เมล็ดกาแฟ
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ จับมือสมาคมชาวสวนกาแฟไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจในการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในประเทศไทย โดยเนสท์เล่จะรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในประเทศไทยในฤดูการผลิต 2567/2568 ด้วยราคาที่เป็นธรรมอ้างอิงตามราคาตลาดโลก พร้อมมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกอย่างยั่งยืนด้วยหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของกาแฟ เพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “การลงนามในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเนสท์เล่และเนสกาแฟในการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟชาวไทยอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เนสท์เล่มีความยินดีรับซื้อเมล็ดกาแฟโรบัสต้าโดยตรงจากเกษตรกรไทย ในราคาที่เป็นธรรม อ้างอิงตามราคาตลาดโลก ความร่วมมืออันยาวนานนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่า ผลผลิตเมล็ดกาแฟจะมีตลาดรับซื้อที่ไว้วางใจได้ ช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้เราสามารถผลิตกาแฟคุณภาพภายใต้แบรนด์เนสกาแฟเพื่อตอบสนองความต้องการข
เมล็ดกาแฟไทยแพงสุดในรอบ 40 ปี แบบคั่วกิโลกรัมละ 550 บาท พันธุ์โรบัสต้า-อะราบิก้าพุ่งไม่หยุด ขึ้นเกือบเท่าตัว สาเหตุนักท่องเที่ยวทะลัก ผู้บริโภคนิยมดื่ม ชาวสวนไทย-เวียดนาม-สปป.ลาวแห่โค่นต้นกาแฟหันไปปลูกทุเรียนแทน บอร์ดพืชกาแฟเปิดทางรายใหญ่นำเข้าตั้งแต่ต้นฤดู คาดปี ’67 ไทยนำเข้าถึง 60,000 ตันต่อปี นายนัด ดวงใส กรรมการพืชกาแฟ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วง 1-2 ปีนี้ราคาเมล็ดกาแฟได้ปรับตัวสูงขึ้น ปีที่แล้วกาแฟสารอยู่ที่ 80-82 บาทต่อกิโลกรัม แต่ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ราคาอยู่ที่ 132 บาท และมีแนวโน้มว่าจะปรับขึ้นอีกต่อเนื่อง ส่วนราคาค้าปลีกเมล็ดที่คั่วเสร็จแล้วจะปรับขึ้นเป็น 200-300 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเป็นประวัติศาสตร์ในรอบ 40 ปี “คาดการณ์ว่าผลผลิตกาแฟโรบัสต้าทางใต้ไม่น่าจะถึง 10,000 ตัน จากเดิมอยู่ที่ 20,000-30,000 ตัน ไม่รวมพันธุ์อะราบิก้า เพราะภาคใต้ปลูกน้อย ปัจจัยที่กาแฟมีปริมาณน้อยลงทุกปีเพราะชาวสวนหันไปปลูกทุเรียนและมีภัยธรรมชาติ ทำให้การนำเข้าปีนี้คงไม่ต่ำกว่า 60,000 ตัน เท่าที่ท
เป็นที่รู้กันว่า พื้นที่ป่าเขาที่ห่างไกลความเจริญ โดยเฉพาะพื้นที่สูง จะเป็นพื้นที่ที่เกือบทั้งหมดไม่มีเอกสารสิทธิ อยู่ในความดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐ ออกกฎหมายมาคุ้มครองพื้นที่ให้อยู่ในรูปของป่าหรือพื้นที่สงวน อนุญาตให้ใช้เฉพาะกรณี ซึ่งการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวบ้านและป่า ก็เป็นกรณีที่ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนมาโดยตลอด เพราะชาวบ้านในอดีตที่อาศัยอยู่ห่างไกลมีอาชีพที่เกิดมาก็ทำตามบรรพบุรุษ คือ เกษตรกรรม แม้ไม่ได้ถือเอกสารสิทธิบนแปลงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ก็สามารถทำการเกษตรบนพื้นที่นั้นๆ ตามถิ่นที่พำนักในภูมิลำเนาของตน โดยไม่ใช่เรื่องผิด ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ก็เช่นกัน เกษตรกรที่อาศัยอยู่บนที่สูง การเกษตรจำเป็นสำหรับพวกเขา เพราะนั่นคือ อาชีพสำหรับเลี้ยงครอบครัว การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าเขา แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ป่า แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ในป่าได้ โดยไม่ทำลายป่า เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างป่ากับคน เครือข่ายวิสาหกิจวนเกษตรกาแฟอินทรีย์เชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน โดย คุณเสฐียรพงษ์ แก้วสด มองเห็นว่า พื้นที่ป่าที่ชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกิ
เวลานี้ไม่ว่าจะเดินทางแวะเวียนไปที่แห่งใด สิ่งที่ได้สัมผัสพบเจอ และเหมือนเป็นความคุ้นชิน นั่นคือคำถามทักทาย “เช้านี้คุณดื่มกาแฟหรือยัง” หรือบางทีมีเสียงกระซิบบอก “กาแฟถ้วยนะ” ทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทยในยุคนี้ ดูเหมือนว่าจะสัมผัสกับกลิ่นไอ และรสชาติของ “กาแฟ” อยู่ตลอดทั่วทุกหัวระแหง ตั้งแต่ตื่นเช้า ถึงเย็นย่ำค่ำคืน หรือดึกดื่น ชีวิตแต่ละคนล้วนมีเหตุที่ต้องข้องเกี่ยวกับกาแฟอยู่เสมอ ก็อาจมีบ้างบางคนที่ไม่ดื่มกาแฟ แต่ก็เชื่อว่ารู้จักกาแฟ และมีส่วนใกล้ชิดสัมผัสกับกาแฟกันอยู่เป็นประจำ จนคุ้นเคยเหมือนเป็นเพื่อนรัก มีใครบางคนบอกอีกว่า ใช้เป็นยารักษาโรค หรืออาการผิดปกติของร่างกาย แม้แต่ช่วยเสริมสร้างบางอย่างที่ขาดหายของคนเราได้ หลายโรคหลายอาการ คำว่า “กาแฟ” หรือ “คอฟฟี่” (coffee) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาอะราบิก คือคำว่า “ควาฮ์วาฮ์” เป็นภาษากวี หมายถึง ไวน์ แต่เพื่อหลีกหนีสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ ของต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ได้เปลี่ยนสำเนียงเรียกเป็น “คาเวย์” ต่อมาเป็น “คราฟฟี่” และ “คอฟฟี่” ในที่สุด มีภาษาเรียกแตกต่างออกไปอีกหลายชื่อ เช่น คาเฟ่ ของฝรั่งเศส คัฟเฟ่ ของเยอรมัน และอังกฤษเรียกค
กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่หลายคนกำลังให้ความสนใจบริโภค โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ประชาชนนิยมรับประทานเป็นลำดับต้นๆ เพราะด้วยรสชาติและกลิ่นของกาแฟที่เตะจมูก ทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคอย่างยาวนาน สำหรับแหล่งผลิตกาแฟในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในช่วงนี้ คือ กาแฟที่ผลิตในชุมชน จากกลุ่มแม่บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสะพานโยง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล กลุ่มแม่บ้านเกษตกรบ้านสะพานโยง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 506 หมู่ที่ 1 จัดตั้งขึ้นจากลุ่มสตรีในชุมชน ที่ได้รวมตัวสร้างกิจกรรมเสริมด้วยการทำขนมพื้นเมืองทั่วไปจำหน่าย ภายใต้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐที่มาให้การสนับสนุน แต่ด้วยข้อจำกัดของการทำขนมหลายอย่างที่กลุ่มไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กลุ่มฯ จึงหยุดทำไประยะหนึ่ง และเริ่มรวมกลุ่มใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งครั้งนี้ทางกลุ่มฯ ได้หันมาจับข้าวพื้นเมืองที่ปลูกกันอยู่ในพื้นที่แปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชนและกลุ่มฯ กลุ่มฯ มีสมาชิกเริ่มแรกเพียงแค่ 35 คน รวมกันทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย จนปัจจุ
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า มีธุรกิจร้านกาแฟหลากหลายยี่ห้อผุดขึ้นมากันอย่างมากมาย เรียกได้ว่าทั่วประเทศเลยทีเดียว นอกจากนี้ แต่ละร้านยังเสริมสร้างบรรยากาศเป็นส่วนประกอบแห่งการดื่มด่ำกาแฟให้น่าเอร็ดอร่อย น่าดูน่าชม เช่น สร้างกระท่อมกลางทุ่งนา สร้างสะพานเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ตั้งโต๊ะดื่มกาแฟกลางลำห้วย ลำธาร สร้างสถานที่ให้สวยงามเพื่อการถ่ายภาพประกอบ สถานที่ถ่ายภาพที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือวัตถุดิบที่มาจากกาแฟ ผลผลิตกาแฟมาจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ ดังเช่นที่บ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง อากาศหนาวเย็น สภาพป่าไม้ยังคงรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกต้นกาแฟภายใต้ร่มไม้ใหญ่ จึงมีผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ และปริมาณผลผลิตกาแฟมากกว่า 900 ตัน ต่อปี พื้นที่ปลูกมากกว่า 3,000 ไร่ เกษตรกรได้รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตแปรรูปกาแฟ มีสมาชิก 300 ราย แต่ในกระบวนการผลิตกาแฟนั้นมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเก็บเมล็ดกาแฟที่แก่จัดที่เรียกว่าผลเชอรี่ การสี การนำไปหมัก การขัดเมือก การตากเมล็ดให้แห้ง การสีกะลากาแฟ การนำไปคั่วตาม
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงานสัมมนาและลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟในจังหวัดน่าน ระหว่าง วันที่ 24 – 25 มกราคม 2562 ชี้ช่องทางการใช้ประโยชน์จาก เอฟทีเอ และผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟไทยรุกสู่ตลาดโลก นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสมาคมกาแฟไทย หอการค้าไทย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน และสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน เตรียมจัดสัมมนาและลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟตลอดห่วงโซ่การผลิต ในวันที่ 25 ม.ค. 2562 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน เพื่อให้ความรู้และการใช้ประโยชน์จากความตกลง เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟไทย และนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกเพื่อต่อยอด ตลอดจนพัฒนาศักยภาพสินค้ากาแฟไทย ผ่านการแปรรูปและสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย พัฒนาคุณภาพกาแฟไทยให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคไทยและต่างประเทศ เพื่อดันอุตสาหกรรมกาแฟไทยเจาะตลาดโลก การลงพื้นที่และจัดสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่กรมเจรจาฯ จัดต่อเนื่องจาก ปี 2561 ที่ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัด