เพกา
เพกาต้นเตี้ย เป็นพืชในตระกูลแคหางด่าง มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ที่มาเลเซีย หรือที่จังหวัดนราธิวาส เรียก เบโด ภาษาทางเหนือเรียก มะลิ้นไม้ หรือมะลิดไม้ จังหวัดเลยเรียก หลิ่นไม้ ลิ้นฟ้า เพกา เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นสูงและต้นเตี้ย สายพันธุ์เพกาที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรฉะเชิงเทรา ปลูกทดสอบ มีลักษณะเด่นคือ ต้นเตี้ย ให้ผลผลิตเร็ว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และการชำราก ต้นโตเต็มที่ สูงเพียง 4-5 เมตร เก็บฝักอ่อนได้ง่าย ฝักมีขนาดใหญ่และยาว มีดอกและติดฝักได้เร็ว ปลูกประมาณ 6-8 เดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว เพกา เป็นพืชอาหารในตำรายาแผนโบราณของจีน ระบุสรรพคุณ ผลหรือฝักของเพกา มีสรรพคุณแก้อักเสบ ลดไข้แก้ปวด มีสารป้องกันโรคภูมิแพ้ มีรายงานผลการวิจัยจากหลายแหล่งระบุว่า การแสดงฤทธิ์ของเพกาสารสกัดจากเปลือก ราก มีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะ ป้องกันเยื่อบุทางเดินอาหาร ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ตลอดจนช่วยบรรเทากรดไหลย้อนหลอดอาหารและหลอดอาหารส่วนบน และมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
อดีตข้าราชการครู ผันตัวเป็นเกษตรกร เพาะพันธุ์ต้นเพกาพันธุ์เตี้ย หรือต้นลิ้นฟ้า ขายส่งขายทั่วประเทศ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่า 50,000 บาท เผยฝักสดและยอดอ่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นายประสาน คำมาตย์ ชาวบ้านคลองเกษตร ตำบลหนองไฮ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เล่าว่า อดีตตนเคยรับราชการเป็นครู ต่อมาตนรู้สึกอยากหาความท้าทายใหม่ประกอบกับเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ จึงเลือกลาออกจากราชการแล้วผันตัวมาเป็นเกษตรกร เพาะต้นเพกาพันธุ์เตี้ย หรือต้นลิ้นฟ้า ซึ่งชาวอีสานนิยมนำผลมารับประทาน ซึ่งต้นเพกาพันธุ์เตี้ยนั้นปลูกง่ายมีราคาดี และได้ส่งขายไปทั่วประเทศ โดย เมื่อปี พ.ศ.2556 ได้ต้นเพกาพันธุ์เตี้ยมาจากจังหวัดมุกดาหาร จากนั้นจึงทดลองใช้พื้นที่หลังบ้านปลูกเพียงไม่กี่ต้นเพื่อรับประทานเอง ต่อมาเพกาเริ่มโตให้ผลดกจึงถ่ายรูปแล้วอัพขึ้นเฟซบุ๊ก จนเพื่อนและคนรู้จักเห็นและถามถึงการซื้อพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ตนจึงลองขยายพันธุ์โดยการตัดรากมาปักชำแล้วส่งขายทางไปรษณีย์ จนสร้างรายได้ดีเกินคาด จึงขยายพื้นที่พร้อมสร้างสวนเครือข่ายขายต้นเพกาพันธุ์เตี้ย
เป็นเรื่องน่ายินดีที่หลายปีมานี้ ได้เห็นภาพตามสื่อหลายสำนักถึงการก้าวเข้ามาทำอาชีพเกษตรกรรมของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มากขึ้น บางรายมีดีกรีถึงปริญญาโทหรือเอกเสียด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์เช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตภาคเกษตรกรรมของไทยได้ก้าวเข้าสู่การทำเกษตรกรรมแนวใหม่ จะด้วยความบังเอิญหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อได้พบกับวิศวกรหนุ่ม คุณอาวุธ ลึกมณี หรือ คุณเก่ง ขณะคุมงานก่อสร้างบ้านพักลูกค้าในบริเวณใกล้ที่พักผู้เขียน จนนำไปสู่การสนทนาที่ถูกคอขึ้น เนื่องจากคุณเก่งสนใจเรื่องการเกษตร แล้วยิ่งได้ทราบว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านชนิดซื้อเกือบทุกเล่ม ยิ่งทำให้การพูดคุยดูจะมีรสชาติหนักมากขึ้น คุณอาวุธ เป็นคนเพชรบูรณ์ ย้ายมาเรียนใน กทม. จนจบปริญญาด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เรียนจบด้านวิศวกรรมอุตสาหการจากพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อ ปี 2540 หลังจากเรียนจบแล้วไปทำงานตรงตามสาขาที่เรียนมาอยู่ที่ชลบุรีนานถึง 5 ปี จากนั้นเส้นทางอาชีพหันเหไปด้านโยธา ด้วยการไปทำงานเป็นวิศวกรคุมงานก่อสร้าง แล้วอะไรเป็นเหตุผล ให้เกิดความชอบเกษตรกรรม?? สมัยเด็กเรียนระดับประถ