เปลือกกล้วย
ในปัจจุบันวิธีทำปุ๋ยบำรุงต้นไม้ มีหลากหลายวิธี แต่ที่ง่ายที่สุดคือการนำเปลือกกล้วยหอม เปลือกกล้วยน้ำว้า ที่กินเสร็จอย่าเพิ่งทิ้ง! เพราะมีประโยชน์ต่อต้นไม้หลายอย่าง เปลือกกล้วยอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของต้นไม้ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่สามารถช่วยป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย สารอาหารที่อยู่ในเปลือกกล้วย 1. โพแทสเซียม : หนึ่งในธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก ใบ หากใช้ในผักกินใบ จะทำให้ใบกรอบ สีเขียวสวย น่ากิน ซึ่งปกติเราอาจต้องซื้อปุ๋ยโพแทสเซียมเสริม แต่เราสามารถทดแทนได้ง่ายๆ ด้วยเปลือกกล้วย 2. ฟอสฟอรัส : ในเปลือกกล้วยมีปริมาณฟอสฟอรัสมากพอสำหรับพืช ช่วยเรื่องการออกดอกและติดผล ทำให้ไม้ดอกไม้ประดับออกดอกสวย สีสันงดงาม มาลงมือทำปุ๋ยกันเถอะ โดยจะเริ่มใช้ในช่วงที่ระยะติดดอก ออกผล ซึ่งสูตรนี้มีประโยชน์ค่อนข้างดีในการที่ช่วยทำให้ติดดอก ออกผล เร่งการแตกยอด ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล พืชผักสวนครัวก็สามารถนำไปฉีดพ่นได้ วัตถุดิบ – เปลือกกล้วย – น้ำ – โหลแบบมีฝาปิด วิธีทำ 1. ใช้เปลือกกล้วยจากกล้วยที่สุกแล้
จากงานวิจัยพบว่า “เปลือกกล้วย” ไม่ได้มีคุณค่าและประโยชน์ด้านความงาม หรือใช้เป็น “ปุ๋ย” สำหรับต้นไม้เท่านั้น แต่เปลือกกล้วยยังนำมาเพิ่มคุณค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำเป็นขนมกินเล่นอย่างข้าวเกรียบที่มีรสอร่อยได้อีกด้วย ถือเป็นงานวิจัยที่จับต้องได้จากสาขาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยนำเปลือกกล้วยที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าด้วยการผลิตเป็นข้าวเกรียบพร้อมส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลสำเร็จจาก อาจารย์อัยย์ญดา สิรินจุลพงศ์ กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อังคณา จารุพินทุโสภณ อาจารย์ประจำสาขาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ จุดเริ่มต้นงานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อคณาจารย์จากสาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้ลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดและส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพให้กับชุมชนในจังหวัดนนทบุรี แล้วพบว่าที่ชุมชนคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด เป็นแหล่งปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องเพื่อขายผลสด อีกทั้งชาวบ้านยังนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยตากขายสร้างรายได้ ซึ่งเปลือกกล้วยบางส่วนที่เป็นวัสดุเ
ประเทศไทย มีการเพาะปลูกพืชจำนวนมาก ทำให้ประสบปัญหาปริมาณขยะพลาสติกจากภาคการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรนำเอาพลาสติกมาใช้เป็นถุงเพาะต้นกล้าหรือถุงเพาะชำพืช เมื่อนำต้นกล้าไปปลูกลงดิน ถุงเพาะต้นกล้าที่ทำจากพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายในดินได้ จึงจำเป็นต้องฉีกถุงเพาะต้นกล้าออกเสียก่อนที่จะนำต้นกล้าลงปลูกในดิน ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่งผลทำให้รากของต้นกล้าเกิดการฉีกขาด ต้นกล้าอาจมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเศษถุงเพาะต้นกล้าพลาสติกยังกลายเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกที่เหลือกลายเป็นขยะที่กำจัดยากและเกิดเป็นมลภาวะทางอากาศได้ หากนำไปกำจัดโดยการเผา แผ่นห่อไบโอ จากเปลือกกล้วย นายณัฐวุฒิ วงศ์บุรุษ นายธนกฤต ดิษฐบรรจง และ นายเอนก นารีจันทร์ ทีมนักศึกษาแผนกปิโตรเคมี วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด อาชีวศึกษาจังหวัดระยอง เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว พวกเขาจึงเกิดแนวคิดในการนำเปลือกกล้วยน้ำว้ามาสกัดเซลลูโลส เพื่อใช้เป็นแผ่นห่อวัสดุทางการเกษตร ซึ่งเป็นทางหนึ่งของการจัดการเชิงรุกเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ลดค่าใช้จ่ายของการกำจัดขยะและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ วิธีการสกัดเซลลูโลส ของทีมนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ทำ