เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
6 เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศปี 2566 จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เตรียมเข้ารับรางวัล หลังกรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศผลการประกวด โดยรางวัลชนะเลิศเป็น ศพก. จากจังหวัดนครราชสีมา โดดเด่นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ จนมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปสนใจเข้าเรียนรู้จำนวนมาก พร้อมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรระดับประเทศ ได้ประกาศผลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 โดยคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นตัวอย่างในการขยายผลส่งเสริมการเกษตร การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร โดยผลการประกวดมีดังนี้ 1.รางวัลชนะเลิศ ได้แก่นายอรุณ ขันโคกสูง เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2.รางวัลรองชนะเลิศอัน 1 ได้แก่นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 3.รางวัลร
เกษตรกรผู้มีความสำเร็จ คุณประคอง คงมูล และ คุณคำพันธ์ คงมูล บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 7 บ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร. (085) 448-2360 พื้นที่ 1 ไร่ แปลงต้นแบบ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกาฬสินธุ์ (โครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี ปี 2557) ประจำตำบลโพนทอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พื้นที่ 1 ไร่ แบ่งออกเป็นสัดส่วน โรงเรือนสุกร จำนวน 19 ตัว ได้โรงงานปุ๋ยชั้นดี น้ำล้างคอกหมู ปล่อยลงแปลงนา ข้าวสวยงามมาก ปล่อยลงบ่อเก็บน้ำทิ้ง ตักมาผสมน้ำ 1:1 รดพืชผัก ผลไม้ เขียวขึ้นภายใน 1-2 วัน เป็นรายได้รายปี ไก่พื้นเมือง 100 ตัว จับขายรายสัปดาห์ ไก่ไข่ 10 ตัว ได้ไข่รับประทานในครัวเรือน ทุกวัน เหลือขาย บ่อปลา 1 บ่อ มะนาว 7 ต้น กล้วย 10 กอ มะพร้าว 6 ต้น ตะไคร้ 5 กอ ข่า 10 กอ มะกรูด 2 ต้น พริก มะเขือ สระแหน่ ยี่หร่า พืชสวนครัวครบ เป็นพืชผักเกษตรอินทรีย์ล้วน เราอยู่อย่าง “ได้แสนสุข” คิดเป็นมูลค่าไม่ได้ แต่คุณค่าสูงยิ่ง ตลอดทั้งปี มีเงินแสน คุณประคอง กล่าวว่า ตนเองปฏิบัติจากการศึกษา ค้นคว้า มี คุณพงษ์ศักดิ์ ชินคีรี หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬ
ชีวภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นเทคโนโลยีที่นำจุลินทรีย์ แมลงศัตรูธรรมชาติ และสารสกัดจากพืช มาใช้ในการป้องกันกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืช ปัจจุบันมีผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมามากมาย และที่นิยมใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสซับทีสิส DOA 24 บาซิลลัส ซับทีสิส 20 W16 เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เป็นต้น ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เช่น เชื้อราเมตาไรเซียม เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อไวรัส NPV สัตว์/แมลง/ศัตรูธรรมชาติ เช่น ไส้เดือนฝอย มวนพิฆาต แมลงหางหนีบ แตนเบียนต่างๆ สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา สาบเสือ ชีวภัณฑ์กำจัดหนู เช่น โปรโตซัว เป็นต้น ชีวภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากทั้งในด้านของการนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ปัจจุบันพบปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และในสิ่งแวดล้อม ความนิยมใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรในปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ยังอยู่ในวงจำกัด ไม่แพร่หลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เกษตรกรยังมีความรู้ความเข้าใจน้อย จึงยังไม่มีการนำมาใช้
โรครากเน่าโคนเน่า เป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือสภาพอากาศชื้น เนื่องจากเมื่อต้นทุเรียนเป็นโรคนี้แล้ว หากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมถึงขั้นตายในที่สุด นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนมีการระบาดมากที่สุดในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลักษณะการระบาดไม่เต็มพื้นที่ เป็นเฉพาะบางต้นและมีโอกาสที่จะลุกลามไปยังต้นอื่นๆ ได้ภายในแปลง ถ้ามีการจัดการไม่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำฝนมาก ฝนตกต่อเนื่อง ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรจะต้องมีการจัดการที่ดี เพราะต้นทุเรียนที่ได้รับเชื้อจะอ่อนแอและจะตายในที่สุด หากพบต้นหรือกิ่งที่เป็นโรคต้องเผาทำลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังพื้นที่อื่น ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า แต่พบว่าการใช้สารเคมีไม่สามารถแก้ปัญหาโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผลผลิต มีสารตกค้าง รวมถึงความไม่ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้