เพกาหรือลิ้นฟ้า
นักวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนร่วมกับนักวิจัย มทส.-อาจารย์แพทย์แผนไทย มรภ.เพชรบุรี ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของฝักไม้ยืนต้นที่มีรูปร่างคล้ายดาบชื่อ “เพกา” หรือบางท้องถิ่นเรียก “ลิ้นฟ้า” ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่นำกินคู่กับน้ำพริกบนโต๊ะอาหาร ผลการวิเคราะห์พบว่าต้านการอักเสบได้จริง พร้อมตรวจการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ด้วยแสงซินโครตรอน ศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.เกรียงศักดิ์ เอื้อมเก็บ อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรีคลินิก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ร่วมกับ อาจารย์เบญจวรรณ ดุนขุนทด อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของเพกา โดยมีความร่วมมือกับ ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อนำแสงซินโครตรอนมาร่วมวิเคราะห์ . ทีมนักวิจัยมีความสนใจฤทธิ์ต้านการอักเสบของเพกา โดยนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอักเสบมาใช้ออกแบบการทดลอง ซึ่งการอักเสบนั้นเป็นการตอบสนองปกติของร่างกายต่อสิ่งที่ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับความเสียหาย ในขณะที่เก