อไป จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงาน กลับมาอยู่บ้านและสร้างธุรกิจเกษตร เริ่มจากขายปุ๋ยอินทรีย์ แ
“คุณหมู” หรือ คุณกรวิชญ์ มาระเสนา อดีตวิศวกรโยธา ที่ตัดสินใจลาออกแล้วเบนเข็มสู่อาชีพเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว โดยมุ่งทำสวนเกษตรผสมผสานตามศาสตร์พระราชา นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดมาใช้ผลิตและจำหน่ายสินค้า สร้างรายได้หลายแสนบาทต่อไร่ สร้างวิถีชีวิตแห่งความสุข บนเส้นทางอาชีพเกษตรกร เดิมทีครอบครัวคุณหมูทำธุรกิจเกษตรและประมง พ่อแม่ตั้งใจส่งเสริมให้คุณหมูเรียนจบสูงๆ เพราะไม่ได้อยากให้มาทำอาชีพเกษตรกรรม หลังคุณหมูเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ก็ทำงานประจำในตำแหน่งวิศวกรโยธา ทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง เมื่อ 10 ปีก่อน คุณหมูจึงตัดสินใจลาออกแล้วกลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิด เพื่อจะได้มีโอกาสดูแลพ่อแม่ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ในระยะแรก คุณหมูไม่มีพื้นฐานด้านงานเกษตร ก็พยายามเรียนรู้ข้อมูลด้านการผลิต-การตลาด จากหนังสือด้านเกษตรและข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากกระแสนิยมบริโภคผักอินทรีย์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณหมูจึงสนใจเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ให้ผลตอบแทนสูง คุณหมูเป็นแกนนำรว
ผู้คนส่วนใหญ่ รู้จัก “จังหวัดสงขลา” ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางการค้าสำคัญของภาคใต้ ความจริงจังหวัดสงขลาเป็นแผ่นดินทองทางการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน นาข้าว พืชผักผลไม้และสินค้าประมง สร้างอาชีพและทำรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรจำนวนมากมาอย่างยาวนาน หากใครอยากรู้ทิศทางสินค้าเกษตรของจังหวัดสงขลาปรับตัวไปในทิศทางไหน ต้องลองฟังคำตอบจากบทสัมภาษณ์ของ “คุณประสงค์ พีรธรากุล” เกษตรจังหวัดสงขลา ได้ในฉบับนี้ ภาพรวม “การเกษตร” จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ทั้งหมด 4.6 ล้านไร่ มีเกษตรกรกว่า 139,000 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตร 2.6 ล้านไร่ พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ สวนยางพารา 1.97 ล้านไร่ เกษตรกร 87,525 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าว 210,104 ไร่ เกษตรกร 20,000 ครัวเรือน สวนปาล์มน้ำมัน 66,503 ไร่ เกษตรกร 6,253 ครัวเรือน ไม้ผลไม้ยืนต้น 206,138 ไร่ พืชผัก 26,540 ไร่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย เป็นแหล่งให้บริการทางการเกษตรและแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในพ