เผือก
ชีวิตคนเราไม่แน่นอน บางคนอาจได้เดินตามฝันที่คิดไว้ตั้งแต่สมัยตอนยังเด็ก บางคนต้องยอมสละความฝัน เพื่อกลับมาทำหน้าที่ลูก ถือเป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ แต่ใช่ว่าการที่ไม่ได้เดินตามฝัน จะเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป คุณอนุกูล สุดสวาท (ต้น) อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 7 ตำบลหรเทพ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ดีกรีอดีตนักเบสบอลทีมชาติไทย เล่าว่า สมัยตอนยังเด็กไม่ค่อยสนิทกับครอบครัว เพราะต้องมาอยู่โรงเรียนประจำ เพื่อซ้อมกีฬาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งติดทีมชาติตั้งแต่อายุ 17 ปี หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโควต้านักกีฬา เล่นเบสบอลให้กับทีมชาติไทยจนถึงอายุ 32 ปี ผ่านการเล่นกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ มาหลายครั้ง จนกระทั่งมีจุดพลิกผันให้ต้องทิ้งความฝัน คือคุณพ่อป่วย ต้องกลับมาช่วยคุณแม่ดูแลพ่อ และต้องสานต่ออาชีพที่พ่อทำไว้ คือการเป็นเกษตรกรปลูกเผือก อาชีพนี้คุณพ่อทำมานานกว่า 30 ปีแล้ว ประสบการณ์เริ่มจากศูนย์ ถ้าใจสู้ทำอะไรก็สำเร็จ อย่างที่ผมบอกตอนแรกว่า ตนไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับครอบครัวสักเท่าไร ถึงคุณพ่อจะมีอาชีพเป็นเกษตรกรมานาน แต่ตนไม่เคยสนใจไม่เข้าไปยุ่งชีวิตการทำงานของพ่อกับแม่
เชื่อหรือไม่ ประเทศไทยได้ชื่อว่าปลูกข้าวมากที่สุดในโลก แต่คนไทยกิน ”ข้าว” น้อยที่สุดในโลก เพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนบริโภคข้าวเฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 200 กิโลกรัมต่อปี พม่าเป็นประเทศบริโภคข้าวสูงสุดในอาเซียนและในโลก ตามด้วย ลาว เวียดนาม เขมร บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ในช่วง 10 ปีก่อนคนไทยเคยกินข้าวเฉลี่ย 190 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ตอนนี้คนไทยกินข้าวน้อยลงแค่ 106 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น อัตราการบริโภคข้าวของคนไทย มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากกระแสวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนไทยรุ่นใหม่หันมาบริโภคฟาสต์ฟูดมากขึ้น นอกจากนี้ วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบกินข้าวเพราะกลัวอ้วน หลายคนอาจได้ฟังข่าว นางแบบชื่อดังคนหนึ่งป่วยหนักเพราะไม่ได้กินข้าวหรือแป้งเลยทำให้ร่างกายเกิดภาวะความเป็นกรดจากการใช้ไขมันเป็นแหล่งของพลังงานมากเกินไป เกิดความไม่สมดุลทั่วร่างกาย เพราะคาร์โบไฮเดรต มีความสำคัญมากต่อร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะในส่วนสมองและเม็ดเลือดแดง ต้องการพลังงานสำคัญ คือ น้ำตาลกลูโคส ที่มาจากการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง ขออ้างอิงผลวิจัยของ ผศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ แห่งสถาบันโภชนาการมหิ
ในสภาพอากาศที่มีแดดออกสลับกับมีฝนตกชุก และมีลมกระโชกแรงบางช่วงระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกเผือกเฝ้าระวังโรคใบจุดตาเสือหรือโรคใบไหม้ ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของเผือก อาการบนใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดขยายใหญ่เป็นวงซ้อนกันคล้ายดวงตา กรณีที่อากาศยังมีความชื้นหรือในช่วงเช้า จะพบบริเวณแผลมีหยดสีส้ม เมื่ออาการของโรครุนแรง แผลจะขยายติดกัน ทำให้ใบไหม้ หากอากาศมีความชื้นหรือมีฝนพรำ ใบจะเหี่ยวม้วนพับเข้า ใบแห้ง หรือใบอาจเน่า อาการบนก้านใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดจะขยายใหญ่ยาวรีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม ทำให้ก้านใบช้ำ ใบเหี่ยว ก้านหักพับได้ง่าย สำหรับในแปลงที่เป็นโรครุนแรง เผือกจะมีจำนวนใบเหลือน้อย จนทำให้ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต และเชื้อสาเหตุโรคอาจเข้าทำลายหัวเผือก ทำให้หัวเผือกเน่าได้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรค ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีทาบ