เลี้ยงปลาลดต้นทุน
อาชีพเพาะเลี้ยงปลา เป็นหนึ่งในอาชีพยอดนิยมที่เกษตรหันมายึดทำเป็นอาชีพ โดยมีระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกษตรกรแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดเองโดยจะดูตามลักษณะของสถานที่และทุนที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงปลา จริงแล้วทำได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจากตำราที่ได้เขียนไว้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงที่เผยแพร่นั้น จะเห็นว่ามีแนวทางการเพาะที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรู้ความถนัดของผู้เลี้ยงแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารูปแบบการเลี้ยงใดก็ตาม สุดท้ายเกษตรกรส่วนใหญ่จะคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนที่ได้ ความคุ้มค่า และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ป้าละมาย วงษ์เสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผล 2 ประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยวประเภท มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันม
เกษตรกรปราดเปรื่อง ด้านปลาสลิด คุณปัญญา โตกทอง ชาวตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (smart farmer) ในเรื่องของการเลี้ยงปลาสลิดด้วยงานวิจัย เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเรื่องประสิทธิภาพการผลิตและผลตอบ แทนจากการผลิตสูง คุณปัญญา เกิดและเติบโตในครอบครัวเกษตรกร เรียนจบแค่ ป.4 พ่อแม่เลี้ยงกุ้งในนาเป็นอาชีพ สมัยเด็กๆ ก็เคยช่วยพ่อแม่เลี้ยงกุ้ง หลังแต่งงาน ก็แยกตัวออกมาทำกิจการนากุ้งเป็นของตัวเอง แต่เจอปัญหาอุปสรรคบางประการทำให้ต้องหยุดการเลี้ยงกุ้งช่วงหนึ่ง ช่วงประมาณปี 2537 คุณปัญญาเห็นเพื่อนบ้านเลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่นาข้าวได้ผลกำไรงาม จึงตัดสินใจเลี้ยงปลาสลิดบนเนื้อที่ 30 กว่าไร่ เนื่องจากอ่อนประสบการณ์ทำให้ประสบปัญหาทุนหายกำไรหด ปีแรกมีรายได้เลี้ยงครอบครัวเพียงแค่ 50,000 บาทเท่านั้น 01 เดิมทีคุณปัญญาและเกษตรกรในชุมชนแห่งนี้เลี้ยงปลาแบบปล่อยตามธรรมชาติ ไม่มีการจดบันทึก ไม่มีเทคนิคการเลี้ยงที่เป็นแบบแผน แต่ภายหลังพวกเขาได้รับการอบรมด้านงานวิจัยประมง จึงได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาปรับใช้ในอาชีพการเลี้ยงปลา คุณปัญญานำเทคนิคการจดบัน
“อาชีพประมง” เป็นอาชีพที่จับสัตว์น้ำหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำประมงนั้นสามารถทำได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกอาชีพของคนไทยที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล อาชีพประมงจะมีมากบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการทำประมงน้ำเค็ม ส่วนการทำประมงน้ำจืดนั้นจะมีอยู่ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งจะพบมากบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของคนไทยที่ไหลผ่านหลายจังหวัดด้วยกัน การทำประมงน้ำจืดส่วนมากที่พบบริเวณริมฝังแม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปลาที่เพาะเลี้ยงก็จะเป็นปลาเศรษฐกิจของไทย อย่างเช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุกบิ๊กอุย ฯลฯ คุณพะเยาว์ และ คุณประมวล รุ่งทอง สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสองเป็นเกษตรหัวไวใจสู้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ กล้าที่จะทดลองและรับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ปัจจุบันทั้งสองมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุณประมวล (ภรรยา
