เรดเลดี้
รอยต่อระหว่างจังหวัดตากไปลำปาง สองข้างทาง ดูไม่ร่มรื่นนัก โดยเฉพาะที่อำเภอสามเงา ทั้งนี้ เป็นเพราะอยู่ในอิทธิพลของเงาฝน กระนั้นก็ตาม เมื่อเลี้ยวลึกเข้าไปตามซอกซอย จะเห็นแปลงปลูกฝรั่ง กล้วยไข่ รวมทั้งมะละกอ เกษตรกรอาศัยความอุมสมบูรณ์ที่แม่น้ำวังไหลผ่าน สำหรับทำการเกษตร มะละกอที่ปลูกกัน ทำรายได้ให้ดี โดยเฉพาะพันธุ์เรดเลดี้ คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเขตภาคเหนือ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช กระบี่ และจังหวัดอื่นๆ ลักษณะประจำพันธุ์ “เรดเลดี้” มะละกอของบริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ที่ได้รับความนิยมมีอยู่หลายสายพันธุ์ เรดเลดี้ เป็นสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นคือให้ผลผลิตเร็ว ลำต้นสูง 60-80 เซนติเมตร ก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลผลิตมากกว่า 40-50 ผลต่อต้น ต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบด่างวงแหวนได้ดี ผลที่เกิดจากดอกตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง ผลที่เกิดจากดอกกะเทย ผลมีลักษณะยาว เนื้อหนา น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อสุก มะละกอเรดเลดี้มีกลิ
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว หากพูดถึงมะละกอ คนไทยจะคุ้นเคยกับ คำว่า “มะละกอแขกดำ” กันดี มะละกอแขกดำ มีจุดเริ่มต้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จากนั้นก็กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ มะละกอเป็นพืชที่กลายพันธุ์ง่าย เมื่อนำไปปลูกถิ่นอื่นนานๆ ลักษณะก็จะเปลี่ยนไป เมื่อพบสิ่งที่ดี ผู้ปลูกก็จะเก็บสิ่งนั้นไว้ สถานีวิจัยพืชสวนท่าพระ จังหวัดขอนแก่น นำมะละกอแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ” ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีษะเกษ นำแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ ได้ชื่อว่า “แขกดำศรีษะเกษ” เกษตรกรที่จังหวัดจันทบุรี ปลูกมะละกอแขกดำกันมาก จนเกิดการกลายพันธุ์ รู้จักกันดีในนาม “แขกดำหนองแหวน” คุณปรุง ป้อมเกิด เกษตรกรที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ปลูกมะละกอมานาน เขาเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ จนเรียกได้ว่า “แขกดำนายปรุง” แขกดำสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อหวังดัง หรือหวังเป็นการค้า แต่พบลักษณะที่แปลกและแตกต่างอย่างชัดเจน อาจจะเป็นรูปร่าง รวมทั้งคุณสมบัติภายใน อย่างสี รสชาติ ความต้านทานโรค ผลผลิตต่อต้น พยายามถามหาที่มาของชื่อมะละกอ …ทำไม จึงชื่อ แขกดำ รองศาสตราจารย์วิจิตร วังใน อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะ