เนื้อสัตว์
กรมปศุสัตว์ร่วมกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ สร้างความเชื่อมั่นในสินค้าฮาลาลและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทุกศาสนารองรับประชากรมุสลิมทั่วโลก นายสัตวแพย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ได้สนองนโยบายรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจสินค้าและบริการฮาลาล (พ.ศ. 2559 – 2563) ต่อยอดโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อมุ่งหวังในการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์และสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะควบคู่ไปกับมาตรฐานฮาลาล โดยมีเป้าหมายให้ทุกจังหวัดมีเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย และถูกหลักการศาสนาอิสลามวางจำหน่าย เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับภัตคาร และร้านอาหารในการปรุงอาหารฮาลาลในพื้นที่ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการบริโภคอาหารฮาลาลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนมุสลิมที่ต้องบริโภคอาหารฮาลาลกว่า 300 ล้านคน จากกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวีย
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ปศุสัตว์ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานเขตมีนบุรี นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการผลิตเนื้อสัตว์ปีก ที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ มีนบุรี 2 ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตามโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” และ “ปศุสัตว์ OK” เพิ่มความมั่นใจประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย ปลอดโรค ต้อนรับเทศกาลตรุษจีนปีจอ ด้านซีพีเอฟคาดการจำหน่ายชุดไหว้ตรุษจีนปีนี้โต 10-15% จากความต้องการเพิ่มและการเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วขึ้น นายเฉลิมชัย โรจน์นครินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตมีนบุรี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนผู้ประกอบการในการผลิตเนื้อสัตว์ต่างเร่งการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ กรุงเทพมหานครจึงมีการตรวจสอบกระบวนการผลิตในช่วงเวลานี้เข้มงวดขึ้น เพื่อดูแลให้สถานประกอบการ และโรงงานแปรรูปอาหารมีกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย ปลอดจากการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค เป็นไปตามโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” โดยสำนักงานเขตมีนบุรีร่วมมือกับปศุสัตว์พื้นที่ ในการต
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สหรัฐอเมริกาประกาศระงับการเข้า”เนื้อสัตว์ทุกชนิด”จากบราซิลประเทศผู้ส่งออกเนื้อรายใหญ่ที่สุดของโลก หลังจากเกิดความกังวลด้านสุขลักษณะ และความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ หรือ ยูเอสดีเอ ออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐจะยังคงระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์จากบราซิลต่อไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจและเหมาะสม “แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปกป้องผู้บริโภคชาวอเมริกัน นั่นคือ การที่เราหยุดนำเข้าเนื้อจากบราซิล” ซอนนี่ เพอร์ดู รัฐมนตรีกระกทรวงเกษตรกล่าว แถลงการณ์ยังระบุอีกด้วยว่า ตั้งแต่เดือนมี.ค ที่ผ่านมาเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากบราซิลถูกระงับ และตรวจสอบอย่างหนัก หลังจากที่บริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์หลายรายนั้นพัวพันกับเรื่องอื้อฉาวทั้งโรงงานไม่ถูกสุขลักษณะ และเนื้อสัตว์ไม่ได้มาตรฐาน โดยที่ผ่านมาสหรัฐปฏิเสธการนำเข้าเนื้อสัตว์จากบราซิลไปแล้วถึง 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าการระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์จากประเทศอื่นที่มีเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปัจจุบันกระแสความชื่นชอบอาหารฟังก์ชั่น หรือฟังก์ชั่นนัลฟู้ด (functional food) กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากผู้บริโภคสมัยนี้หันมาเอาใจใส่ดูแลสุขภาพมากขึ้น ถือเป็นอาหารทางเลือกหนึ่ง เมื่อบริโภคแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในการเสริมสุขภาพเนื่องจากเป็นอาหารที่มีสารอื่นที่เป็นประโยชน์ในเชิงการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคบางอย่าง องค์ประกอบหรือสารสำคัญที่ทำให้อาหารธรรมดาๆ กลายเป็นอาหารฟังก์ชั่น คือ สารอาหารฟังก์ชั่น (functional ingredient) สารอาหารกลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไม่ใช่สารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการแบบปกติทั่วไป แต่จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างจำเพาะเจาะจงต่อระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย เช่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง ลดไขมันในเลือด เป็นต้น สารกลุ่มโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ เช่น เปปไทด์ ก็ถือเป็นสารอาหารฟังก์ชั่นที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาและวิจัยกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ท่านผู้อ่านรู้จักเปปไทด์ได้ดีขึ้น จะขอขยายความว่าเปปไทด์คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และพบได้ที่ไหนบ้าง เปปไทด์ คือโปรตีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกรดอะมิโนมาเชื่อมต่อกันเป็นสายสั้นๆ ประมาณ 2-30 กรดอะมิโน ซึ่งก
ปศุสัตว์ลำปาง ชูเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP Pork Shop ต้นแบบปศุสัตว์ OK ตรวจเข้มเนื้อสัตว์ช่วงสงกรานต์ แนะเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตมาตรฐาน นายเพิ่มศักดิ์ วิทยากรณ์ปศุสัตว์จังหวัดลำปาง เปิดเผยภายหลังจากมอบใบประกาศและตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ให้กับเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน จำนวน 10 รายนำร่อง ใน 6 อำเภอ ทั้งอ.เมือง อ.เสริมงาม อ.แม่เมาะ อ.แม่ทะ อ.ห้างฉัตร และอ.เถิน ว่าเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการรายย่อย ที่ร่วมกันยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐานตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ จนถึงสถานที่จำหน่าย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สะอาดและปลอดภัย โดยถือว่าเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP Pork Shop ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ส่งเสริมให้ประชาชนชาวลำปางมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ช่วยตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ด้วยการพัฒนาจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย ปลอดโรค และปลอดสารเร่งเนื้อแดง “ขอชื่นชมเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชนทั้ง 10 รายและซีพีเอฟ ท
นางสาวเยาวนิตย์ บุรีรักษา ปศุสัตว์สกลนคร กล่าวว่า กรณีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร 4 นาย ถูกดักปล้นของกลางขณะกำลังกลับด่านที่จังหวัดมุกดาหาร ภายหลังการตรวจยึดเนื้อโค กระบือ เถื่อน เกือบ 4 ตัน ในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าขณะนี้มีการทำเป็นกระบวนการที่ใหญ่ขึ้น และน่าเป็นห่วงเรื่องสุขภาพในการบริโภคเนื้อ โดยเนื้อที่นำเข้ามาเป็นเนื้อต้องห้ามในบัญชีของกรมปศุสัตว์ที่ไม่ผ่านการรับรอง หวั่นว่าจะมีสารอันตรายได้ นางสาวเยาวนิตย์ กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะเนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นอาชีพที่นำรายได้เข้าสู่จังหวัดสกลนคร จะมีผลกระทบหนัก อย่างไรก็ตาม ปศุสัตว์สกลนครจึงต้องวางมาตรการเข้มมากขึ้น จะต้องประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต้นทางจากชายแดน เพื่อป้องปรามการลักลอบจนเนื้อเถื่อน หากปล่อยปละละเลยนอกจากจะได้บริโภคเนื้อที่ไม่ปลอดภัย ยังจะสูญเสียรายได้เกือบ 1 พันล้านบาท ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน