เชื้อเพลิงฟอสซิล
“ค่าไฟศูนย์บาทตั้งแต่ติดแผงโซลาร์เซลล์” เสียงสะท้อนความสำเร็จของ “โครงการพลังงานชุมชน” ระยะที่ 3 (ปี 2563-2565) จาก นางพล ฤทธิ์ล้ำ หญิงแกร่งแห่งไร่เจริญผล หลังจากเข้าร่วมโครงการพลังงานชุมชนของ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี นับเป็นการบรรลุหมุดหมายสำคัญของโครงการที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการคิดค้นแนวทางการลดใช้พลังงานและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ที่โลกกำลังต้องการความร่วมมือจากทุกคนช่วยกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดโลกร้อนอย่างจริงจัง นางพล ฤทธิ์ล้ำ หนึ่งในแกนนำของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนไร่เจริญผล ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพลังงานชุมชน ปรารถนาให้ไร่แห่งนี้เป็นต้นแบบในการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตไฟ
“พลังงาน” นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ ยิ่งโลกพัฒนามากขึ้นเท่าไร ปริมาณความต้องการใช้พลังงานก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น พลังงานหลัก เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ที่ได้จากฟอสซิล มีแนวโน้มลดลงและมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ รวมทั้งสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพราะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล เป็นที่มาของปัญหาภาวะเรือนกระจก และวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบัน ทุกวันนี้ หลายประเทศทั่วโลกหันมาสนใจใช้ “พลังงานทดแทน” ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีเวลาหมด (Renewal Energy) และมีต้นทุนต่ำ ประหยัดทรัพยากรแรงงานและค่าใช้จ่าย ช่วยแก้ปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างดี วช. หนุนสร้างงานวิจัยสีเขียว ผลิตพลังงานทดแทนลดโลกร้อน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองประธานคณะกรรมการกำกับโครงการวิจัยท้าทาย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้า
“การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด” เป็นหนึ่งในอาชีพเกษตรกรรมทำเงิน ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีการเพาะพันธุ์ในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก และปลาหมอเทศ ฯลฯ ทั้งนี้กระแสความนิยมส่วนใหญ่เน้นการเลี้ยงปลาในบ่อดินมากกว่า เนื่องจากสามารถจัดการบ่อได้ง่าย และสามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ตลอดทั้งปี แต่การเลี้ยงปลาในบ่อดิน น้ำนิ่ง ต้องใช้กังหันตีน้ำเพื่อเติมออกซิเจนตลอดเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมักเกิดปัญหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยกว่าความต้องการของปลา ทำให้ปลาตายหรือปลาน็อกน้ำ จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เกษตรกรพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าในการเลี้ยงปลาเป็นหลัก ทำให้แบกภาระต้นทุนที่สูงและเกิดความเสี่ยงเมื่อเกิดภาวะไฟฟ้าดับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนงบวิจัยให้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การนำของ ผศ.ดร. สราวุธ พลวงษ์ศรี หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ดร. สุลักษณา มงคล ดร. ชวโรจน์ ใจสิน ผศ.ดร. อัครินทร์ อินทนิเวศน์ ผศ.ดร. ธงชัย มณีชูเกตุ ดร. รจพรรณ นิรัญศ