เมล่อนในโรงเรือน
คุณประเสริฐ บางแดง เจ้าของสวนเมล่อน “น้ำเพชรฟาร์มเมล่อน” อยู่บ้านเลขที่ 3/3 หมู่ที่ 7 ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โทร. 089-641-5176, 061-469-8262 จากมนุษย์เงินเดือนหันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือน ปลูกแบบลงดิน สามารถสร้างรายได้จากเมล่อน 30,000-40,000 บาทต่อรุ่น ทีเดียว คุณประเสริฐ เล่าย้อนกลับไปว่า ก่อนหน้าที่จะมาปลูกเมล่อน ตนเองก็อาจจะเหมือนท่านอื่นๆ ที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานเป็นผู้จัดการปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งมานานพอสมควร ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเกษตรเลย หลังจากอิ่มตัวก็ออกจากงานแล้วไปเปิดเช่าแผงผลไม้ที่ตลาดไท เพราะมีน้องที่รู้จักกันชักชวน ก็เอาแคนตาลูปมาขายที่แผง ขายดีมาก แต่แคนตาลูปมักจะไม่พอขาย ขาดตลาดอยู่บ่อยๆ ตอนสินค้าขาดตลาดก็ต้องวิ่งซื้อหา ทำให้ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อได้ลำบาก ไม่เหมือนพ่อค้าแผงอื่นๆ ที่จะมีลูกไร่ปลูกส่งเข้ามาที่แผง มีการรับซื้อแคนตาลูปจากลูกไร่ในราคาที่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อที่แผงราคาค่อนข้างนิ่งกว่าเราที่ต้องวิ่งออกหาซื้อจากชาวสวน หรือช่วงที่แคนตาลูปจากลูกไร่ขาดช่วงก็หาของมาขายได้ยากมาก จึงมองเห็นว่าผลไม้อย่างแคนตาลูป ยังมีความต้องการอีกมาก
จังหวัดไหนๆ ก็ต้องมีไม้ผลของดีประจำจังหวัด ผลผลิตคุณภาพโดดเด่น สร้างงานและเงินให้กับเกษตรกรในจังหวัดอย่างน้อย 2-3 ชนิด จังหวัดมหาสารคามเอง เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสาน ที่อาจมองไม่เห็นความเด่นของไม้ผลชัดมากนัก เพราะความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่ เมื่อหากย้อนรอยไป 2 ปีที่ผ่านมา “เมล่อน” ไม้ผลตระกูลแตง เริ่มมีเสียงกล่าวถึงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ 14 ไร่ ไม่นับว่ามาก หากใช้เป็นโรงเรือน โรงปรับปรุงพันธุ์ของไม้ผลสักชนิด แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ เทพมงคล ฟาร์ม หรือ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่เพิ่งเปิดตัวทำฟาร์มเมล่อน ติดตั้งโรงเรือนและระบบน้ำหยด ให้เมล่อนคุณภาพดี เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา เพราะนับตั้งแต่ผลผลิตเมล่อนรุ่นแรกที่ได้ ก็ขึ้นห้างวางขายในราคากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท คุณมงคล ธราดลธนสาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด หนุ่มไฟแรงที่เพิ่งผ่านการศึกษาจากสาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลังจบการศึกษาก็เข้าทำงานตำแหน่งนักส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ของบริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชื่อดั
การทำเกษตรในโรงเรือนเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนจำนวนมาก เกินกำลังของเกษตรกรโดยทั่วไป แต่การปลูกพืชในโรงเรือนสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ฝน ที่มีผลเสียต่อพืชบางชนิด รวมถึงสามารถป้องกันแมลงและโรคได้หากมีการจัดการที่ดี ในฤดูฝนผักบางชนิด เช่น ผักสลัด ไม่สามารถทนทานเม็ดฝนที่ตกกระหน่ำจนทำให้ใบช้ำเสียหายและปริมาณน้ำที่มากเกินไป ทำให้แฉะจนเป็นโรคเน่า ผลไม้ เช่น มะเดื่อฝรั่ง และเมล่อน เป็นพืชที่มีโรคพืชคุกคามในฤดูฝนเช่นกัน เกษตรกรชาวมวกเหล็ก คุณสราวุธ ยศสูงเนิน เรียนจบทางด้านจิตวิทยา จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ อยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เจ้าของ “เจ้าป่าฟาร์ม” กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ทางครอบครัวได้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว และใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืชทุกอย่างที่เกษตรกรเขาใช้กัน โดยแปลงเกษตรขนาดใหญ่ 50-60 ไร่ ในการปลูกมะเขือเทศทำให้ต้องการใช้แรงงานประจำมาก 20-30 คน คนไทยไม่นิยมทำงานแบบนี้ จึงต้องใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งขยันและอดทนต่องานหนักมากกว่า แต่ก็มีปัญหาเรื่องการทำบัตรและลงทะเบียนให้ถูกต้อง เพราะแรงงานต่างด้าวชอบย้ายงาน
เมล่อน เรียกได้ว่าเป็นพืชที่ต้องใช้ฝีมือในการปลูกและการยืนหยัดอยู่ในวงการ เพราะความสำเร็จในการปลูกเมล่อนทุกรอบ ทุกครั้ง ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เลย ดังนั้น วงการนี้จึงมีทั้งคนที่เข้ามาและคนที่พับเสื่อไปอยู่ตลอดเวลา วันนี้เรามีโอกาสได้มาเยือนสวนเมล่อนของ คุณมิตร รุ่งเรือง ชาวสวนเมล่อนมืออาชีพที่ยึดอาชีพปลูกเมล่อนมานานกว่า 10 ปี จนวันนี้นอกจากจะปลูกเองแล้ว คุณมิตร ยังส่งเสริมเกษตรกรปลูกเมล่อนเพื่อป้อนตลาด ซึ่งความที่เขาผลิตเมล่อนคุณภาพมาตรฐาน GAP จึงทำให้เมล่อนที่นี่เป็นที่ต้องการของแม่ค้าที่ซื้อขายกันมานาน และวันนี้คุณมิตรยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการปลูกเมล่อนในโรงเรือนกว่า 24 โรงเรือน เพื่อป้อนตลาดบนที่ต้องการเมล่อนคุณภาพสูง ซึ่งแม้จะลงทุนค่อนข้างสูงในส่วนของโรงเรือนเมื่อเทียบกับการปลูกกลางแจ้ง แต่การปลูกในโรงเรือนก็มีข้อดีตรงที่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงจากโรคและแมลงได้ระดับหนึ่ง จึงสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย อีกทั้งยังความเสียหายจากสภาพแวดล้อม เช่น น้ำค้างหนัก ฝนตกหนัก แสงแดดและอื่นๆ ได้อีกด้วย การปลูกเมล่อนใน
“เมล่อน” เป็นพืชตระกูลแตง จะมีโรคและแมลงศัตรูที่มากพอสมควร ดังนั้น จึงมีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงมากพอสมควร โดยเฉพาะปลูกแบบกลางแจ้งหรือสภาพไร่ ซึ่งเกษตรกรบางท่านจึงจำเป็นต้องมีการเช่าที่เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งการปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยได้มากในเรื่องของการป้องกันแมลงศัตรูขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ทำให้การใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อยลงมากจนเกือบจะไม่ได้ใช้เลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างสวนเมล่อนที่ปลูกเมล่อนในระบบโรงเรือน โดยประกอบเป็นอาชีพเสริมจากงานประจำ สร้างรายได้เป็นอย่างดีให้กับครอบครัว คุณอุเชนทร์ พุกอิ่ม หรือ คุณน้อย อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 7 บ้านคลองเขาควาย ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (098) 803-0107 เจ้าของสวนเมล่อนในโรงเรือน “ไร่ถุงทองฟาร์ม” คุณอุเชนทร์ เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นคนพิจิตร ไปทำงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเลนส์สายตา ที่จังหวัดชลบุรี นานกว่า 20 ปี ที่หันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากการทำงานก็เริ่มอิ่มตัว คิดว่าอนาคตอยากกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด ด้วยแนวคิดที่ว่าอยากสร้างพื้นฐานไว้ล