เข้าพรรษา
อาสาฬหบูชา วันพระศาสดาทรงแสดงพระธรรม จักกัปปวัตตนสุนำ โปรดปัญจวัคคีย์ ที่มฤคทายวัน พระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านได้บรรลุ ซึ่งพระโสดาบัน เป็นพระสงฆ์องค์แรกอัน ที่พระพุทธะ ประกาศพระศาสนา รุ่งขึ้นวันแรมค่ำหนึ่ง วันนี้แล้วถึง เข้าปุริมพรรษา สมเด็จพระศาสดา ให้อยู่จำพรรษา เป็นเวลาชั่วคราว อุ่นธรรมคร่ำไป จัดเจ็บจักไม่เหยียบไร่นาข้าว ชายหญิงไม่นิ่งอยู่เหย้า ต่างเข้าวัดนั่งฟัง พระเทศนา พุทธศาสนิกชน ชาวไทย เราเทิดทูนไว้ ซึ่งพระศาสนา เข้าวัดเราจะพัฒนา ให้พระศาสนาของเรารุ่งเรือง บทเพลงจากสื่อออนไลน์ ไม่ปรากฏที่มาของผู้โพสต์ไว้ แต่รู้ได้ว่า เป็นเวลามากกว่า 3 ปีมาแล้ว กล่าวถึงทั้งวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พุทธประเพณีของชาวพุทธ ที่จะได้รำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 8 และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีใด อาจจะมีเดือนแปด 2 หน ก็โดยทั่วไปจะเป็นกลางปีช่วงเดือนกรกฎาคม ก็จะมีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ประเพณีที่ทรงคุณค่าของชาวพุทธ ที่จะได้ธำรงธรรมเนียมปฏิบัติบูชา ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นสิริมงคลชีวิตและครอบครัว นอกเหนือจากการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร สังฆทา
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวอำเภอพระพุทธบาท จะนำดอกไม้ชนิดหนึ่งใช้ตักบาตร กระทั่งเกิดเป็นประเพณีท้องถิ่น ดอกไม้ที่นำมาใช้ตักบาตรในประเพณีนี้ จึงเรียกขานกันว่า “ดอกเข้าพรรษา” หรือ “ดอกหงส์เหิน” เพราะลักษณะของดอกและเกสรประดุจดังตัวหงส์ ที่กำลังเหินบินด้วยท่วงท่าลีลาอันสง่างามนั่นเอง “หงส์เหิน” (Globba winiti) เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ดอกเมืองร้อนเกิดในป่าร้อนชื้น พบในประเทศไทย, พม่า และเวียดนาม ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือตามชายป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก), กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน), กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่), ก้ามปู (พิษณุโลก), ขมิ้นผีหรือกระทือลิง (ภาคกลาง), ว่านดอกเหลือง (เลย), ดอกเข้าพรรษา (สระบุรี) เป็นต้น “ต้นหงส์เหิน” หรือ “ต้นเข้าพรรษา” เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวประเภทเหง้าแบบมีรากสะสมอาหาร คล้ายรากกระชาย ส่วนของลำต้นเหนือดิน คือ กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน เกิดเป็นกลุ่มกอ สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถว ส่วนดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม ช่อดอกมีลักษณะอ่อ