เกษตรตรัง
คุณอนุสรณ์ นวะกะ อดีตพนักงานบริษัทรถยนต์ สนใจอยากทํางานอิสระ จึงเก็บหอมรอมริบ ด้วยเงินทุน 300,000 บาท สู่การเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว ด้วยตนเองเป็นคนที่ชื่นชอบ “การเลี้ยงปลากัดสายนักสู้” จึงคิดว่าสามารถทำเป็นอาชีพได้ โดยเริ่มบุกเบิกมาตั้งแต่ปี 2550 เริ่มต้นด้วยการเพาะเลี้ยงไรแดงและเพาะเลี้ยงปลากัด จํานวน 20 บ่อ ขายไรแดงจากการเพาะฟักและขายปลากัดนักสู้มีรายได้คุ้มต้นทุนตั้งแต่ช่วงแรกๆ ปัจจุบัน มีบ่อเลี้ยงปลากัดนักสู้และขายไรแดงสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ได้เป็นอย่างดี โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดตรัง ได้เข้ามาส่งเสริมให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านการประมงเพื่อเป็นศูนย์ให้เกษตรกรผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ คุณอนุสรณ์ เล่าถึงวิธีการเพาะเลี้ยงไรแดงเพื่อนำมาเป็นอาหารให้กับปลากัดสายพันธุ์นักสู้ซึ่งทำได้ไม่ยาก โดยเริ่มต้นจากการนำน้ำเขียวคลอเรลลา (Chlorella sp) จํานวน 20 ลิตร ใส่บ่อซีเมนต์ ขนาด 5x5x0.60 เมตร แล้วเติมน้ำที่สะอาด ให้มีระดับน้ำ 2 เซนติเมตร เตรียมส่วนผสมประกอบด้วย ฮามิ ฮามิ 2 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 1 กิโลกรัม ปุ๋ยนา (16-2
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่มีความสำคัญของจังหวัดตรัง ซึ่งให้ผลตอบแทน แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละปีสูงกว่าพืชเศรษฐกิจบางชนิด เช่น ยางพารา ที่เป็นพืชสำคัญของจังหวัดตรัง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 179,457.96 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 158,762 ไร่ และมีแนวโน้มที่จะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากภาวะราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยตลอดทั้งปีมีราคาค่อนข้างสูง คุณเรืองเดช นิเวศประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เปิดเผยว่า ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของจังหวัดตรังส่วนใหญ่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างต่ำ คือ 2,989 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สาเหตุจากขาดการจัดการสวนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการใส่ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีระบบน้ำ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคลำต้นเน่าสาเหตุจากเชื้อ Ganoderma sp. พบแพร่กระจายในสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในทางภาคใต้ โดยเชื้อราจะเข้าทำลายจากรากสู่ลำต้นผ่านทางท่อลำเลียงอาหารและน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อภายในลำต้นเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการผิดปกติภายนอกที่พบคือ ใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางใบแก่ล่างจะหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบๆ ลำต้น ยอดที่ยังไม่คลี่มีสีเหลือง หรือมีจำนวนมากกว่าปกต
“ประชาสัมพันธ์” เป็นคำที่ถูกพูดถึงและถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป นั่นเป็นเพราะ การประชาสัมพันธ์ คือ การบอกกล่าว การสร้างการรับรู้ การเผยแพร่ หรือกระจายข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือ หรือความนิยม นั่นเอง กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกระดับต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในนโยบายและโครงการสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล แก่เกษตรกรในทุกโอกาส โดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพบปะเกษตรกร รวมถึงการใช้สื่อโซเชียล สื่อออนไลน์ สื่อมวลชน โดยต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในส่วนของผลการดำเนินงานที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่กำลังจะดำเนินการต่อไป รวมถึงประโยชน์ที่เกษตรกรและสังคมจะได้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล โดยอาศัยหน่วยงานในระดับพื้นที่ ได้
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง โดย นายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง มอบหมายให้ นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ เป็นประธานการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปี 2564 ลงพื้นที่พร้อมคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนป่าไม้ ตั้งอยู่ 57/93 ถนนป่าไม้ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยมีเกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่ และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนป่าไม้ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอข้อมูลการจัดการภาพรวมของกลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางให้คณะกรรมการคัดเลือก และรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการเพื่อนำไปปรับใช้พัฒนากลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนป่าไม้ได้ดำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่ปี 2562 มีสมาชิก 15 คน โดยสมาชิกกลุ่มให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดีและมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ ผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก ผ้าเพ้นท์ลาย กระเป๋า ถุงแก้วเยติ หน้ากากผ้า ราคาขายผ้าบาติก ผ้าเพ้นท์ลาย มีตั้งแต่ 500-1,200 บาท การตลาดมีทางออนไลน์และวางจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ ภายในชุ