เทคโนฯ ประมง
การเลี้ยงอึ่งปากขวด อึ่งโขก อึ่งเผ้า อึ่งเค่า (ภาคเหนือ) เจ้าสัตว์ลำตัวอ้วนป้อม มีเสียงร้องเฉพาะตัว เสียงดัง ผิวหนังสีเทาเข้ม มีจุดด่างเล็กๆ ข้างตัวสีเทาอ่อน ท้องจะออกสีขาวซีด ถ้าเป็นตัวเมียจะเห็นท้องมีลายจุดดำๆ เห็นไข่ชัด คล้ายไข่กบ คืออึ่งปากขวด อึ่งโขก อึ่งเผ้า อึ่งเค่า (ภาคเหนือ) คนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมรับประทานมาก ปีหนึ่งมีให้รับประทานครั้งเดียว คือต้นฤดูฝน ส่วนใหญ่คนนิยมกินไข่ ไข่จะเยอะมากถ้าเทียบกับตัวอึ่ง ฉะนั้นตัวเมียจึงเป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้เริ่มหายากขึ้น จึงพยายามที่จะนำมาเพาะเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้ค่อนข้างดีทีเดียว ที่ ดงลำดวนฟาร์ม โดย คุณอดุลย์ พูลเพิ่ม เป็นหนึ่งในผู้ที่เพาะเลี้ยงอึ่งเผ้า ทำไมต้องเป็น อึ่งเผ้า คือตัวใหญ่ ไข่เยอะ และไม่มีเมือกตรงผิวและเป็นสัตว์ที่อยู่ตามป่าละเมาะ กินดินโป่งและแมลงเป็นอาหาร ถือว่าสะอาด ไม่เหมือนอึ่งที่มีลำตัวลายเรียกว่าอึ่งข้างลาย จะเป็นอึ่งใกล้บ้าน กินทุกอย่าง ลำตัวเป็นเมือก เรียกอีกอย่างว่าอึ่งยาง หรืออึ่งลาย แต่รสชาติเหมือนกับอึ่งเผ้า ทำไมเล
ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่เรียกได้ว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งก็ว่าได้ เพราะในหลายภูมิภาคของประเทศมีการนำปลาช่อนมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ซึ่งสมัยก่อนนั้นปลาชนิดนี้จะหาได้ง่ายจากแม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ แต่ต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ทำให้จำนวนของปลาช่อนในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดลง จึงทำให้การหาปลาช่อนจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาบริโภคไม่ง่ายอย่างเช่นสมัยก่อน ส่งผลให้ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเลี้ยงปลาช่อนเป็นเชิงการค้ากันมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด การเลี้ยงปลาช่อนให้โตดีและได้เนื้อปลาที่มีคุณภาพนั้น ลูกพันธุ์ปลาถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ โดยปัจจุบันได้มีการเพาะพันธุ์ปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์เข้ามาช่วย จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องรอเวลาให้ปลาผสมพันธุ์กันแบบธรรมชาติ แต่สามารถผสมพันธุ์ปลาช่อนให้ได้ลูกพันธุ์ปลาออกมาตลอดทั้งปี พร้อมทั้งลูกปลาที่ได้จะค่อนข้างเชื่องและสามารถใช้อาหารเม็ดเลี้ยงให้โตได้ คุณธนพนธ์ ศรีภักดี หรือ คุณมอส เจ้าของ มงคลฟาร์ม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เห็นช่องทางการทำตลาดปลาช่อน เพราะมองเห็นปัญหาว่าปลาชนิดนี้ในแหล่งน
ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดพื้นเมืองที่อยู่ในประเทศไทยนานพอสมควร เพราะสามารถพบได้ในแม่น้ำ บึง คลอง ฯลฯ ในภูมิมาคนี้นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือนานกว่านั้น เพราะมีหลักฐานการเขียนลายของถ้วยชามเครื่องเคลือบ เป็นรูปปลาตะเพียนให้เห็น จึงนับว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อยู่คู่บ้านเมืองนี้อย่างแท้จริง ซึ่งการนำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ก็ทำได้ง่าย จึงทำให้ปลาชนิดนี้มีการขยายพันธุ์และส่งเสริมการเลี้ยง และนำมาทำการค้าที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีทีเดียว คุณรุ่งลาวัลย์ เบ้าคำ หรือ คุณน้อย อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองทับจันทร์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้นำปลาตะเพียนมาเลี้ยงและทำการตลาดแบบแปรรูปเอง ทำให้ตัดปัญหาในเรื่องของการรับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งการแปรรูปเป็นปลาส้มทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง เกิดรายได้ในกลุ่มเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน กลุ่มมีความร่วมมือกันอย่างสามัคคีในการผลิตสินค้าแปรรูปจากปลาตะเพียน คุณน้อย เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันครอบครัวของเธอมีอาชีพเกี่ยวกับการทำเกษตรอยู่แล้ว โดยในพื้นที่มีการแบ่งการทำเกษตรหลายอย่าง โดยได้มีบ่อปลูกบัวว่างอยู่จึงได้นำปลาตะเพียนมา ทดลองเลี้ยง เม
ปลาหมอ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบน ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น ตัวมีสีเขียวมะกอก และมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่นๆ อยู่ตอนบนของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ปลาหมอ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอ จะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจากโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปลาหมอ ถือว่าเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีไข่ดกมาก แม่พันธุ์ขนาดความยาว 16.9 เซ
หากพูดถึงสัตว์ทะเลแล้ว นอกจากปูและปลาแล้ว หลายๆ คนคงนึกถึง “กุ้ง” ขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ เพราะกุ้งคืออาหารที่คุ้นเคยของคนไทย ด้วยรสชาติที่อร่อย นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้ม อบ นึ่ง ผัด ทอด เผา หรือกินสดๆ ก็ยังอร่อย กุ้งจึงเป็นวัตถุดิบหลักที่ไม่ว่าไปร้านอาหารทุกร้านมักจะมี อย่างในประเทศไทย เรามีเมนูของไทยเราที่สร้างชื่อเสียงจนดังไกลไปทั่วโลกอย่าง “ต้มยำกุ้ง” กุ้งจึงถือเป็นสัตว์ทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีราคาตลาดที่ค่อนข้างนิ่ง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสร้างรายได้อย่างดี กุ้งจึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ทำฟาร์มกุ้ง กุ้งของประเทศไทยเคยเป็นศูนย์กลางส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลก มีคุณภาพที่ดี เป็นที่ยอมรับของตลาดสากล กุ้งทุกตัวก่อนที่จะถูกส่งออกจากประเทศไทยได้ ต้องผ่านการตรวจสอบหลายด้าน ทั้งสารตกค้างและโรคจากห้องแล็บ จึงจะสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยทั่วไปกุ้งที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ กุ้งที่ติดโรค หรือกุ้งที่เลี้ยงจากบ่อที่ไม่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำกลับมาขายให้กับผู้บริโภคในประเทศไทย บ่อยครั้งที่เราจะเห็นผู้ที่แพ้อาหารประเภทกุ้ง หรือจริงๆ แล้วอาจแพ้สารเ
กาฬสินธุ์ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำประมง สัตว์น้ำที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรที่โดดเด่นคือ กุ้งก้ามกราม และการเลี้ยงปลากระชัง ด้วยความนิยมบริโภคสัตว์น้ำนี้เอง จึงทำให้การทำประกอบอาชีพทางประมงสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ ปลาหมอ ก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์น้ำที่สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการย่างที่ให้รสสัมผัสที่หอมชวนทาน หรือจะแกงก็ตอบโจทย์ไม่น้อย จึงทำให้มีการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ด้วยเช่นกัน ปลาหมอ ลักษณะทั่วไปคือ มีลำตัวป้อมและค่อนข้างแบน โดยลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ขนาดความยาวของปลาหมอส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10-16 เซนติเมตร ซึ่งปลาหมอจัดว่าเป็นปลากินเนื้อ พบได้ตามแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้หลายปีที่ผ่านมาจำนวนปลาหมอในแหล่งธรรมชาติหาไม่ได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน จึงได้มีการเพาะพันธุ์และเลี้ยงเป็นปลาเนื้อเชิงการค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค ทำให้เกิดการเลี้ยงเชิงการค้ามากขึ้นตามมา คุณพิสิษฐ์ บุญท้าว อยู่บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 13 ตำบลกมลาไสย อำเภ
“ปลาตะเพียน” เป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี แล้วยังอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ พบชุกชุมในแหล่งน้ำทุกภาคของไทย เป็นปลากินพืช แมลง และสัตว์หน้าดิน ปัจจุบัน มีการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำ สำหรับให้ชาวบ้านนำไปประกอบอาชีพ หรือแปรรูปเป็นอาหารยอดนิยม เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม สำนักงานประมงจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สระแก้ว (ศพจ.สระแก้ว) พร้อมกับอีกหลายภาคส่วนบูรณาการส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มชาวบ้านคลองยาง (ละลุ) เลี้ยงปลาตะเพียน แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาตะเพียน ละลุ” ตั้งอยู่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว มีสมาชิกรวม 37 ราย มีพื้นที่เลี้ยงปลา รวม 50 ไร่ กระทั่งสามารถสร้างมูลค่าปลาตะเพียนด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณเมธี เสมา นักวิชาการประมงปฏิบัติการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สระแก้ว เปิดเผยว่า สมาชิกกลุ่มมีอาชีพทำเกษตรกรรมปลูกพืชและมีบ่อเลี้ยงปลา โดยแต่ละรายผ่านการคัดเลือกจากประมงจังหวัด และศพจ.สระแก้ว จนได้ขึ้นทะเบียนกับทางประมงจังหวัดไว