เกษตรปลอดภัย
ใครจะรู้ว่า ผักสลัดหนึ่งต้น จะมีความหมายกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี มากกว่า การเป็นผักคุณภาพดี ปลอดภัย รับประทานอร่อย เพราะนี่คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปลูกผักที่ทำให้น้องๆ ได้ฝึกการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อลดภาระของครอบครัว “การปลูกผัก อาจจะดูง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นเรื่องที่ยากมาก” นางสาววรรณนภา เปรมปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี บอกเล่า “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะรับดูแลผู้บกพร่องทางสติปัญญา วัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 15-35 ปี ด้วยกระบวนการพยาบาลและโปรแกรมบางพูนโมเดล ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ให้น้องๆ มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว” กิจกรรมปลูกผัก นับเป็น โมเดล ที่ศูนย์นำมาใช้ในการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและส่งต่อน้องๆ กลุ่มนี้เข้าระบบการทำงานตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งจะทำให้พวกเขามีอาชีพและรายได้
ไม่ได้มีไฮไลท์แค่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ มีกำลังการผลิต 45 ตันทะลาย/ชั่วโมงที่กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนงบประมาณกว่า 300 ล้านในการสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับผลผลิตปาล์มจากเกษตรกรที่ได้รับส่งเสริมการปลูกในพื้นที่จ.นราธิวาสและใกล้เคียง สำหรับ”นิคมสหกรณ์บาเจาะ” ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส มีอาณาเขตและพื้นที่ดำเนินการอยู่ในท้องที่บางส่วนของ 9 ตำบล 4 อำเภอ 2 จังหวัด คือ อ.เมือง อ.ยี่งอและอ.บาเจาะ จ.นราธิวาสและอ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี รวมพื้นที่ทั้งหมด 87,419 ไร่ เพื่อว่าปัจจุบันยังมีอีกหลายโครงการที่นิคมสหกรณ์ฯแห่งนี้รับผิดชอบในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่เกษตรกรสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยในพื้นที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในเขตนิคมฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ,โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุบาเจาะ ,โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพื้นที่ นิคมสหกรณ์บาเจาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้น โดยมีสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำน
“พริก” จัดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีปริมาณการบริโภคสูง ทั้งในทางการค้าปลีกในประเทศ ในเชิงอุตสาหกรรม และการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นตลาดส่งออกพริกสำคัญของไทย (ข้อมูลกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกทั้งหมด 167,443 ไร่ มีผลผลิตทั้งสิ้น 283,515 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี หนึ่งในพริกที่ได้รับความนิยมคือ “พริกผลใหญ่” อย่าง “พริกหนุ่มเขียว” ปลูกกันมากในแถบภาคเหนืออย่างเชียงใหม่, น่าน และแพร่ (ข้อมูลการเพาะปลูกประจำปี 2562 จากกรมส่งเสริมการเกษตร) สำหรับจังหวัดแพร่นั้นมีแหล่งปลูกพริกใหญ่ที่สุดอยู่ใน “อ.หนองม่วงไข่” มีพื้นที่ปลูกกว่า 1,800 ไร่ โดยเกษตรกรที่นี่นิยมปลูกพริกกันมามากกว่า 30 ปีแล้ว จนปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเข้าสู่โครงการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานการผลิตสู่ระบบเกษตรปลอดภัย (Good Agriculture Practices: GAP) ลดการใช้สารเคมี ด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ และการจัดการแปลงอย่างเป็นระบบ หนึ่งในกำลังสำคัญของโครงการพริกแปลงใหญ่ อ.หนองม่วงไข่ ที่เราอยากพาไปรู้จักนั้นก็คือ คุณปรียา อุ
เกษตรกร 5 ล้านครัวเรือน คัดค้านการแบน 3 สาร หยุดรัฐปล้นเกษตรกร พร้อมเดินทัพกว่า 1,000 ราย ฟังการตัดสิน 22 ตุลานี้ สมาคมเกษตรปลอดภัย สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนและมังคุดแห่งประเทศไทย สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดชุมพร ชมรมผู้ปลูกมะนาวแห่งประเทศไทย ศูนย์ประสานงานโรงงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง กลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมข้าวโพดหวาน สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ประกาศความร่วมมือ คัดค้านแบน 3 สาร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส วอนรัฐหยุดปล้นเกษตรกร พร้อมเกษตรกรกว่า 1,000 ราย เดินทางไปรับฟังผลการตัดสินวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ที่กระทรวงอุตสาหกรรม นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่า ไทยเป็นประเทศกสิกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องพึ่งพาน้ำฝนเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางปีก็แล้ง บางปีก็ท่วม รวมทั้ง พืชปลูกส่วนใหญ่ก็ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมหรือเรียกว่าเกษตรอุตสาหกรรม สารเคมีเกษตรเป็นปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการทำเ