เกษตรอิสราเอล
บ้านเรานั้นพูดอีกก็ถูกอีกว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม ด้วยว่าเงื่อนไขทั้งหมดทั้งปวงเอื้ออวยเต็มที่ ภูมิประเทศเหมาะเหม็ง ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป มีแผ่นดินติดต่อกันเป็นผืนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีแหล่งน้ำภายในมหาศาล พื้นที่ติดทะเลอีกยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร น่านน้ำกว้างขวางกว่า 300 ตารางกิโลเมตร ปลูกข้าวได้ปีละเกือบ 30 ล้านตัน จับปลาทะเลได้ปีละ 1.5 ล้านต้น จับปลาน้ำจืดได้ปีละ 5 แสนตัน มีข้าวในนามีปลาในหนองของจริง แต่ถ้าพูดว่าอิสราเอล ประเทศที่มีขนาดหนึ่งในสิบของไทย แถมโด่เด่กลางทะเลทราย แถมอีกหน่อยว่ามีการสู้รบกับปาเลสไตน์มาจะร้อยปีเข้าไปแล้ว คือบ้านเมืองร้อนรุ่มมะรุมมะตุ้มปานนี้ ก็เป็นเมืองเกษตรกรรมด้วย อันนี้ก็ยากจะเชื่อ แต่ไม่เชื่อก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นไปแล้ว อิสราเอลเป็นเมืองเกษตรกรรม เมืองเรือกสวนไร่นาจริงๆ ทั้งที่ก็อยู่กลางทะเลทราย และสู้รบกันอึงคะนึงไม่หยุดหย่อน แถมพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรมีแค่ 20% เทียบกับของไทยที่มีมากกว่า 80% คนไทยไปทำงานรับจ้างทำสวนทำนาที่อิสราเอลมาหลายสิบปี เสี่ยงกับระเบิดว่อนข้ามหัว แล้วก็กลับมาเล่าว่าการทำเกษตรกรรมของอิสราเอลก้าวหน้าขนาดไหน เกษตรกรรมแบบน้ำหยดก็เจอก
คุณยุทธนา คามบุตร หรือ คุณเบิร์ด ต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ในการจัดการดูแลสวนผสมผสาน พร้อมกับการวางแผนจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะระบบน้ำที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำเกษตร ส่งผลในแง่ของปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้ตามความต้องการ และได้สวนสวยตามที่ฝันไว้อีกด้วย คุณเบิร์ด เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก ตนเองเคยทำงานประจำในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตรมาก่อน ปัจจุบันลาออกจากงานมาทำสวนเป็นของตนเองได้เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ด้วยเหตุผลที่เหมือนกับหลายๆ คนคือต้องการกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว ประกอบกับการที่ได้ทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการเกษตรทำให้มองเห็นโอกาสหลายๆ อย่าง และที่บ้านก็ประกอบอาชีพเกษตรมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เริ่มต้นที่สมัยรุ่นคุณปู่เป็นผู้บุกเบิกพื้นที่ทำสวนมะม่วง สวนกระท้อน พอมาถึงรุ่นคุณพ่อเปลี่ยนมาปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด จนมาถึงรุ่นตนเองกลับมาสานต่อการปลูกพืชไร่จากคุณพ่อ พร้อมกับการขยายพื้นที่ปลูกไม้ผล ได้แก่ ฝรั่งกิมจู ฝรั่งหงเป่าสือ และพุทราน้ำอ้อย โดยปัจจุบันที่บ้านมีพื้นที่ทำ