เกาะช้าง
“ทุเรียนชะนีเกาะช้าง” จังหวัดตราด เป็นของดีอีกอย่าง ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งที่มีมานานกว่า 40-50 ปีแล้ว และวันนี้องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ได้นำขึ้นมาแต่งตัวใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างน่าสนใจ ด้วยคุณสมบัติพิเศษผลการทดสอบทางวิชาการจาก บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ามีวิตามินอี 9.45 mg/100 g (มิลลิกรัม/100 กรัม) และธาตุไอโอดีน 54.27 ug/100g (ไมโครกรัม/100 กรัม) ซึ่งวิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสารไอโอดีนเป็นสารที่มีประโยชน์กับร่างกาย หากอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่น่าเสียดายที่ทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้างที่ผ่านมา ขายได้ราคาต่ำ เพราะต้องขายแบบเหมาสวน เช่นเดียวกับทุเรียนทั่วไป และวันนี้ได้ลดปริมาณลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองหรือพืชผลชนิดอื่นที่ราคาดีกว่า เช่น ยางพารา หรือบางรายขายสวนให้นักลงทุนด้านธุรกิจท่องเที่ยวไปเลย ประวัติศาสตร์ทุเรียนชะนีเกาะช้าง อายุ 40-50 ปี คุณประกฤต ครุพานิช เกษตรกรชาวสวนทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้าง อยู่บ้านเลขที่ 45/2 หมู่ 2 บ้านด่านใหม่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด เล่าถึง
เกาะช้าง จังหวัดตราด ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก ด้วยความสวยงามของหาดทรายของเกาะช้างและเกาะต่างๆ อาหารทะเลสดๆ อาหารพื้นบ้านหรือท้องถิ่นซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมีเสน่ห์สำหรับผู้มาเยือน คุณพัชรินทร์ ผลกาจ ประธานชมรมนำเที่ยวบ้านสลักคอก เปิดเผยเคล็ดลับรส “ปลายำ…ที่บ้านสลักคอก” แบบท้าให้ลองไปทำรับประทานกันเอง เพราะที่เกาะช้างทำเป็นกันทุกบ้านและเป็นเมนูโลว์คาร์บอนของชุมชนรองรับผู้มาเยือน ขั้นตอนการเตรียมเครื่องปรุง ส่วนที่ 1 ปลายำ และส่วนที่ 2 น้ำจิ้ม การเตรียมปลายำ 1.เนื้อปลาสดๆ แล่แล้ว ครึ่งกิโลกรัม ควรเป็นปลาโคก ปลากะปี๊ ปลาใบไผ่ เพราะเนื้อมัน แข็ง และหอม 2.เครื่องปรุงสมุนไพร หัวปลี 1 หัว ลอกเฉพาะกาบขาวๆ ไม่ฝาด 3.ตะไคร้ 2-3 ต้น หอมแดง 4-5 หัว 4.ผักชีฝรั่ง 4-5 ใบ 5.น้ำส้ม น้ำปลา (สำหรับแช่-เคล้าหัวปลี) การทำน้ำจิ้ม 1.พริกขี้หนูสด 2.กระเทียม 3.ถั่วลิสงคั่ว หรือ ถั่วตัด วิธีทำ การยำปลา ล้างปลาให้สะอาด แล่เนื้อปลาสดๆ ออกเป็น 2 ชิ้น ไม่ให้ติดก้าง และหั่นเป็นชิ้นหนาเล็กน้อย เสร็จแล้วนำไปเคล้ากับน้ำส้มสายชู ทำให้เนื้อปลาแข็ง ใส่น้ำปลา เกลือป่นเล็กน้อย ทิ้
โลกที่น่ารักน่าอยู่ใบนี้มีของขวัญที่มอบให้กับมวลมนุษย์ 2 อย่าง อย่างแรกคือเวลา แถมอีกอย่างคือความยุติธรรมกับทุกคน มีและได้เท่ากันหมด ไม่มีใครได้พิเศษกว่า ถือเป็นสุดยอดแห่งของขวัญอย่างที่สุดของที่สุดสำหรับทุกชีวิต จะต่างกันแค่ชีวิตของแต่ละคนเท่านั้น ตัวเราต้องมีความพร้อม นำมาใช้ตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ให้สามารถเป็นเวลาที่อัศจรรย์แห่งชีวิตให้ได้มากที่สุด คนที่สามารถใช้หนึ่งชีวิตที่มีอยู่ได้อย่างมีความสุขแก่ชีวิตชนิดสมบูรณ์แบบ ไม่ใช่คนที่ฉลาดหรือแข็งแรงที่สุด แต่ต้องเป็นคนที่สามารถตอบสนองพร้อมต้อนรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดต่างหาก ก่อนอื่นขอกราบ สวัสดี และขอบพระคุณแฟนๆ อย่างมากมายจริงๆ จากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียน ที่ได้ให้แรงใจตลอดมา จากการส่งเสียงไปหาที่โทร. 081-846-0652 หรือในเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อ สมยศ ศรีสุโร หรือ ID Line. Janyos และบอกกันไปเยอะว่า ชอบทุกเรื่องราวที่นำมาเสนอ อ่านง่าย ไม่ปวดหัว ไม่เครียด สนุกเพลินดี ขอขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ ปักษ์นี้มีความภูมิใจนำเสนออย่างมากจริงๆ สำหรับต้องการให้แฟนๆ ได้รู้จักกับเกาะแห่งหนึ่งที่มีชื่อเหมือนกับเกาะที่จังห
“จังหวัดตราด” เดือนมีนาคม-เมษายน 2563 ท่ามกลางเชื้อไวรัส โควิด-19 แพร่ระบาดเกือบทั่วประเทศและในต่างประเทศ ตราดเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกไม่พบผู้ติดเชื้อ ระยะเวลากว่า 2 เดือน รัฐบาลมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ส่งผลต่อรายได้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดตราดลดลง จากข้อมูล กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กทท.) ปี 2562 มีนักท่องเที่ยว 2,171,210 คน ทำรายได้ จำนวน 19,989 ล้านบาท เกาะช้าง เป็นแหล่งรายได้หลักปีละกว่า 10,000 ล้านบาท หรือกว่า 55% ของรายได้ทั้งหมด โดยมีโรงแรมที่พักขึ้นทะเบียนเกือบ 300 แห่ง ช่วงไฮซีซั่นทุกๆ ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน พีคสุดคือ ปลายธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ที่ที่พักทั้งหมดเต็มเกือบ 100% ทว่า ปี 2563 ด้วยวิกฤต โควิด-19 ที่เริ่มระบาด เกาะช้างได้รับผลกระทบชัดเจนตั้งแต่ปลายๆ เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจีนที่เคยเข้ามาเที่ยวนานเป็นเดือนเหลือเพียงสัปดาห์เดียว และหายไปไม่น้อยกว่า 70% เทียบกับ ปี 2562 ปกติ เมื่อข่าว โควิด-19 กระหน่ำอย่างต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวชาวยุโรป สแกนดิเนเวีย ที่จองที่พัก โรงแรมข้ามปีไว้หรือกลุ่ม
หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำทัพ ครม.ชุดใหญ่ ลงพื้นที่จันทบุรีและตราด เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีภารกิจหนึ่งตรวจเยี่ยมพื้นที่เกาะช้าง ในการรับข้อเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพพื้นที่หมู่เกาะช้าง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงอย่างยั่งยืนนั้น ล่าสุดได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโครงการเร่งด่วน คือ โครงการพัฒนาถนนเชื่อมรอบเกาะ และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว รวมถึงปัญหาที่อุทยานฯทับซ้อนที่ทำกินของชาวบ้าน ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เสนอเส้นทางแนวสีน้ำเงิน ระยะทาง 10.4 กิโลเมตร ระดับดิน 6 กิโลเมตร ยกระดับ 4.4 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่บ้านคลองกลอย ผ่านบ้านหวายแฉก และบ้านสลักเพชร ซึ่งเป็นเส้นทางที่หลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้น 1A ทั้งนี้ให้กรมทางหลวงชนบทสำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนดำเนินโครงการ ถนนเชื่อมเกาะช้าง 2.5 พัน ล. “จักรกฤษณ์ สลักเพชร” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ จ.ตราด กล่าวว่า ถนนบนเกาะช้างมีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร แต่ยังเหล