เทคโนโลยีชีวภาพ
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรกำลังอยู่ระหว่างการยกร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร เพื่อรองรับการพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ ประมง ที่มาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม Gene Editing (GEd) ซึ่งไม่ใช่การพัฒนาโดยตัดแต่งพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ ทางกรมวิชาการเกษตรได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาต่อเนื่อง คาดว่าจะนำเสนอต่อ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ทันการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนงบประมาณขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์แนวทางขับเคลื่อนภาคเกษตร IGNITE AGRICULTURE HUB ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตร และอาหารของโลก เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา “ร้อยเอก ธรรมนัส รมว.เกษตรฯ ขานรับนโยบายสนับสนุนภาคเกษตร ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ให้เป็นนโยบายเร่งด่วน กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตร เ
เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ม.ก.) จึงมุ่งพัฒนางานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และจัดตั้งหน่วยงานหลักทำหน้าที่วิจัยข้าวอย่างครบวงจร เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย “ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว” ที่นำจีโนมเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ค้นหายีนและปรับปรุงพันธุ์ข้าว “ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว” ทำหน้าที่เชื่อมโยงงานวิจัยพันธุ์ข้าวไปสู่การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรและอุตสาหกรรมข้าว นับตั้งแต่ ปี 2550 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมมือกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศึกษาพัฒนานวัตกรรมงานวิจัยเพื่อสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีความเข้มแข็ง มีคุณค่าโภชนาการสูง ทนทานกับสภาพอากาศร้อน แล้ง และน้ำท่วม ของประเทศไทย เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าว “ข้าวไรซ์เบอร์รี่” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยด้านข้าวที่มีชื่อเสียงโดดเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเป็นสถาบันชั้นนำในด้านการผลิตบัณฑิตและสร้างสรรค์ผลงานด้านอุตสาหกรรมเกษตร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี ปัจจุบันคณะมีภาควิชาทั้งสิ้น 6 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ ด้วยความเพียบพร้อมของภาควิชาที่เมื่อประสานการทำงานร่วมกันแล้ว ผลที่ออกมาเรียกได้ว่า เป็นงานระดับแถวหน้า รศ.ดร.อนุวัตร แจ้งชัด คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร ระบุว่า บริษัทที่เกี่ยวกับกลุ่มอาหารทั่วประเทศ จดทะเบียนมีมากกว่า 8,000 ราย ในจำนวนนี้ 1,800 รายเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่ม มูลค่าส่งออกประมาณ 102 พันล้านบาท แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มีงานวิจัยและโครงการที่ทำร่วมกับหลายหน่วยงานจำนวนมาก มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและได้รับความนิยมไม่น้อย เช่น โครงการแปรรูปมันสำปะหลังแปรรูปสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มประจำปี 2561 เป็นรูปแบบที่ทางกรมการค้าภายใน กระทรว