ปัจจุบัน กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย หันมาใช้หญ้าเลี้ยงปลาแทนการใช้อาหารปลาบรรจุกระสอบที่วางจำหน่ายตามตลาดกันอย่างแพร่หลาย โดยชาวบ้านปลูกและซื้อขายหญ้าด้วยกันเอง ซึ่งจะนำต้นและใบมาปั่น บด รวมถึงปรุงเป็นส่วนผสมพิเศษก่อนนำไปให้ปลา นอกจากนี้ ยังนำหญ้าวางซ้อนในบ่อปลาสลับกับมูลวัว ซึ่งพบว่าปลาเข้าไปตอดกินหญ้าดังกล่าว โดยวิธีการนี้ช่วยให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างมาก ปัจจุบันหญ้าจึงกลายอาหารหลักที่ผู้เลี้ยงปลาในจังหวัดเชียงราย ใช้เลี้ยงปลาในบ่อของตัวเองแล้ว หญ้าที่ใช้เลี้ยงปลาคือ เนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งได้คิดสูตรขึ้นเพื่อให้นำมาเลี้ยงปลาได้ โดยใช้สูตร 6 : 4 : 1 คือ หญ้า 6 ส่วน รำข้าว 4 ส่วน และหัวอาหาร 1 ส่วน เมื่อนำมาผสมและบดแล้วให้ปลา พบว่าปลากินดีมาก ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้อย่างมาก เพราะในปัจจุบันอาหารปลามีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26 บาท แต่ถ้าใช้หญ้า ต้นทุนจะลดเหลือเพียงกิโลกรัมละ 6 บาท นอกจากนี้ ผลพลอยได้ยังพบว่าน้ำในบ่อปลาไม่เน่าเสีย ซึ่งแตกต่างจากการให้อาหารปลาทั่วไปที่มักประสบปัญหาน้ำเสียหรือมีกลิ่น โดยน้ำที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีสีเขียวอ่อนๆ ตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันปล
ทุกๆ ฤดูกาล การทำการเกษตร จำเป็นต้องปรับวิธีการจัดการให้ดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งผลผลิตและการประคองรายได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรเองว่ามีกลยุทธ์และพลิกแพลงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำการเกษตรได้แค่ไหน คุณศุภกิตติ์ เซียนประเสริฐ หรือ คุณอ้วน หนุ่มวัย 40 ต้นๆ ที่จับอาชีพเลี้ยงปลาและกุ้งมานาน ปัญหาการเลี้ยงกุ้งและปลา มีไม่แตกต่างจากเกษตรกรรายอื่น แต่ทุกๆ วิกฤติที่ผ่านเข้ามา คุณอ้วน ก็มีวิธีการจัดการให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างไม่มีปัญหา พื้นที่ 16 ไร่ จากเดิมเป็นที่นา คุณศุภกิตติ์ ปรับพื้นที่ให้เป็นบ่อเลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้ง โดยเลี้ยงแบบผสมผสานภายในบ่อเดียวกัน เพื่อให้เกิดรายได้ตลอดปี คุณศุภกิตติ์ บอกว่า การปรับพื้นที่ทำนาเพื่อใช้เลี้ยงปลา เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เนื่องจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และหญ้า ล้วนเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำเป็นอย่างดี เพราะปลากินพืช สามารถเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกันได้หลายชนิด คุณศุภกิตติ์ จึงเลือกเลี้ยงปลาหลายชนิดไว้ในบ่อเดียวกัน เป็นปลายี่สก ปลาตะเพียน และปลานิล โดยเน้นจำนวนปลานิลมากกว่าชนิดอื่น เหตุผลเ
คุณพะเยาว์และคุณประมวล รุ่งทอง สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จงหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝังแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสองเป็นเกษตรหัวไว้ใจสู้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ กล้าที่จะทดลองและรับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร ปัจจุบันทั้งสองมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุณประมวล (ภรรยา) เล่าให้ฟังว่า เดิมทีตัวเองมีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าในหมู่บ้าน ส่วนคุณพะเยาว์ (สามี)นั้นมีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ด้วยอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังที่สามีทำอยู่นั้น ทุกวันยิ่งทำก็เริ่มแย่ลงๆ มีกำไรน้อย ขาดทุนบ้าง ได้กำไรบ้าง เพราะการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังต้องใช้คนในการดูแลพอสมควร ลำพังจะให้สามีทำและดูแลคนเดียวก็ไม่ไหว ทำให้ตัวเองต้องตัดสินใจเลิกตัดเย็บเสื้อผ้าและหันมาช่วยสามีเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเพียงอย่างเดียว คุณประมวล เล่าให้ฟังอีกว่า ตัวเองและสามีเริ่มเพาะเลี้ยงปลาในกระชังมาตั้งแต่ปี 2542 เริ่มแรกมีกระชังทั้งหมด 10 กระชัง ปลาที่เพาะเลี้ยงจะมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ทั้ง ปลาดุก ปลาสวาย ปล