เทคนิค
หลายๆ คน อาจจะประสบปัญหาปลวกที่แอบซ่อนอยู่ในบ้าน เฉพาะบ้านที่มีโครงสร้างไม้ หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีไม้เป็นวัสดุหลักย่อมมีความเสี่ยงจากปลวกด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากปลวกตอบสนองได้ดีต่อความชื้น และขยายอาณาจักรด้วยการเลือกสถานที่ที่อบอุ่น ไม่ว่าจะเป็นความอบอุ่นจากแสงไฟหรือแสงอาทิตย์ และปลวกยังเป็นแมลงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องหาวิธีกำจัดปลวกให้หมดไปจากบ้านทำด้วยตัวเองได้ง่ายๆ แต่ถ้าไม่อยากใช้สารเคมี วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีเคล็ดลับกำจัดปลวกแบบไม่ใช้สารเคมี อุปกรณ์หาได้ง่ายๆ และทำตามกันได้ ไปดูว่ามีวิธีไหนกันบ้าง ใบขี้เหล็ก ต้องบอกเลยว่าประสิทธิภาพการกำจัดปลวกของใบขี้เหล็กนั้นดีเยี่ยม เป็นวิธีกำจัดปลวกด้วยธรรมชาติ ที่สามารถกำจัดปลวกได้เป็นอย่างดี วิธีทำ : นำใบขี้เหล็กประมาณ 5 กรัม มาบดหรือปั่นเพื่อให้มีความละเอียด จากนั้นจึงผสมน้ำลงไป 20 ลิตร ก่อนจะบรรจุใส่ขวดสเปรย์เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยฉีดในจุดที่ปลวกขึ้น และฉีดซ้ำๆ ประมาณ 3-5 วัน ปลวกที่คอยรังควานบ้านก็จะค่อยๆ ลดหายไป น้ำส้มสายชู น้ำส้มสายชูเป็นวัตถุดิบสารพัดประโยชน์ เป็นของใช้ในบ้านที่มีประโยชน์มากจริงๆ นอกจากใช้ทำอาหาร
วิธีขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมสนใจอยากจะปลูกสตรอเบอรี่ แต่บางช่วงหาซื้อพันธุ์ปลูกได้ยาก และมีราคาแพง ผมจึงรบกวนขอเรียนถามว่า วิธีการขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีนั้นทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ ผมถือโอกาสขอบคุณมาเป็นการล่วงหน้า ขอแสดงความนับถือ ณรงค์ศักดิ์ วงศ์ภักดีกุล เพชรบูรณ์ ตอบ คุณณรงค์ศักดิ์ วงศ์ภักดีกุล วิธีขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน คือวิธีการแยกไหล ไหล เป็นส่วนใช้ขยายพันธุ์ เช่นเดียวกับไหลบัว ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่จะสร้างไหลเป็นสาย แพร่กระจายออกจากต้นแม่ เฉลี่ยใน 1 ต้น หรือ 1 กอ จะให้ไหล 15-20 สาย แต่ละสายแตกต้นอ่อนได้ ประมาณ 10 ต้น แหล่งผลิตไหล ควรเลือกพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 เมตร ขึ้นไป เริ่มปลูกต้นแม่ในเดือนพฤษภาคม ปลูกเป็นแถวเดี่ยว ด้วยการยกร่องเล็กๆ สูงขึ้นจากพื้น 15 เซนติเมตร ห่างระหว่างแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 80 เซนติเมตร คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งไม่มีโรคระบาด เลี้ยงต้นแม่ให้แตกกอ 4-5 ต้น ย่างเข้าเดือนกรกฎาคม จึงปล่อยให้ต้นแม่แทงไหลออกได้เป็นปกติ ต่อมาอีกไม่นานจะเกิดตุ่มแล้ว
“ขั้นตอนของการเลี้ยงกุ้งที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมบ่อ และคุณภาพน้ำ ดังนั้น บ่อพักน้ำจึงจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกุ้งมาก เพื่อให้น้ำมีคุณภาพ นอกจากนี้ คุณภาพของลูกกุ้งที่นำมาก็สำคัญ ต้องเลือกลูกกุ้งจากแหล่งที่ได้ผ่านการรับรองการตรวจคุณภาพและโรคของกุ้ง” ข้อมูลข้างต้น คุณวศิน ธนภิรมณ์ วัย 68 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจากการนั่งคุยยาวนานค่อนชั่วโมง ประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งของคุณวศินไม่เป็นรองใคร แม้กระทั่งเพื่อนบ้านรอบข้างหรือคนในอำเภอหนอกจิกที่เคยเลี้ยงกุ้งมาด้วยกัน ล้มเลิก เปลี่ยนอาชีพจากเลี้ยงกุ้งไปทำการประมงชนิดอื่นกันเกือบหมด เพราะประสบภาวะขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้ง สำหรับคุณวศินเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น ประสบการณ์ที่คุณวศินได้รับ ช่วยกระตุ้นสร้างแนวคิดการเลี้ยงกุ้งอย่างถูกวิธี มีเทคนิคการสร้างธรรมชาติการเลี้ยงกุ้งให้เกิดความสมดุล ทำให้บ่อกุ้งที่เลี้ยงมา 30 ปี ยังคงเป็นบ่อกุ้งมาโดยตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเป็นทำการประมงชนิดอื่น อีกทั้งปีที่ผ่านมา คุณวศินเอง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ประจำปี 2561 คุณวศิน ธนภิรมณ์ อยู่บ้านเลขที่ 104/5 หมู่ที่ 1
กล้วย ถูกนำมาใช้แทนคำเปรียบเปรยในประโยคบ่อยครั้ง เช่น เรื่องกล้วยๆ ของกล้วยๆ หรือแม้กระทั่ง คำว่า ง่ายกว่ากล้วย ก็แสดงให้เห็นว่า กล้วย เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ง่าย นำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย รวมถึง ปลูกง่าย การันตีการปลูกว่า “ง่าย” ได้ไม่ยาก ลองพิจารณาจากตรงนี้ พื้นที่เพียง 1 ตารางวา ก็สามารถปลูกกล้วย ให้ได้ผลผลิตดี งอกงาม ใช้ประโยชน์ในทุกส่วนจากต้นกล้วยได้ ไม่ยากจริงๆ วิธีปลูก – หลุมปลูก ควรขุดหลุมขนาดประมาณ 50 คูณ 50 เซนติเมตร (กว้าง xยาว x สูง) ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม 3-4 กำมือ หากมีปุ๋ยคอก ให้ใช้ปุ๋ยคอก แต่ถ้าไม่มีให้ซื้อปุ๋ยชีวภาพมาใส่แทน – พันธุ์ สายพันธุ์กล้วยจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีสายพันธุ์ที่ดีก็วางใจไปเกินครึ่งว่า การปลูกกล้วยครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ ได้เครือใหญ่ ผลสวย รสชาติดี แต่ถ้าสายพันธุ์ไม่แน่ชัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะกล้วย อย่างไรก็คือ กล้วย ถ้าไม่ใช่กล้วยป่าก็ไม่ต้องกังวล เพราะอย่างไรเสียก็ไม่มีเมล็ดในผลกล้วยให้รำคาญยามกิน หน่อกล้วย หาซื้อได้ตามชอบใจตามร้านจำหน่ายพันธ์ุไม้ หากพื้นที่เพียง 1 ตารางวา จำนวน 1 หน่อ จัดว่ากำลังดี เมื่อได้หน่อกล้วยมาแล้ว วาง
ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะพร้าว มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตมะพร้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว เช่น กะทิ มีราคาสูงขึ้น สาเหตุหลักมาจากการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นทดแทนมะพร้าว เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน นอกจากนั้นแหล่งปลูกมะพร้าวในประเทศไทยยังประสบกับปัญหาแมลงศัตรูมะพร้าวระบาด ประกอบกับภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่การระบาดของศัตรูมะพร้าว ขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว แมลงศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดเป็นปัญหาหนักและเร่งด่วนอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว หากการเข้าทำลายของหนอนหัวดำมะพร้าวระบาดรุนแรงและติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถทำให้มะพร้าวตายได้ หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นศัตรูต่างถิ่น หนอนหัวดำมะพร้าวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียใต้ แถบประเทศอินเดียและศรีลังกา เคยทำความเสียหายต่อมะพร้าวให้แก่ประเทศทั้งสองมาแล้ว ระยะตัวอ่อนหรือระยะหนอนของแมลงหนอนหัวดำเท่านั้นที่จะลงทำลายโดยการแทะกินผิวใบบริเวณใต้ใบมะพร้าว จากนั้นจะถักใยแล้วนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นเป็นอุโมงค์ยาวเป็นทางครอบคลุมตัวตลอดทางใบมะพร้าว ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบตามทางยาวของอ
ทุเรียนหลงลับแล จากอดีตราคากิโลกรัมละไม่เกิน 100 บาท หลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ราคาทุเรียนหลงลับแลขยับขึ้นเป็น กิโลกรัมละ 450-500 บาท น้ำหนักผล ผลละ 1-2 กิโลกรัม ถ้าผลน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ก็จะขายได้ราคา ผลละ 1,000 บาท แต่ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาเกษตรกรให้เตรียมความพร้อมผลิตทุเรียนคุณภาพ เพื่อการส่งออกด้วยเทคโนโลยีการปฏิบัติดูแลตามมาตรฐานการส่งออก ประวัติ และความเป็นมา ทุเรียนหลงลับแล ต้นเดิมขึ้นอยู่บนม่อนน้ำจำ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล เมื่อปี พ.ศ. 2479 นายมี หอมตัน ได้นำเมล็ดทุเรียนที่ผลร่วงหล่นภายในสวนของเพื่อนบ้านไปปลูก ต่อมาสวนได้ถูกเปลี่ยนมือเป็นของ นายสม อุปละ สามีของ นางหลง อุปละ ซึ่งสวนนี้มีต้นทุเรียนอยู่สิบกว่าต้น แต่มี 1 ต้น ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากทุเรียนพื้นบ้านโดยทั่วไป ที่มีรสชาติดี เมล็ดลีบ ปี พ.ศ. 2520 มีการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ดที่อำเภอลับแล ทุเรียนในนามของ นางหลง อุปละ ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2521 คณะกรรมการรับรองพันธุ์ ตั้งชื่อ “หลงลับแล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นางหลง อุปล
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด มีจำนวนมาก ระบายไม่ทัน เป็นผลให้ราคาตกต่ำอย่างปฏิเสธไม่ได้ แนวทางการหันมาศึกษาการผลิตผลไม้นอกฤดูกาลจึงเป็นทางออกหนึ่งของเกษตรไทยในวันนี้ คุณสุรินทร์ แสงสาย ประธานกลุ่มผู้ปลูกลำไยนอกฤดู ในพื้นที่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ผู้ขับเคลื่อนศึกษาหาแนวทางการผลิตลำไยนอกฤดูให้แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยการทดลองทำสารเร่งให้กับต้นลำไย ด้วยประสบการณ์มากว่า 10 ปี ได้ลองผิด ลองถูก กับสวนลำไยของตนเอง ในพื้นที่กว่า 20 ไร่ จนมีแนวร่วมกลุ่มผู้ปลูกลำไย ในอำเภอโป่งน้ำร้อน มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 70 ไร่ ส่งผลสำเร็จทำให้มีสถิติการส่งออกผลผลิตลำไยนอกฤดูของอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ไม่น้อยกว่า 100 ตัน ต่อหนึ่งฤดูกาล โพแทสเซียม ครอเร็ต (POTASSIUM CHLORATE) สารเร่งสำคัญที่ต้องใช้ในการบังคับการออกผลผลิตของลำไยนอกฤดู ที่ใช้ควบคู่ไปกับการให้ปุ๋ยมูลสัตว์ แต่ต้นลำไยที่เปรียบเสมือนหัวใจของการบังคับให้ลำไยออกนอกฤดูเลยทีเดียว การบังคับผลผลิตออกนอกฤดูของผลไม้ที่มีชื่อว่า ลำไย นั้น สิ่งสำคัญยิ่งที่เกษตรกรต้องรู้ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ต้นลำไยที่จะทำสารเร่ง