เทพทาโร
ชื่อสามัญ : เทพทาโร Safrol laurel ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. วงศ์ : LAURACEAE ปีนี้อากาศแปรปรวนอย่างน่าวิตก…ไม้ป่าที่หายากก็ติดเมล็ดเสียมากมาย เหมือนมันตื่นรู้ความผิดปกติของธรรมชาติ…ผู้เขียนมีโอกาสได้เพาะเมล็ดไม้หลากหลายชนิด “เทพทาโร” ก็เป็นไม้หนึ่งที่ได้เพาะ ดั่งต้องมนต์สะกดยามได้กลิ่น กลิ่นที่หอมรัญจวนทำให้ห้องนอนหอมอบอวลไปตลอดทั้งคืน ตื่นเช้ามาต้องรีบนำออกไปเพาะ หากได้ติดตามอ่าน จะทราบว่า เทพทาโร อยู่ในสกุลอบเชย เป็นพันธุ์ไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความโดดเด่นของไม้เทพทาโร คือ ความหอม ปัจจุบัน “เทพทาโร” เป็นไม้ 1 ใน 22 ชนิด ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะการนำไปใช้ประโยชน์ที่ไม่ได้ปลูกทดแทนไม้เดิมที่ตัดไป ทำให้เทพทาโรลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วแทบจะสูญพันธุ์ น้อยคนจะทราบว่า เทพทาโร มีกลิ่นหอมหลายกลิ่น “อาจารย์สมบูรณ์ บุญยืน” สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ศึกษาพบว่า ใบ และผล มีกลิ่นต่างกันถึง 4 แบบ ได้แก่ กลิ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) kosterm ชื่อวงศ์ Lauraceae (Laurel) ชื่อสามัญ Citronella laurel ชื่ออื่นๆ จะไค้ต้น จะไค้หอม พลูต้นขาว (ภาคเหนือ) จวง จวงหอม (ภาคใต้) การบูร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เนื่องจากเปลือกและรากมีกลิ่นคล้ายการบูร หรืออบเชยญวน สำหรับภาษายาวี เรียก มือแดกะมางิง ข้าอยากจะบอกออเจ้าทั้งหลายว่า แม้ชื่อข้าจะขึ้นต้นว่า “เทพ” เเต่ไม่ต้องคลานเข่าเข้ามาหาข้าหรอก เพราะเกือบทุกคนพอได้กลิ่นไอระเหย หรือควันธูปข้าแล้ว มักจะนอนสงบนิ่งอยู่ในห้องสปาพร้อมเปิดเสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ ให้คนนวดน้ำมันจนข้าอิจฉา แต่บางคนใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา หรือเเกะสลักเป็นไม้มงคลแทนรูปเคารพ ข้าเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดพังงา แต่ตามประวัติศาสตร์ ข้ามีชื่อที่คนกล่าวถึงตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เป็นพืชพรรณไม้หอมที่มีอยู่ในป่าดงดิบทั่วไป แต่ข้าชอบอยู่ทางภาคใต้ ช่วงหลังๆ มานี้ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมการเกษตรต้องการยางพารามาก ข้าจึงถูกโค่นตัดรุกป่าปลูกยางพารา แต่สิ่งที่เหลือคือรากและต้นตอของข้าที่ฝังดิน กลับเป็นสิ่งมีคุณค่าโด่งดัง กลายเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในงานหัตถกรรม สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา