เกษตรทางรอด
เมื่อกล่าวถึงกล้วย หลายท่านบอกว่า ปลูกทำไมกล้วย หาซื้อกินง่ายกว่า นั่นแหละครับ บางครั้งไม้ใกล้ตัว พอต้องการจริงๆ ไม่มีให้ได้ใช้สอยสักต้น เวลาอยากกินขึ้นมาหรือจะทำการอันใดก็สายเสียแล้วเพราะไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย เรื่องกล้วยๆ จึงไม่ดูกล้วยอีกต่อไป ฉบับนี้เลยขอกล่าวถึงเรื่องการปลูกกล้วยกับการทำมาหากินให้มีรายได้ อันนี้ไม่เกี่ยวกับกล้วยด่างเงินแสนเงินล้านนะครับ กล้วยล้วนๆ กล้วยอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ตั้งแต่บรรพกาล กล้วยมีประโยชน์ใช้ได้ตั้งแต่ลำต้นถึงใบเลยทีเดียว เป็นส่วนประกอบของประเพณีต่างๆ ในสังคมไทย ความสำคัญของกล้วยน้ำว้าต่อสังคมไทย กล้วยถือว่าเป็นสมุนไพร เป็นผลไม้ กินง่าย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยงาช้าง กล้วยหิน กล้วยให้พลังงานสูง มีแร่ธาตุและวิตามินครบ หลากหลายชนิดของกล้วยเป็นสมุนไพร กล้วยนั้นมีสรรพคุณต่อร่างกายมากมาย อาทิ บำรุงร่างกายโดยรวม เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอความแก่ หน้าเด็กกว่าวัย ลดความอ้วน โดยกินกล้วยแทนขนมจุกจิก ทำให้อิ่มท้อง ไม่อยากกินมากเกินความจำเป็น ช่วยอาการนอนไม่หลับ ทำให้หลับส
มีคำถามหลายคำถามเกิดขึ้นในวงเสวนาเกี่ยวกับการเกษตรหลายครั้ง ที่บางครั้ง ต้องตอบตามทฤษฎี หรือโมเดลที่ตั้งไว้ แต่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ตอบไปอย่างนั้น อย่างนี้ เพื่อให้ผ่าน แต่เกษตรกรผู้นั่งฟังก็ยังสับสน เพราะคำถามที่ได้ยินประจำ ปลูกแล้วขายให้ใคร เลี้ยงแล้วขายให้ใคร ลงทุนแล้วจะได้กำไรไหม ราคานี้มีจริงใช่ไหม ข้อมูลคำถามเหล่านี้ ถ้าได้ลงมือทำจริงก็จะตอบอย่างมั่นใจ และผู้รับฟังก็จะมีความสุข วันนี้มีการตื่นตัวเรื่องการทำเกษตรเป็นจำนวนมาก ทั้งแปลงใหญ่ แปลงเล็ก หรือการทำแบบวิถีพอเพียง พืชเติบโตเจริญวัยขึ้นทุกวัน บางชนิดออกผลิตผลภายใน 40-45 วัน ออกมาถ้าปลูกแล้วพออยู่พอกินไม่เป็นปัญหา ปลูกแล้วเป็นธุรกิจ จะต้องมีการวางแผนการตลาดที่ดี นี่แหละคือปัญหาใหญ่ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไว้ในคอก ก็ต้องดูแลเรื่องโรคต่างๆ ที่มาตามฤดูกาล การวางแผนที่ดี เพื่อทำให้เกิดการตลาดที่ยั่งยืนก็ควรจะต้องมี ต้องศึกษาให้ละเอียด มิเช่นนั้นจะมีปัญหาตามมา ผมมั่นใจนะครับว่าคุณผู้อ่านทุกท่านคือเกษตรกรมืออาชีพ เรียนผิดเรียนถูก ผิดเป็นครูก็มีมาให้เห็นเยอะมาก บางจุดยังมีร่องรอยของโรงเรือนที่ร้างไม่มีการเพาะปลูกต่อ เกษตรกรส่วนใหญ่จ
คำว่า ลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรคิดแบบง่ายๆ คือการประหยัด ประหยัดอย่างไรให้ผลิตผลออกมาได้คุณภาพ ได้มีตลาดสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เกษตรกรในเมืองไทยส่วนใหญ่จะคิดจบง่ายๆ คือไม่มีแรงงาน ไม่มีเงินทำ ก็เลยทำตามมีตามเกิด อีกอย่างหนึ่งก็คือเกษตรกรไทยมีความเชื่อว่า ทำมากับมือ ทำมาตลอดปี นักวิชาการจะเอาอะไรมาขายอีกนะ จะเอาอะไรมาแจกอีกนะ สุดท้ายตนเองก็กลับมาทำแบบวิถีดั้งเดิมเหมือนเดิม จริงครับถูกต้องครับ เราต้องมีพื้นฐานการปลูกพืช พื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ ใจต้องรักอาชีพเกษตร ปลูกแล้วขายใคร คือคำถามสุดท้ายที่ได้ยิน ถ้าเราคิดว่าปลูกแค่พอกินเองก่อน เหลือค่อยแบ่งปัน คำตอบนี้อาจจะมีคนชอบและคนไม่ชอบอีกเช่นกัน เกษตรกรบางท่านก็อยากปลูกอยากเลี้ยงสัตว์แล้วได้เงิน ความคิดคิดได้ครับ แต่ถ้าจัดระบบได้ก็จะเป็นการดี ขอสร้างความเข้าใจกันสักนิด อะไรคือ การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่า การลดต้นทุนอะไรบ้างครับ จะอธิบายง่ายๆ ลดค่าปัจจัยการผลิต เช่น ลดปุ๋ยเคมี ลดสารเคมี ลดจำนวนเมล็ดพันธุ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้ต้นทุนต่อไร่ลดลง ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นและลดการสูญเปล่า เช่น ถ้าดินมีปุ๋ยอยู่ก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก ห
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมจะขอนำตัวอย่างและโมเดลใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ในเร็วๆ นี้ครับ ผมขอเรียกตอนนี้ว่า “ผนึกกำลังสร้างอนาคตที่มั่นคง” นั่นคือรูปแบบตลาดนำการผลิต ของมันสำปะหลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็พูดกัน แต่มันก็เกิดขึ้นยากมากในอดีต เพราะเกษตรกรจะปลูกพืชหรือทำการผลิตตามที่ตนเองถนัดเป็นส่วนใหญ่ ถึงเวลาก็ขายกันไป ได้ราคาเท่าไรก็ตามใจพ่อค้า เพราะเกษตรกรส่วนมากจะค้าขายไม่เป็นหรือไม่ชำนาญ แต่ปัจจุบันเรื่องตลาดนำการผลิตกำลังเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้พยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้นมาโดยตลอด และที่นครสวรรค์ก็กำลังถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเช่นกันโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแม่งานหลักด้วยตนเอง ในจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังกว่า 500,000 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกประมาณ 26,000 ครัวเรือน ผลผลิตอยู่ในราว 1.5 ล้านตัน หรือประมาณไร่ละ 3 ตัน ซึ่งก็นับว่าผลผลิตยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น โครงการนี้ก็จะพัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้นด้วย จึงจะขอเล่าถึงนครสวรรค์โมเดล โครงการมันแก้จนให้เห็นภาพ ที่มาของโครงการ ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ทำบันทึกข้อตกลง MOU
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่เป็นเกษตรกรไทยเจ้าของแผ่นดินทุกท่าน เทคโนโลยีชาวบ้านฉบับนี้ เราจะขอนำพาทุกท่านให้ช่วยกันมาหาทางเลือกเพื่อนำไปหาทางเลือก ก้าวไปสู่ทางรอด และความเจริญรุ่งเรือง เพื่อสร้างโอกาสเพื่อความเป็นอยู่ เพื่อการกินดีอยู่กันอีกแนวหนึ่ง ด้วยการเตรียมตัวศึกษานโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ที่เตรียมจะนำเสนอให้ประชาชนอย่างเรา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พิจารณา ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆ วันนี้ อย่างช้าที่สุดก็คงเป็นต้นเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ ตามข่าวที่สื่อสารกันออกมา ซึ่งก็คงเหลือเวลาอีกไม่นานแล้วครับ ทั้งนี้ เหตุผลที่เราต้องมาศึกษานโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ต้องมารับรู้ มารับทราบ และมาศึกษากันอย่างรอบคอบ ละเอียด และตรงไปตรงมาว่าแต่ละพรรคการเมืองที่เสนอตัวกันมามากมาย เขาได้นำเสนอแนวทางอะไรบ้าง เขาจะพัฒนาอะไรให้ภาคเกษตรบ้าง เขาจะสร้างความยั่งยืนให้ภาคเกษตรได้อย่างไรกันบ้าง ซึ่งนั่นล้วนแล้วแต่เป็นทางรอดและทางเจริญรุ่งเรืองของภาคเกษตรไทยทั้งนั้น เพียงแต่ว่า แต่ละพรรคการเมืองเสนออะไรมาบ้าง ทั้งภาคการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่ ที่ประกอบไปด้วย ต้นน้ำ กลางน้ำ แล
ครั้งที่แล้ว เราสร้างความเข้าใจกันถึงเนื้อหาในบางเรื่องที่ผู้นำชาติในกลุ่มเอเปค (APEC) ได้มาประชุมกันในเมืองไทย แล้วได้พูดคุยกันถึงเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบของ BCG model ใน 3 มิติ คือเศรษฐกิจต่อยอดที่ยั่งยืน เน้นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตามที่เราได้นำเสนอไปแล้ว ส่วนในตอนนี้ ผู้เขียนอยากจะชวนคุยลงไปในรายละเอียดอีกหน่อยในเรื่องดังกล่าว ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับยุคสมัยที่ผู้คน รวมทั้งเกษตรกรไทยต้องผ่านในช่วงของความยากลำบากไปให้ได้จริงๆ ผมจึงอยากเริ่มต้นคุยแบบที่ใช้ปัญญาของคนรุ่นเก่า กับวิชาการของคนรุ่นใหม่ มาผสมผสานกันด้วยการนำจุดแข็งที่มีอยู่มาร่วมกันคิดรูปแบบการพึ่งพาตนเองในแบบสังคมสร้างสุขและเกื้อกูลกัน ซึ่งอาจจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางก็ได้ ซึ่งในที่นี้ผมจะไม่กล่าวถึงพวกเกษตรกรรายใหญ่ เกษตรเพื่อการอุตสาหกรรมที่คนรวยเขาทำกัน เพราะนั่นเขาอยู่รอดของเขาแล้ว เราไม่ต้องไปยุ่งกับเขามาก แต่อาจจะต้องพึ่งพาเขาในด้านการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในแนวนั้นมากกว่าครับ ดังนั้น ในที่นี้ผมจึงจะขอกำหนดระดับของสังคมเกษตรแบบชนบทแบบง่ายๆ เป็น 3
สวัสดีครับท่านผู้อ่านและเกษตรกรที่รักทุกท่าน ข้อคิดและความคิดเห็นสำหรับตอนนี้ ในมุมมองของผู้เขียน และจากการติดตามข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างรอบด้านมาแล้ว ในช่วงนี้ถ้าหากจะไม่กล่าวถึงการประชุมสุดยอดของผู้นำประเทศในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2022 ที่เราเรียกการรวมตัวของประเทศเหล่านี้อย่างง่ายๆ ว่า กลุ่มเอเปค (APEC) ที่ครั้งนี้ประเทศไทยเราเป็นเจ้าภาพ ซึ่งการประชุมได้เสร็จสิ้นลงไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีผู้นำในประเทศสมาชิกต่างๆ ทุกมุมโลกมาร่วมประชุมกันทั้ง 21 ประเทศ นอกจากผู้นำหรือผู้แทนประเทศสมาชิกแล้ว ก็ยังมีแขกรับเชิญจากประเทศที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอีกบางส่วนด้วย ซึ่งถ้าจะถามว่าการประชุมในครั้งนี้ เกี่ยวข้องอะไรกับภาคเกษตรไทย หรือเกี่ยวข้องอะไรกับสินค้าเกษตร หรือจะเกี่ยวกับทางเลือกบนความอยู่รอดของเกษตรไทยเราตรงไหนบ้าง เราลองมาถอดรหัสและเรียนรู้หัวข้อสำคัญในการประชุมหารือครั้งนี้กันดูนะครับ สำหรับการประชุมครั้งนี้ เขาคุยกันถึงเรื่องทิศทางของโลกและเศรษฐกิจโลก ต่อจากนี้ไปว่าจะต้องดำเนินไปอย่างไร โดยเขาใช้ concept ในการประชุมหารือครั้งนี้ที่เรียกว่
สวัสดีครับทุกท่าน ตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงการขายหรือการตลาดก่อนที่จะผลิตอะไร ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องหลักการหรือเปล่า หรือบางคนบอกอาจจะสรุปปิดประตูไปว่าเกษตรกรขายไม่เก่ง ขายไม่เป็น ขายไม่ได้หรอก…ต่างๆ นานา สารพัดความคิดเห็น แต่เราจงอย่าเพิ่งเชื่อใคร ให้เชื่อมั่นตัวเองก่อน พิสูจน์ก่อนแล้วค่อยสรุป อย่าด่วนสรุปในขณะที่ยังไม่ได้ลงมือทำเลย เพราะถ้ายังคิดเช่นนั้น นั่นคงจะยังไม่เห็นแสงแห่งทางรอดแน่ๆ คราวนี้เราลองมาดูในเบื้องต้นว่าปัจจุบันนี้คนซื้อหรือพ่อค้าหรือผู้บริโภคต้องการสินค้าแบบไหนกันบ้าง ซึ่งก็คงจะไม่พ้น 2 เรื่องหลักๆ นั่นคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกของผลผลิต นั่นเอง เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยบ้างว่า อะไรล่ะมันคือปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกที่ว่านั่น ดังนั้น จึงขอนำเสนอให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อเตรียมตัวกัน เพราะเราจะผลิตกันแบบเดิมๆ เก่าๆ ถนัดอะไรปลูกอันนั้น ชอบอะไรก็ผลิตชนิดนั้น คนอื่นทำอะไรก็ทำตามเขาไป คงจะไม่ได้แล้ว ถ้าอยากจะอยู่บนทางรอดต่อไปครับ ปัจจัยภายนอกของผลผลิต 1.1 สีสัน เรื่องสีสันของผลผลิตทางการเกษตรนี่ก็เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่าผู้บริโภคสนใจและให้ความ
ในตอนที่แล้ว ซึ่งเป็นตอนแรกที่ผมได้เขียนถึงทางรอดของเกษตรกรไทยในมุมมองของผม ในฐานะที่ผมเคยทำงานธนาคารที่ดูแลสนับสนุนภาคเกษตรโดยตรง คือ ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (ธนาคารของรัฐบาล) และผมได้เห็นได้สัมผัส ได้พูดได้คุย ได้รับฟังปัญหาและประสบการณ์จากผู้ทำอาชีพเกษตรโดยตรงมาตลอดช่วงชีวิตการทำงานหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผมก็ได้ปูพื้นเรื่องราวภาคเกษตรมาในตอนที่ผ่านมาบ้างแล้วครับ ในตอนนี้จึงอยากจะกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัวที่สุดของเกษตรกรครับ นั่นคือการขายและการตลาดนั่นเอง เพราะไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตาม เกษตรกรก็ต้องผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้านั้นๆ ออกไป แล้วนำเงินหรือปัจจัยที่ได้มาจากการจำหน่ายนั้น ไปซื้อสินค้าที่จำเป็นในการใช้สำหรับชีวิตประจำวันต่างๆ หรือไปจัดหาจัดซื้อปัจจัย 4 ต่างๆ ที่จำเป็นมาใช้นั่นเอง ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึง การขายสินค้า หรือกล่าวภาษาเท่ๆ ว่า “การตลาด” นั่นเองครับ เพราะอย่างไรก็ตาม เรามักได้ยินเสมอว่า เกษตรกรไทยผลิตได้แต่ขายไม่เก่ง อย่าลืมนะครับว่าจะเก่งหรือไม่เก่งก็ตาม แต่เกษตรกรทุ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรและประชาชน มีการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างครูบัญชีอาสาหรือ“อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี” ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการเป็นวิทยากร วิทยากรผู้ช่วย เพื่อสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ และติดตามผลการทำบัญชีของเกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนของตนและพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และครูบัญชี ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรได้ใช้บัญชีไปใช้วิเคราะห์ต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนธุรกิจในครัวเรือนของตนได้ คุณขนิษฐา มะโนสมบัติ หรือ ครูรุ่ง ครูบัญชีดีเด่น รองชนะเลิศอันดับ 2 ประจำปี 2558 จากจังหวัดเชียงราย นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของครูบัญชีที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยนำระบบบัญชีมาใช้เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงแก่นแท้ของความพอเพียง และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีบริหารจัดการทำเกษตรทฤษ