เมนูอาหาร
ปัจจุบันหลังจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บางท่านได้พบเจอปัญหาสุขภาพหรือความแข็งแรงของร่างกายที่อ่อนแอลง ในวันนี้เรามาเริ่มต้นจากสิ่งเล็กระหว่างมื้ออาหาร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการรักษาสุขภาพไปด้วยกัน และทำความรู้จักกับอาหาร 5 หมู่ ที่จะช่วยให้ร่างกายของหลายๆ ท่าน มีพลังงานในการดำเนินชีวิตของเรา มีสุขภาพที่กลับมาแข็งแรงไปด้วยกันเถอะ ทำความเข้าใจกับอาหาร 5 หมู่ หลายๆ ท่านคงจะได้ยินว่าอาหาร 5 หมู่ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรมาบ้าง วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันเถอะ ว่าอาหารที่เราทานในแต่ละวันคือสารอาหารประเภทใดบ้าง อาหาร 5 หมู่ คืออะไร อาหาร 5 หมู่ เป็นอาหารที่ให้พลังงาน สารอาหารให้แก่ร่างกาย เมื่อเราได้บริโภคอาหารเหล่านั้นเข้าไปในปริมาณที่จำเป็น รวมถึงในจำนวนที่เพียงพอต่อร่างกาย โดยไม่บริโภคอาหารในจำนวนมากเกินไป หรือน้อยเกิน เพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารเหล่านั้นไปแปรสภาพเป็นพลังงาน ซึ่งจะช่วยให้ระบบการทำงานในร่างกายของคนเราเป็นปกตินั้นเอง และข้อมูลที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงจะช่วยให้ท่านได้ทำความเข้าใจกับอาหาร 5 หมู่ ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย สารอาหารของอาหาร 5 หมู่ มีอะไรกันบ้างนะ เรามาทำ
“แม็คโคร โฮเรก้า ชาเลนจ์ เป็นสนามการแข่งขันที่หินที่สุดในประเทศไทย” คำกล่าวของ “ปารเมศ สายสุทธิ” นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 3 ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันรุ่นเยาวชน จากเวทีการแข่งขันของภาคกลาง/ภาคตะวันตก ที่ผ่านมา “ผมเข้าสู่วงการแข่งเชฟมาหลายปีแล้วครับ ตั้งแต่ ม.3 จนปัจจุบันเรียนอยู่ปี 3 แต่เวทีของ “แม็คโคร โฮเรก้า ชาเลนจ์” แตกต่าง เรียกได้ว่า เป็นสนามการแข่งขันที่หินที่สุดในประเทศไทย คณะกรรมการละเอียดมาก ผมเข้าร่วมแข่งในเวทีนี้มา 4 ปี แรกๆ ไม่ได้รางวัลอะไร แต่ก็ไม่ยอมแพ้ กลับไปพัฒนาตัวเอง ซ้อม พยายามเตรียมตัว กลับมาแข่งขันในปีต่อๆ ไปให้ดีที่สุด เพื่อลดข้อผิดพลาดของตัวเอง จนวันนี้ผมสามารถทำได้แล้วครับ” ในปีนี้ เวที Makro HoReCa Challenge ใช้ธีมการแข่งขันคือ “วิถีท้องถิ่นเข้มแข็ง (The Local Strong)” เพื่อสื่อถึงความเข้มแข็งของท้องถิ่นในมิติของวัตถุดิบและเชฟโดยในแต่ละพื้นที่ล้วนมีจุดเด่นและความหลากหลาย ผู้ประกอบการ การแข่งขันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานทักษะฝีมือ การสร้างมูลค่าเพิ่มในเมนูอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น การแข่งขันได้กำหนดโจทย์ให้ผ
