เขียด
ด้วยสภาพทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า มีความชุ่มชื้น ตลอดจนเกิดลำธารน้ำจากภูเขาน้อยใหญ่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเอื้อต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ป่าทางธรรมชาติหลายชนิด รวมถึงเขียดแลวหรือกบภูเขาด้วย ทั้งนี้ เขียดแลว มักพบได้มากในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ส่วนบริเวณชายแดนไทย-พม่า มักพบมากในบริเวณป่าชุ่มชื้นที่มีลำธารน้ำไหล อย่างอำเภอแม่สะเรียง อำเภอปาย ขุนยวม สบเมย ในอดีตประชากรเขียดแลวมีจำนวนมากจัดเป็นอีกเมนูที่ชาวแม่ฮ่องสอนนำมาบริโภคเหมือนอาหารพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายตามร้านอาหารหลายแห่งกระทั่งจำนวนลดลงในสภาวะอันตรายถึงขั้นอาจสูญพันธุ์ จนต้องมีการรณรงค์เพื่อหยุดจับเขียดแลวบริโภคกันเลย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่าจะขาดแคลนอาหาร จึงได้มีพระราชเสาวนีย์แก่กรมประมงให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรด้วยการเพิ่มประชากรเขียดแลวเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติและเป็นอาหารของประชาชนในโครงการธนาคารอาหารชุมชน (FOOD BANK) ตามพระราชดำริ ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองพระรา
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ที่บ้านโพธิ์ทอง ต.หนองบัว อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ หนองน้ำใกล้กับหมู่บ้านในช่วงนี้ได้แห้งขอดลง เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง น้ำที่เคยกักขังไว้เต็มสระมีสภาพเหลืองและลดลงแห้งขอด ดินเหนียวในบริเวณสระน้ำก็แตกตัวเป็นก้อนแตกระแหง เป็นที่หลบซ่อนพักร้อนของกบและเขียดอีโม่ เขียดตัวใหญ่หน่อย ชาวบ้านเรียกเขียดอีโม่ เข้าไปหลบร้อนในซอกดินที่แยกเป็นร่อง ระหว่างก้อนดินแต่ละก้อน วิถีชีวิตแบบชาวบ้านชนบทก็จะทราบว่าจะมีเขียดอีโม่มาหลบซ่อนตัวอยู่ในรอยแตกของดิน เพราะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พอช่วงกลางวัน เขียดอีโม่ก็จะเข้ามาหลบร้อนในรอยแยกของดิน ชาวบ้านจึงออกหาขุดกบและเขียดอีโม่ด้วยการใช้เสียมงัดก้อนดินที่แตกเป็นก้อน จับเขียดอีโม่ ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง สามารถขุดหาและจับเขียดอีโม่ได้คนละ 10-50 ตัว ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการนำมาประกอบอาหาร ประเภทแกงเขียดใส่ใบชะพลู หรือย่างเขียด ตำน้ำพริกเขียดสด จิ้มพัก คุณแม่สอน แก้วศรี อายุ 54 ปี ชาวบ้านโพธิ์ทอง พร้อมกับเพื่อนบ้านเกือบ 10 คน อายุคงจะราวๆ 50 ปีขึ้นไปทุกคน หลังจากที่รับประทานอาหารเช้าแล้วก็ชวนกันออกหาขุดกบ ขุดเขียด ด้วยการใช้เสียมเป็นเครื่องมือสำคัญในก