เพาะเห็ดโคน
เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก คนละชนิดกับเห็ดโคนน้อย ความจริงเห็ดโคนน้อยคือ เห็ดถั่ว โดยทั่วไปมักพบขึ้นอยู่ตามกองซากถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว วงจรชีวิตของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกนั้น ต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปลวกงานจะนำเอาสปอร์ ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่นๆ ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือ เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝนก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น และเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์เรา วิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากนำจาวปลวก ที่อยู่ภายในจอมปลวก มีขนาดใกล้เคียงกับกะลามะพร้าวผ่าซีก จอมปลวกหนึ่งรังจะมีจาวปลวกหลายอัน มีลักษณะเบา โปร่ง ซุย มีรอยทางเดิน ซอกแซก ทะลุถึงกันได้ จาวปลวกน่าจะเป็นสวนปลูกเห็ดอ่อน เพราะมีเส้นใยขาวเต็มไปหมด สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป เกษตรกรจะนำส่วนนี้ออกมาถู หรือขยี้ ให้เป็นฝุ่นโปรยลงบนข้าวเหนียวนึ่งสุก ทิ้งให้เย็น เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุกให้เข้ากัน คล้ายกับการทำสาโท นำไปหมักในถังพลาสติก ปิดปากถังด้วยผ้าขาวบาง เกษตรกรบางท่านอาจฉีกหมวกเห็ดโคนผสมลงไปด้วยก็มี
คุณเปรม สุวรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านไร่ตก ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รวมตัวกับชาวบ้านในพื้นที่ จัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดโคนน้อยตามโครงการสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างรายได้ และลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทั้งนี้ได้รับงบฯ สนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,000 บาท จากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนเพาะเห็ดโคนน้อย เช่น ซื้ออุปกรณ์ และปัจจัยการผลิต และมีผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเห็ดโคนน้อย มาแนะนำเทคนิคการเพาะ ผู้ใหญ่เปรม ในฐานะประธานกลุ่ม เปิดเผยว่า การเพาะเห็ดโคนน้อย จะใช้วัสดุหลักเป็นขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ซึ่งจะเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ดีกว่าขี้เลื่อยจากไม้อื่นๆ สูตรการทำก้อนเห็ด ใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำข้าว 8 กิโลกรัม ยิปซัม ปูนขาว ภูไมท์ ยูเรีย อย่างละ 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 200 กรัม โดยนำน้ำมาผสมกับดีเกลือและยูเรียคนให้ละลาย ส่วนขี้เลื่อย รำข้าว ยิปซัม ภูไมท์ ผสมให้เข้ากัน แล้วนำน้ำที่ผสมดีเกลือกับยูเรียค่อยๆ รดลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้มาใส่ถุงพลาสติกอัดให้แน่น น้ำหนัก ถุงละ 1 กิโลกรัม มัดปากถุง โดยใช้จุกพลา