เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
ในระยะนี้เป็นช่วงที่มะม่วงเริ่มออกดอก กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่น ซึ่งระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงได้ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วง โดยช่วงที่มะม่วงกำลังออกดอก ให้หมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบแมลงขนาดเล็กคล้ายจักจั่น กระโดดไป-มา เวลาเดินเข้าใกล้ต้นมะม่วง หรือพบน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และมีราดำขึ้นปกคลุม สามารถจัดการเบื้องต้น โดยในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น และยังช่วยลดปัญหาช่อดอกและใบดำจากราดำด้วย ใช้กับดักแสงไฟดัก จับตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นมะม่วงที่บินมาเล่นไฟ เพื่อช่วยลดความความเสียหาย นอกจากนี้ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วง
ระยะนี้เข้าสู่ช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน โดยระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกจะเกิดความเสียหายมากที่สุด เพลี้ยจักจั่นมะม่วงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วง และติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ขณะที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูล เป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบทรงพุ่ม ทำให้ใบเปียก เกิดราดำปกคลุมมาก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ส่วนใบอ่อน (ใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลง ให้สังเกตด้านใต้ใบมีอาการปลายใบแห้งได้ หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วงให้โปร่งอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดที่หลบซ่อนต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้การพ่นสารฆ่าแมลง
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงที่ขณะนี้มะม่วงอยู่ในระยะแทงช่อดอกจนกระทั่งติดผลอ่อน เนื่องจากสภาพอากาศเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวให้ระวังการระบาดของเพลี้ยจักจั่น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน แต่ระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกำลังแทงช่อดอก โดยเพลี้ยจักจั่นจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานเปียกเยิ้มติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ต่อมาตามใบช่อดอกจะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงลดลง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาดจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง แมลงชนิดนี้พบระบาดทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง พบได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากและทำความเสียหายในช่วงมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะดอกตูม และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บานคือ ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม และจะลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากเริ่มพบการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นให้แจ้งการระบาดและขอคำปรึ
นายวรกุล บุตรดาจักร หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า ช่วงนี้สภาพอากาศมีความหนาวมากและหนาวติดต่อกันหลายวัน ทำให้มะม่วงมีการออกช่อดอก ทำให้เพลี้ยจักจั่นเข้าทำลายช่อดอกมะม่วง โดยเพลี้ยจักจั่นที่เช้าทำลายช่อดอกมะม่วงโดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและยอดอ่อน แล้วขับถ่ายเป็นน้ำหวานจับบนใบหรือช่อดอก มีลักษณะเหนียวเยิ้ม ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นโรคราดำที่ช่อดอก ทำให้ดอกแห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง จึงขอแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด มีดังนี้ ให้ใช้น้ำฉีดชะล้างช่อดอกและใบ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากเชื้อรา การฉีดน้ำแรงพอจะทำให้ตัวอ่อนของเพลี้ยกระเด็นออกมาจากช่อดอก แต่ไม่ควรฉีดน้ำแรงในขณะติดผลอ่อน เพราะอาจทำให้ผลร่วง ให้ใช้กับดักไฟฟ้าเพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ผีเสื้อตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียน ใช้สารเคมี พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน 85% อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และเมื่อเริ่มแทงช่อดอก 1 ครั้ง ถ้าระบาดร