เครื่องผสมปุ๋ย
นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ได้ลงพื้นที่แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเยี่ยมชมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีการปลูกหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อให้มีรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้งมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็จัดว่าเป็นหนึ่งในพืชที่ใช้น้ำน้อยที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากเป็นพืชที่มีความเสี่ยงน้อย มีระยะการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 120 วัน และเหมาะแก่การปลูกในฤดูแล้ง ที่ผ่านมาเกษตรอำเภอกบินทร์บุรี และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูก การบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การผสมปุ๋ยใช้เอง การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ การแนะนำชนิดของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำเพื่อให้ได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สมบูรณ์ และมีคุณภาพ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการกลุ่ม และการเชื่อมโยงตลาด ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษต
จากโครงการปุ๋ยสั่งตัดของรัฐบาล พบว่า หากผลิตปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลที่ได้ ดังนี้ ถูกสูตร คือ ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตรตามที่ได้ผลจากการวิเคราะห์ดินของพืชในแต่ละช่วง ถูกอัตรา คือ ใส่ปุ๋ยถูกอัตรา ให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของพืช และต้องผสมปุ๋ยอย่างแม่นยำ ถูกเวลา คือ ใส่ปุ๋ยถูกเวลา เพื่อให้รับธาตุอาหารในเวลาที่ตรงกับความต้องการของพืช ถูกวิธี คือ ใส่ปุ๋ยถูกวิธี เพื่อให้ถูกตำแหน่งที่พืชสามารถดูดนำธาตุอาหารไปใช้ได้ ที่ต้องเอ่ยเช่นนี้ เพราะทราบมาว่า มีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ผลิตเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ โดยใช้ชื่อว่า “TP ONE” และเท่าที่ทราบนวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัตินี้ มีระบบคอนโทรล เก็บข้อมูล ตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบ on line และระบบแอปพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งพัฒนาจากฝีมือคนไทย และมีการยื่นจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว การให้ข้อมูลบางประการ อาจจะดูเหมือนเป็นการสนับสนุนบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต จะเข้าใจได้ว่า เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติเหมาะสำหรับการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กขึ้นไป ซึ่งอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีทั้งเอกชนและหน่วยงานราชการ หรือการรวมกลุ่มข
“เครื่องผสมปุ๋ยชีวภาพ” ผลงานนวัตกรรมจากโครงการ “Learning Express” โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี (RMUTT) และ Singapore Polytechnic (SP) ประเทศสิงคโปร์ อีกหนึ่งโครงการของกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและคณาจารย์ด้วยการสร้างประโยชน์ให้กับคนในชุมชนด้วยความถนัดตามสาขาวิชาเอกของตนเอง รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดี เปิดเผยว่า โครงการ Learning Express : RMUTT-SP ดำเนินการมาแล้ว 5 รุ่น เป็นโครงการที่ร่วมพัฒนากระบวนการคิด สร้างประสบการณ์การเรียนรู้โดยตรงผ่านการลงมือทำให้กับนักศึกษาไทยและนักศึกษาสิงคโปร์อย่างเต็มที่ ดำเนินกิจกรรมเป็นทีมสหวิชาการ (Multi-disciplinary) ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Social Innovation) ผ่านกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นทักษะในการคิดเพื่อฝึกให้นักศึกษาช่วยแก้ปัญหาในชุมชนต่างๆ ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์ของผู้อยู่ใน