เผาอ้อย
ก.อุตฯ เตรียมนำเสนอ ครม. พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างเป็นระบบ ตั้งเป้า 3 ปี ตัดอ้อยสด 100% พร้อมระบุโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต (50 บาท ต่อตันอ้อย) เริ่มจ่ายเงินรอบแรกภายในเดือนเมษายนนี้ นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำเสนอเรื่องเข้า สู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ในภาพรวมทั้งระบบ ประกอบด้วยมาตรการทางกฎหมายโดยจะมีการออกระเบียบให้ทันในฤดูการผลิตปี 2562/2563 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 30% ต่อวัน สำหรับในฤดูการผลิตปี 2563/2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 20% ต่อวัน และในฤดูการผลิตปี 2564/2565 จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียง 0-5% ต่อวัน ซึ่งจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายใน 3 ปี นับจากนี้ ทั้งนี้ การดำเนินการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุน รถตัดอ้อย ซึ่งได้ดำเนินการเสนอโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร (ระยะที่ 2) โดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยได้ประสบกับปัญหามลภาวะเป็นพิษ pm2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงปัญหาไฟป่าที่ลุกลามไหม้ตามสถานที่ต่างๆ เป็นวงกว้าง จนทำให้หลายพื้นที่ประกาศคำสั่งห้ามเผาตอซังข้าว รวมถึงห้ามเผาอ้อย แต่ก็ไม่ได้รับความใส่ใจจากเกษตรกรสักเท่าใด จนกระทั่งมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ทั้งการจับกุมดำเนินคดีและขอความร่วมมือโรงงานผลิตน้ำตาลในการหักค่าปนเปื้อนจากการเผา ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวด้วยการจ้างรถตัดอ้อยหรือหาแรงงานเพื่อตัดอ้อยสดส่งโรงงานทดแทนการเผาใบอ้อยก่อนตัด แต่จากคำสั่งดังกล่าวก็ได้เริ่มส่งผลกระทบกับเกษตรกรเนื่องจากทางภาครัฐไม่ได้มีมาตรการรองรับในจุดนี้ก่อนจะออกคำสั่ง ซึ่งจากปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีการเล็งมาที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยซึ่งจะมีการเผากันมากในช่วงเวลานี้ว่าเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหามลพิษโดยมีการระบุสาเหตุของฝุ่นมาจากกิจกรรมการเผาของเกษตรกร จนทำให้ชาวไร่อ้อยกลายเป็นจำเลยของสังคมไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากการลงพื้นที่สอบถามถึงสาเหตุจำเป็นในขั้นตอนการเก็บผลผลิตของเกษตรกรพบว่าชาวไร่อ้อยหลายรายยังคงใช้วิธีการเผาใบอ้อ