เทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ ดร.ชูพงศ์ คำจวง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการนำผลงานวิจัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม โดยกรอบความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ วทน. เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างชุมชน เศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม โดยจะนำร่องการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ และเห็ดระโงก) ซึ่งมี ดร.ธนภักษ์ อินยอด นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) วว. เป็นหัวหน้าโครงการ โดยจะถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างสวนป่าต้นแบบ สวนเห็ดครัวเรือน และโรงงานผลิตเห็ด ในพื้นที่บ้านโคกสะอาด ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร (บริเวณเทือกเขาภูพาน) ซึ่งจะสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ และนำไปสู่กา
นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น” ณ สถานีวิจัยลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินงานโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสอดรับการดำเนินโครงการ ASEAN Green Initiative และกิจกรรม CSR ของ วว. โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา ได้แก่ เห็ดตับเต่า เห็ดระโงก เห็ดเผาะ เป็นต้น ร่วมกับการปลูกต้นไม้ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและเห็ดแบบเกื้อกูลกัน สร้างต้นแบบพื้นที่การปลูกไม้ยืนต้น/ไม้กินได้ เพิ่มพื้นที่และฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำ ในพื้นที่ใกล้ลำน้ำลำตะคอง พร้อมทั้งปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียน ปลายี่สก จำนวน 19,000 ตัว นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ กล่าวต่อว่า จังหว