เลี้ยงกุ้ง
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการเลี้ยงกุ้ง พัฒนาศักยภาพของฟาร์มเลี้ยงกุ้งไปสู่รูปแบบฟาร์มสีเขียว สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไทยภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG Model) การศึกษาครั้งนี้ สศก. ได้ทำการศึกษาเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 3 ราย ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ที่มีการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยการนำดินตะกอนเลนจากบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง ไปใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยการผลิต และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. การนำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมัก หากนำดินตะกอนเลนกุ้งมาผลิตปุ๋ยหมัก 1,200 กิโลกรัม จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 428 บาท หรือคิดเป็นกิโลกรัมละ 0.36 บาท 2. การนำมาใช้ในการทำเกษตร โดยการน
กว่า 40 ปีที่ผ่านมา กระผมขอเล่าเรื่องสู่กันฟังว่า จากเด็กน้อยที่เกิดและเติบโตในชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน “จังหวัดกาฬสินธุ์” หรือ เมืองดินดำน้ำชุ่ม ที่มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ เขื่อนลำปาว เขื่อนดินเพื่อการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความรู้สึกของกระผม เขื่อนแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ก่อนพื้นเพเดิมของคนท้องถิ่นอีสานบ้านเราจะมีอาชีพทำนา โดยเฉพาะข้าวเหนียว เป็นอาชีพหลัก แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป การพัฒนาด้านการเกษตรและการนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณที่เป็นองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ระหว่างเกษตรกรสู่เกษตรกร ซึ่งเป็นครูที่สำคัญของชุมชน ผู้นำชุมชนที่นำพานำทางความคิดที่สำคัญมาสู่ชุมชนหรือหมู่บ้านอย่างยั่งยืน บ้านตูม หมู่ที่ 4 ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดย กำนันสัมฤทธิ์ ภูโอบ และ พ่อใหญ่แย้ม สุธรรมา คนเก่าแก่ของหมู่บ้านในสมัยนั้น ได้นำ “กุ้งก้ามกราม” หรือ กุ้งนาง มาเลี้ยงเป็นเจ้าแรกในหมู่บ้าน ซึ่งขณะนั้นกระผมอายุประมาณ 12 ปี จนเป็นจุดเริ่มต้
เป็นที่ทราบกันดีว่า กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมากที่สุด มีเกษตรกรเลี้ยงประมาณ 1,000 กว่าราย พื้นที่เกือบ 10,000 ไร่ จำนวน 5,000 กว่าบ่อ โดยเลี้ยงกันมากใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำจากเขื่อนลำปาว คุณพนิดา ภูทองหล่อ ก็เป็นเกษตรกรรายหนึ่งของตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด ซึ่งยึดอาชีพเลี้ยงกุ้งมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยเลี้ยงกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ ซึ่งคุณพนิดามาสานอาชีพนี้ต่อ และยังได้รับเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2561 โครงการ Smart Farmer จังหวัดกาฬสินธุ์ ของกรมประมง สานอาชีพต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ ตัวคุณพนิดาเองนั้น หลังจบ ม.6 ก็ไปทำงานในโรงงานที่กรุงเทพฯ กระทั่งพ่อแม่เสียชีวิตจึงกลับมาบ้านเกิด เริ่มเลี้ยงกุ้ง เมื่อปี 2545 ในพื้นที่ 9 ไร่ จำนวน 2 แปลง และเช่าพี่สาวทำนากุ้งอีก 5 ไร่ ซึ่งแต่ละปีคุณพนิดาสามารถเลี้ยงกุ้งได้ 2 รอบ รอบละ 5 เดือน หักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว รอบหนึ่งๆ มีกำไรหลายหมื่นบาท ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น พูดได้ว่าเข้าขั้นเศรษฐินีเลยก็ว่าได้ ในการเลี้ยงกุ้งเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีแ
“ขั้นตอนของการเลี้ยงกุ้งที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมบ่อ และคุณภาพน้ำ ดังนั้น บ่อพักน้ำจึงจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกุ้งมาก เพื่อให้น้ำมีคุณภาพ นอกจากนี้ คุณภาพของลูกกุ้งที่นำมาก็สำคัญ ต้องเลือกลูกกุ้งจากแหล่งที่ได้ผ่านการรับรองการตรวจคุณภาพและโรคของกุ้ง” ข้อมูลข้างต้น คุณวศิน ธนภิรมณ์ วัย 68 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจากการนั่งคุยยาวนานค่อนชั่วโมง ประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งของคุณวศินไม่เป็นรองใคร แม้กระทั่งเพื่อนบ้านรอบข้างหรือคนในอำเภอหนอกจิกที่เคยเลี้ยงกุ้งมาด้วยกัน ล้มเลิก เปลี่ยนอาชีพจากเลี้ยงกุ้งไปทำการประมงชนิดอื่นกันเกือบหมด เพราะประสบภาวะขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้ง สำหรับคุณวศินเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น ประสบการณ์ที่คุณวศินได้รับ ช่วยกระตุ้นสร้างแนวคิดการเลี้ยงกุ้งอย่างถูกวิธี มีเทคนิคการสร้างธรรมชาติการเลี้ยงกุ้งให้เกิดความสมดุล ทำให้บ่อกุ้งที่เลี้ยงมา 30 ปี ยังคงเป็นบ่อกุ้งมาโดยตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเป็นทำการประมงชนิดอื่น อีกทั้งปีที่ผ่านมา คุณวศินเอง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ประจำปี 2561 คุณวศิน ธนภิรมณ์ อยู่บ้านเลขที่ 104/5 หมู่ที่ 1
ทุกๆ ฤดูกาล การทำการเกษตร จำเป็นต้องปรับวิธีการจัดการให้ดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งผลผลิตและการประคองรายได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรเองว่ามีกลยุทธ์และพลิกแพลงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำการเกษตรได้แค่ไหน คุณศุภกิตติ์ เซียนประเสริฐ หรือ คุณอ้วน หนุ่มวัย 40 ต้นๆ ที่จับอาชีพเลี้ยงปลาและกุ้งมานาน ปัญหาการเลี้ยงกุ้งและปลา มีไม่แตกต่างจากเกษตรกรรายอื่น แต่ทุกๆ วิกฤติที่ผ่านเข้ามา คุณอ้วน ก็มีวิธีการจัดการให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างไม่มีปัญหา พื้นที่ 16 ไร่ จากเดิมเป็นที่นา คุณศุภกิตติ์ ปรับพื้นที่ให้เป็นบ่อเลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้ง โดยเลี้ยงแบบผสมผสานภายในบ่อเดียวกัน เพื่อให้เกิดรายได้ตลอดปี คุณศุภกิตติ์ บอกว่า การปรับพื้นที่ทำนาเพื่อใช้เลี้ยงปลา เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เนื่องจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และหญ้า ล้วนเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำเป็นอย่างดี เพราะปลากินพืช สามารถเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกันได้หลายชนิด คุณศุภกิตติ์ จึงเลือกเลี้ยงปลาหลายชนิดไว้ในบ่อเดียวกัน เป็นปลายี่สก ปลาตะเพียน และปลานิล โดยเน้นจำนวนปลานิลมากกว่าชนิดอื่น เหตุผลเ
คุณสัญชัย มัดดา วัย 41 ปี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “บังมัด” เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา อยู่บ้านเลขที่41/13 หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ใช้บริเวณบ้านเลี้ยงกุ้งฝอยนา ขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน โดยส่งขายไปทั่วประเทศผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเขาได้เปิดเพจชื่อ นาวาฟาร์มกุ้งฝอย ไว้คอยบริการลูกค้า คุณสัญชัย มัดดา (บังมัด) เล่าที่มาที่ไปของการเลี้ยงกุ้งฝอยนาให้ฟังว่า ได้แรงจูงใจมาจากคุณพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กๆ ตอนอยู่ กทม. เห็นคุณพ่อเลี้ยงปลาสวยงามส่งขายตลาดนัดสวนจตุจักร มีรายได้ ซึ่งตอนนั้นก็ช่วยคุณพ่อเลี้ยงด้วย คุณพ่อจะสอนให้ทำทุกอย่าง จนกระทั่งมีความชอบสัตว์น้ำมาตั้งแต่เด็กๆ พอมาอยู่จังหวัดยะลา การเลี้ยงปลาสวยงามแบบคุณพ่ออาจจะมีปัญหาเรื่องการขนส่ง พี่ชายเลยแนะนำให้เลี้ยงกุ้งฝอย เนื่องจากมองว่ามีความรู้พื้นฐานเรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำอยู่แล้ว และไม่ต้องใช้เวลาดูแลมากนัก จึงเริ่มเลี้ยงเมื่อปีที่แล้ว โดยลงทุนครั้งแรก 3,000 บาท หลายคนคงสงสัยว่า การเลี้ยงกุ้งฝอยแบบนี้ ใช้น้ำอะไร คุณสัญชัย แจกแจงว่า สามารถใช้ได้ทั้งน้ำบาดาลและน้ำประปา เนื่องจาก
เกษตรกรสหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด มั่นใจวิธีทำฟาร์มกุ้งระบบ 3 สะอาด ป้องกันโรคได้ เร่งปรับพื้นที่เลี้ยงเพิ่มผลผลิตและรายได้ หวังปลดหนี้จากการขาดทุนสะสมในช่วงที่เกิดโรคกุ้งและอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome หรือ EMS) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ได้มีการปรับพื้นที่การเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาด เพิ่มขึ้นจาก 3 รายเป็น 11 ราย ผลประสบความสำเร็จมากกว่า 90% และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เกษตรกรไม่มั่นใจลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามแนวทางดังกล่าว สำหรับเทคนิคการเลี้ยงกุ้ง 3 สะอาด คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง การจัดการและแก้ปัญหาอาการกุ้งตายด่วน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ผลผลิตกุ้งไทยเสียหายไปกว่า 50% ในช่วงปี 2555-2559 โดยเทคนิคนี้จะให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบ คือ พื้นบ่อสะอาด น้ำสะอาดและลูกกุ้งสะอาดปลอดโรค น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสาตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ขณะนี้ EMS ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ซีพีเอฟ ได้คิดค้นวิธี 3 สะอาด ป