เครื่องกะเทาะเมล็ดแมคคาเดเมีย
“มะคาเดเมีย” หรือ “แมคคาเดเมีย” อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิดรวมถึงไขมันไม่อิ่มตัวและสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบ ลดปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) ต่างๆ ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (IDL) ต้านเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประกอบกับเมล็ดแมคคาเดเมียมีรสชาติมัน หอม จึงเป็นที่นิยมบริโภคและตลาดมีความต้องการสูง สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ปลูกแมคคาเดเมีย 4 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์เชียงใหม่ 344, พันธุ์เชียงใหม่ 508, พันธุ์เชียงใหม่ 660, พันธุ์เชียงใหม่ 741 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะให้ผลผลิตที่สูง และต้านทานโรคได้ดี สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ ได้ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียและการแปรรูปเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่การแปรรูปแมคคาเดเมียนั้นจะต้องใช้เครื่องจักรที่มีราคาสูง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตแมคคาเดเมียส่วนใหญ่ไม่สามารถลงทุนได้ จึงนิยมขายผลผลิตแมคคาเดเมียดิบให้กับโรงงานทั้งหมด ที่ผ่านมา มีเกษตรกรพยายามแปรรูปผลแมคคาเดเมียเอง โดยใช้ใบมีดกะเทาะ
นักวิจัย คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตเครื่องกะเทาะเมล็ดแมคคาเดเมีย ช่วยสร้างศักยภาพผลผลิตและรายได้ แก่เกษตรกรในพื้นที่สูง โดยการสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การพัฒนาการกะเทาะผลกะลาแมคคาเดเมียในปัจจุบัน นิยมใช้แบบใบมีดกะแทก โดยใช้แรงงานคนที่มีความชำนาญและใช้เวลานาน สามารถกะเทาะได้ครั้งละ 1 ผล เท่านั้น โดยแมคคาเดเมีย 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ในการกะเทาะ จึงอาจส่งผลให้การผลิตล่าช้าหรือผลผลิตเสียหาย รองศาสตราจารย์ ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย หัวหน้าโครงการวิจัยจาก ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ได้คิดค้นเครื่องกะเทาะเมล็ดแมคคาเดเมีย จากโครงการพัฒนามาตรฐานการผลิตแมคคาเดเมียอบแห้งสำหรับชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการดำเนินการพัฒนาเครื่องกะเทาะแมคคาเดเมีย ที่สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ ของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเขตพื้นที่ บ้านทับเบิก อำเภอหล่มเก่า และ บ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ โดยร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อาทิตย์ เวนติเลเตอร์ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการการแ