เกษียณ
LATEST NEWS
อัญชัน หลายคนมองว่าเป็นวัชพืช แต่จริงๆ แล้วไม่ถือว่าเป็นวัชพืชโดยตรง แต่ก็มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายวัชพืชในบางบริบท เช่น โตเร็ว เลื้อยคลุมพื้นที่ได้ง่าย ถ้าไม่ควบคุม อัญชันอาจขึ้นคลุมต้นไม้อื่นหรือแทรกในแปลงเพาะปลูกได้ แต่ในทางการเกษตรและสมุนไพร อัญชันถือเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก เช่น ใช้ทำสีอาหาร สกัดเป็นสมุนไพร หรือใช้เป็นพืชคลุมดินบำรุงดิน เพราะเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงไนโตรเจน ปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเริ่มมีการปลูกอัญชันสร้างรายได้กันมากขึ้น โดยการปลูกและนำไปตากขายเป็นดอกแห้ง ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยตลาดหลักตอนนี้อยู่ที่ประเทศจีนสำหรับการนำไปทำสมุนไพร ชมพู่-เฌอพัชญ์ นามชารี พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของสวนพรธิดา การ์เด้น – สวนอัญชัน ออร์แกนิค ปากทางบ้านนาเลา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผู้เป็นแรงผลักดันและสนับสนุนให้ครอบครัวสร้างรายได้เสริมจากการปลูกอัญชันส่งขายสร้างรายได้เสริมกว่าเดือนละ 30,000 บาท จุดเริ่มต้นของการปลูกอัญชันสร้างรายได้ คุณชมพู่เล่าให้ฟังว่า เกิดจากที่คุณแม่เห็นเพื่อนบ้านเริ่มปลูกอัญชันกันเยอะ จึงได้มาปรึกษากับตนเองว่าอ
เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ ส.ป.ก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ชมรมผู้สูงอายุ ส.ป.ก.ได้รับเกียรติจาก นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ลำดับที่ 5) เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่อดีตผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก ผู้ที่ล่วงลับ จำนวน 546 ราย พร้อมด้วย นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ อดีตเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ลำดับที่ 12 (ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ส.ป.ก.ปีพ.ศ. 2546 – 2548) ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ลำดับที่ 16 (ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ส.ป.ก.ปีพ.ศ. 2554 – 2558) นายสุทิน มูลพฤกษ์ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนู มีแสงเงินอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประธานชมรมผู้สูงอายุ ส.ป.ก.) พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย อดีตอธิบดีกรมหม่อนไหม (อดีตรองเลขาธิการส.ป.ก.)
ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน ก็มีแต่คำแนะนำให้ “กินผักผลไม้ให้หลากหลาย” แต่รู้ไหมว่าการเลือกกินตาม “สี” ของผักและผลไม้ ก็มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะแต่ละสีนั้นมีสารอาหารเฉพาะตัว ที่ช่วยดูแลร่างกายเราในแบบที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่า ผักผลไม้ 5 สี มีอะไรบ้าง และแต่ละสีดียังไงกันบ้าง ผักผลไม้สีเขียว สารที่ให้ในผักคือ คลอโรฟิลล์ ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย แถมมีไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย ผักผลไม้สีเขียว : กะหล่ำปลีสีเขียว บร็อกโคลี่ คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง อะโวกาโด แตงกวา ผักโขม ถั่วลันเตา แอปเปิ้ลสีเขียว องุ่นเขียว ผักผลไม้สีขาว สารอาหารในผักสีขาว จะเป็นกลุ่มสารฟลาโวนอยด์คือ แซนโทน สารที่มีอยู่ในผักผลไม้กลุ่มนี้เป็นที่น่าสนใจของนักวิจัย เพราะมีประโยชน์หลายด้าน ช่วยชะลอความเสียหายของเซลล์และอวัยวะในร่างกาย และช่วยป้องกันโรคความดันโลหิต รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ ผักผลไม้สีขาว : ขิง ผักกาดขาว หัวไชเท้า ดอกกะหล่ำ เห็ด กระเทียม ลิ้นจี่ ลูกเดือย แห้ว ผักผลไม้สีแดง สารอาหารในผักสีแดง
บอนสี เป็นอีกหนึ่งไม้ประดับใบที่ผ่านยุคผ่านสมัย ในวงการไม้ดอกไม้ประดับในบ้านเรามาหลายทศวรรษทีเดียว จะเห็นได้จากในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีเกษตรกรหน้าใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดในระยะแรกนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้กระแสของบอนสีเป็นที่รู้จักของมือสมัครเล่นด้วยเช่นกัน สาเหตุที่บอนสียังเป็นที่นิยมและไม่ตกกระแสและยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้นั้น เกิดจากเกษตรกรมีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่เสมอ จึงทำให้ในวงการมีลูกไม้ใหม่ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อตลอดเวลา คุณประเสริฐ เข้มแข็ง เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้เข้ามาในวงการบอนสี โดยช่วงที่นำไม้เข้ามาปลูกนั้นเพียงเพราะความชื่นชอบเท่านั้น จากนั้นเรียนรู้การพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดความชำนาญ จึงทำให้ภายในสวนมีลูกไม้ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชนิดที่ว่ามีผู้สนใจและอยากจะได้ไม้จากภายในสวนของเขา จนไม่คาดคิดว่าสิ่งที่ทำด้วยความชอบจะสามารถเป็นงานที่สร้างรายได้ และสวนของเขาเป็นที่รู้จักของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ จุดเริ่มต้นปลูกบอนสี เพราะความชื่นชอบ คุณประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า เดิมทีมีอาชีพค้าขายเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวสร้างรายได้หลัก ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะปลูกบอนสีไปด้