เต่าทะเล
เมื่อเร็วๆ นี้ (6 กรกฎาคม 2567) ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี คณะผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. และ นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนพนักงานในสังกัด ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความดีด้วยหัวใจ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล และมอบหุ่นยางพารา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยได้ร่วมกันทำความสะอาดบ่อเต่าทะเล และปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้มอบหุ่นยางพาราฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ให้กับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล โดยมี ว่าที่ นาวาเอก กฤษดา สุทธิสาคร รองเสนาธิการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้เกียรติรับมอบหุ่นยางพาราฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการฝึกปฏิบัติปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปกับการส่งเสริมและผลักดันการใช้นวัตกรรมจากยางพารา
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลสิ่งแวดล้อม กรรมการยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat หลังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบซากเต่าทะเลเกยตื้นบริเวณโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริ ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา ตรวจสอบพบเป็นเต่าตนุเพศเมีย โตเต็มวัย ความกว้างกระดอง 76 ซม. ความยาวกระดอง 94 ซม. น้ำหนักประมาณ 70 กก. นายธรณ์ระบุว่า “ผลการผ่าพิสูจน์พบขยะทะเลประเภทถุงพลาสติกและเศษเชือกในระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้ระบบทางเดินอาหารอุดตัน เป็นสาเหตุการตาย เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างขยะทะเลเพื่อวิเคราะห์ประเภทของขยะ พบว่า 1. ประเทศไทยทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลติดอันดับ 5-6 ของโลก 2. แต่ละปีมีเต่าทะเลตายในไทยเฉลี่ย 100 ตัว ขยะทะเลเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก 3. เต่าทะเลอาจติดขยะ เช่น เศษอวน เชือก ฯลฯ ทำให้บาดเจ็บหรือตาย หรือเต่าอาจกินถุงเข้าไป เช่น แม่เต่าตัวนี้ 4. เต่ากินถุงเพราะเต่าเข้าใจผิด คิดว่าถุงพลาสติกเป็นแมงกะพรุนที่เป็นอาหารตามธรรมชาติ 5. คนไทยใช้ถุงพลาสติกเ
นส.สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเต่าทะเล แม้ว่าจะพบการแพร่กระจายของเต่าทะเลในประเทศไทยจำนวน 5 ชนิด แต่พบการวางไข่ของเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า ซึ่งพบวางไข่เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ของฝั่งตะวันตกของประเทศไทย สำหรับเต่าตนุ และเต่ากระ มักพบวางไข่บนชายหาดของเกาะต่าง ๆ ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญมีเหลือเพียง 10 แห่ง โดยมีแหล่งวางไข่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณหมู่เกาะคราม รองลงมาเป็นหมู่เกาะสิมิลัน เต่าทะเลวางไข่ทุก ๆ 1-3 ปี ในแต่ละฤดูกาลเต่าทะเลสามารถขึ้นวางไข่มากถึง 10 ครั้ง ทุก ๆ 12 วัน โดยวางไข่เฉลี่ย 100 ฟองต่อครั้ง สถิติการวางไข่ในปี พ.ศ. 2559 พบรวม 329 ครั้ง จำนวนพ่อแม่เต่าทะเลโดยประมาณ 354 ตัว เป็นเต่าตนุ 187 ตัว เต่ากระ 158 ตัว เต่าหญ้า 3 ตัว และเต่ามะเฟือง 8 ตัว ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมฯ ดำเนินการร่วมกับกองทัพเรือ โดยทำการร