เมนูธรรมดาที่รสชาติไม่ธรรมดา คือความพิเศษที่เหล่านักชิมกำลังมองหา ด้วยเทรนด์ใหม่สายโลคอล สตรีทฟู้ดของไทยที่โด่งดังระดับโลก เเต่ทว่าร้านขึ้นชื่อกลับไม่ได้หากินได้ง่ายนัก จะดีเเค่ไหนถ้าเหล่าร้านในตำนานมารวมตัวกันให้เราได้ไปตระเวนชิมได้ที่เดียว เตรียมพบกับปรากฏการณ์ความอร่อยกับเมนูพิเศษที่เหล่านักชิมต้องห้ามพลาด ในงาน “เมกา ฟู้ด เทสติวัล 2019” (Mega Food Tastival 2019) จัดโดย มติชนอคาเดมี ระหว่าง วันที่ 8-12 สิงหาคมนี้ ณ เมกา ฟู้ดวอล์ค ชั้น 1 ศูนย์การค้าเมกาบางนา ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Eat Like A Local” โดยรวบรวมกว่า 30 ร้านอร่อย มาไว้ภายในงานแห่งเดียว สายชิมสายช็อปต้องร้องว้าวกับความเอ็กซ์คูลซีฟที่จะได้ลิ้มลอง “เกี๊ยวกุ้ง” อันลือลั่นของต้นตำรับ “เฮียจกโต๊ะเดียว” ไม่ต้องจองกันถึง 2 เดือน อีกต่อไป ต่อด้วยความเข้มข้นสุดบรรยายของ “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวนายหมี” วัดหนามแดง-บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดย นายหมี – อำนาจ พิทยาธร ที่ปรุงก๋วยเตี๋ยวเนื้อสูตรไหหลำ กับน้ำซุปรสเด็ด และการคัดเลือกวัตถุดิบ ใช้น้ำซุปเคี่ยวเนื้อแต่ละวันกว่า 100 กิโลกรัม ไม่ใส่ผงชูรส พ
“เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ” เป็นคำขวัญที่เพียบพร้อมด้วยมนต์เสน่ห์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญคือ เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า เป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามติดอันดับโลก อีกทั้งยังมีอาหารการกินที่มีชื่อเสียง ทั้งอาหารทะเลที่มีความสดใหม่และราคาถูก อาหารพื้นถิ่น เป็นอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ด้านอาหารที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงมีโครงการส่งเสริมมหกรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ ณ ลานพรุเฉวง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการดังกล่าว เป็นการรวมอาหารดี อาหารเด่น จากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ รวมทั้งการนำเสนออาหารฮาลาล ทำการคัดเลือกสุดยอดอาหารฮาลาล ระดับเหรียญทองมานำเสนอ การแข่งขันการประกอบอาหาร และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มี คุณฑิฆัมพร สุทธิอุดมรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ประสานงาน ว่าที่ร้อยตรี กิตติภพ รอดดอน นายอำเภอเกาะสมุย เป็นประธานเปิดงาน คุณอวยชัย อินทร์นาค อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติร่วมงานครั้งนี้ อาหารพื้นถิ่นที
ผมจำได้ว่า แกงส้ม “ชะอมไข่” คือเอาชะอมทอดไข่หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำใส่ชามแกง แล้วราดด้วยน้ำแกงส้มกุ้งข้นๆ ร้อนๆ ปรุงรสจัดๆ นั้น เพิ่งปรากฏตัวชัดๆ ตามร้านอาหารไทยก็เมื่อราว 30 กว่าปีมานี้เอง แล้วก็ฮิตติดเมนูเรื่อยมาจนปัจจุบัน คงเป็นเพราะกินง่าย ดูหรูหรา แถมมีความหอมนุ่มของไข่ทอดชะอมที่สุกในน้ำมัน ซึ่งถึงแม้แปลกลิ้น แต่มันก็อยู่ในวัฒนธรรมการกินแกงกินน้ำพริกที่คนไทยคุ้นชินมาแต่เดิม อย่างไรก็ดี แกงนี้คงมีชีวิตมายาวนานกว่าอายุผม เพราะ หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยอาศัยอยู่ในวังสวนสุนันทามาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ท่านเคยเล่าไว้ว่า ชะอมนั้น ทางห้องเครื่องวังสวนสุนันทา “…เอาไปทอดชุบไข่ อร่อย…แล้วเอามาแกงส้ม ดูดน้ำเข้าไปในชะอม ชุ่ม ขบไปนี่น้ำฟอดออกมาเลย…”แกงส้มชะอมไข่ที่ขายกันตามร้านอาหารไทยเดี๋ยวนี้ เกือบทั้งหมดมักปรุงรสหวานนำ แถมไม่ได้นำน้อยๆ แต่หวานนำมากเอาการเลยแหละ ใครกินหวานย่อมไม่เดือดร้อน ส่วนคนกินไม่หวานแบบผม มีแต่ต้องทำเอง ถึงจะพอกินแนมปลาเค็มทอด ผัดผัก หรือผัดวุ้นเส้นอย่างรื่นรมย์ได้บ้างน่ะครับ จุดพลิกผันของบ้านผมคือ วันหนึ่งเราทดลองเอาเม็ดสะตอมาซอยละเอียด ทอดไข่กินกับน้ำพริกกะปิแบบเด
หน้าร้อนที่บรรดาผักจีนปลูกแปลงยกร่องไม่ค่อยแตกใบงอกงามแข็งแรงได้เท่าหน้าหนาวนี้ เป็นช่วงเวลาของ “ผักยืนต้น” คือผักพื้นบ้านที่มีต้นสูงใหญ่หรือเถาเลื้อยแข็งแรง มีรากลึก สามารถสูบน้ำและธาตุอาหารใต้ดินได้โดยไม่ต้องดูแลมากนัก เรียกว่านี่เป็นฤดูกาลของการกินผักพื้นบ้านก็ว่าได้ ถ้าเราลองไปเดินตลาดสด ก็จะเห็นความคึกคักของแผงผักพื้นบ้านที่ว่าทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ยิ่งเมื่อการคมนาคมขนส่งในปัจจุบันสะดวกรวดเร็วขึ้น ผักเหล่านี้ย่อมเดินทางจากแหล่งกำเนิดมายังหัวเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯได้ง่าย จนเดี๋ยวนี้ดูเหมือนความคิดถึงบ้านของคนหนุ่มสาวต่างจังหวัดที่จำต้องเข้ามาทำงานในเมืองหลวงพอทุเลาไปได้มาก เพราะกับข้าวกับปลาที่ปรุงจากวัตถุดิบคุ้นลิ้นหากินได้สะดวกกว่าแต่ก่อน ผักที่ชื่อเสียงเรียงนามไม่คุ้นหูคนเมือง อย่างอีหล่ำ (มะกล่ำตาช้าง), ซึก (พฤกษ์), ผักหวานป่า, จิก, กระโดน, กุ่ม, กุ๊ก ฯลฯ วางอวดโฉมเรียงรายบนแผงให้เราได้ไถ่ถามซื้อหากลับไปปรุงกับข้าว สำหรับคนที่ปรารถนาลิ้มลองรสชาติความอร่อยแปลกๆ ใหม่ๆ นี่ย่อมเป็นช่วงเวลาอันดี ความรู้ที่ได้จากแม่ค้าว่าผักพื้นบ้านชนิดนี้ชนิดนั้นเอาไปทำอะไร
“หมูตั้ง คืออะไรคะ คุณแม่” เสียงลูกสาว แว่วมาจากริมสวน “แม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ไปถามพี่แดงสิ” คุณแม่ตอบจากหน้าจอโทรทัศน์ มือง่วนกับการถักไหมพรมเป็นชุดให้เจ้า “จูลี่” ตุ๊กตาผ้าหน้าตาขี้เหร่กัวล่าจากออสเตรเลียของพี่แดง เรามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร หมูตั้ง เป็นอาหารจีน “ตือเถาจั่ง” ต้นกำเนิดที่เมืองเถ่งไฮ่ ประเทศจีน เขานำหัวหมูพะโล้มาเลาะมัน หั่นชิ้นเล็ก อัดลงในพิมพ์สี่เหลี่ยมบุฟองเต้าหู้ ทับด้วยของหนักให้น้ำมันและน้ำพะโล้ซึมออกมา เมื่อได้ที่จะติดกันเป็นแท่งหนา นำมาหั่นเป็นแว่นหนา กินกับข้าวต้ม ซีอิ๊วขาว ไม่ปรุงรสอะไร ในเมืองเทียนสิน ทางเหนือ เขตต่อกับปักกิ่ง เรียก “เยาโญ่ว” ใช้ขาหมูตุ๋นเลาะกระดูก เอามาม้วนอัดเป็นแท่ง กินกับซีอิ๊วเจือน้ำส้มผสมกระเทียมกับพริกแดงสดบด ที่เกาหลีก็ทำแบบเดียวกัน ส่วนในเวียดนาม ใช้เนื้อจากหัวหูหมู สามชั้น ปรุงกระเทียม ต้นหอม หอมใหญ่ เห็ดหูหนู พริกไทย น้ำปลา ห่อใบตอง อัดเข้าพิมพ์ไม้ กินในเทศกาลตรุษญวน ซึ่งตรงกับตรุษจีน เมื่อมาถึงเมืองไทย หมูตั้ง รสหวานเค็ม สีออกดำ น้ำจิ้ม พริกชี้ฟ้า กระเทียม น้ำส้มสายชู กินกับแตงกวา หรือที่หั่นเป็นเส้น ใส่ไส้เปาะเปี๊ยะสด จานไทยที่ใกล้เ
หญิงสาวขมวดคิ้วปากมุ่ย เมื่อเห็นชายแปลกหน้าผมเลาประปรายอยู่ในครัวกับแม่ หล่อนไม่แน่ใจว่าเคยเห็นเขาที่ไหนมาก่อน ไม่ว่าในละแวกริมน้ำแม่กลองหรือที่ทำงานในกรุงเทพฯ ดูแม่คุยสนิทสนมเรื่องกับข้าวท้องถิ่นที่แม่ถนัด กับร้านอาหารมีลูกค้ามาอุดหนุนไม่ขาดทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดหรือแม้แต่วันธรรมดา สักพัก แม่คงจะสังเกตว่าลูกสาวมายืนอยู่จนตัวจะล้นประตูครัวเข้าไปแล้ว “ว่าไงจ๊ะ” เธอบุ้ยปากไปที่ชายผมเลา พยักหน้าให้แม่เดินออกมา “ใครน่ะแม่” “คุณไถงจ้ะ แกอยากรู้ตำราต้มกะทิสายบัว มาถามว่าบ้านเราทำอย่างไร” “แม่ไปรู้จักเขาได้ยังไงคะ คุณไฉนเนี่ย” “ไถง ลูก เขาเคยแวะมากินที่ร้านหลายเดือนแล้ว ติดใจปลาคังผัดฉ่า บอกว่าจะมาอีก แต่ก็หายหน้าไปเสียนาน แม่เองก็เกือบลืมไปแล้ว พอเขามาตอนสายนี่ เลยนึกขึ้นได้” “แล้วแม่นึกไง ถึงให้เขาเข้ามาตีสนิทถึงในครัวล่ะแม่” “โธ่ แม่คุณของแม่ เลิกระแวงหวาดผู้ชายได้แล้วลูก คุณไถงเขาแค่มาถามเรื่องกับข้าว แม่ก็บอกเขาไป จะได้ไม่จมหายไปกับคนรุ่นโบราณอย่างแม่ เขาไม่ได้มาเสาะสืบเรื่องลูกสาวของแม่สักหน่อย สงสัยไปได้” “แม่บอกอะไรเรื่องหนูไปหรือเปล่าล่ะ นอกจากต้มกะทิ” “ก้อ ต้มกะทิเนี่ย บ้านเรามีปูเค็