เลี้ยงปลาในกระชัง
อาชีพเพาะเลี้ยงปลา เป็นหนึ่งในอาชีพยอดนิยมที่เกษตรหันมายึดทำเป็นอาชีพ โดยมีระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกษตรกรแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดเองโดยจะดูตามลักษณะของสถานที่และทุนที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงปลา จริงแล้วทำได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจากตำราที่ได้เขียนไว้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงที่เผยแพร่นั้น จะเห็นว่ามีแนวทางการเพาะที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรู้ความถนัดของผู้เลี้ยงแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารูปแบบการเลี้ยงใดก็ตาม สุดท้ายเกษตรกรส่วนใหญ่จะคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนที่ได้ ความคุ้มค่า และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ป้าละมาย วงษ์เสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผล 2 ประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยวประเภท มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันม
“ปลาย่ำสวาท” หรือ “ปลากะรังจุดฟ้า หรือปลากุดสลาด” เป็นปลาที่หายาก มีรสชาติอร่อยสุดยอด เป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ปัจจุบัน ที่เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก จังหวัดตราด บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าในกระชังธรรมชาติ 5-6 แห่ง โดยเกาะช้างจะเป็นแหล่งที่เลี้ยงมากที่สุด การเลี้ยงใช้ลูกพันธุ์ธรรมชาติ เพราะการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ลูกปลาเชิงพาณิชย์ทำได้ยาก จึงทำให้ราคาปลาย่ำสวาท สูงถึงกิโลกรัมละ 900-1,200 บาท ด้วยรสชาติความอร่อยของเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาดิบ ซาซิมิที่ขึ้นชื่อ ทุกวันนี้มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงหน้ากระชัง และรวมทั้งบรรดาร้านอาหารบนเกาะช้างนำไปทำเมนูรับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้านได้ดีทีเดียว บ้านด่านใหม่ คลองสน เกาะช้าง เลี้ยงมานาน ร่วม 30 ปี ผู้ใหญ่เนรมิตร นพวรรณ หรือ ผู้ใหญ่มิตร อยู่บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 2 บ้านด่านใหม่ ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด วัย 50 ปี เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 และผู้เลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า หรือชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆ ว่า ปลากะรัง เล่าว่า เดิมครอบครัวทำประมงพื้นบ้าน สวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนทุเรียน การเลี้ยงปลากะรั
จุดเริ่มต้นของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหินลูกช้างเกิดจากการแนะนำของชาวประมงพื้นบ้าน ที่ได้ทำการออกเรือหาปลาบริเวณคลองเบน ตำบลหาดสำราญ สังเกตเห็นก้อนหินขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนช้างหลายเชือกกำลังเล่นน้ำอยู่ บางเชือกอยู่ในป่าโกงกาง บางเชือกอยู่กลางคลองน้ำเค็ม จึงได้ประสานไปยังนายอำเภอหาดสำราญเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ. 2561 ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนคลองหินลูกช้าง ตามคำแนะนำของสำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของสินค้าและบริการที่มีอยู่ ทั้งการเลี้ยงปลาในกระชัง การแปรรูปอาหารทะเล รวมถึงการนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและพัฒนาศักยภาพการบริการ ตลอดจนรูปแบบการจัดการท่องเที่ยว ในปี 2564 ได้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินศักยภาพและจัดทำแผนพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชน ได้คะแนนระดับ B แสดงให้เห็นว่าเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพพร้อมรับการพัฒนา การเดินมายังแหล่งท่องเที่ยวหินลูกช้าง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งกอ ตำบลบ้าหวี อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง โดยสามารถมาได้ 2 เส้นทาง คือ
การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในชุมชน เป็นสิ่งที่เกษตรกรในพื้นที่บ้านห้วยใหญ่ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง หันมาให้ความสำคัญ และสิ่งนี้ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มและชุมชน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาให้กับสมาชิกในชุมชนได้เป็นอย่างดี คุณบุญรอด บุญช่วย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำการเกษตรบ้านห้วยใหญ่อ่าวตง เล่าว่า อดีตที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ของชุมชน ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นหลัก แต่ด้วยราคายางพาราและปาล์มน้ำมันมีความไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อรายได้ของสมาชิกในชุมชน ตนเองและกรรมการหมู่บ้านจึงมีแนวความคิดที่จะส่งเสริมให้สมาชิกประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น อีกทั้งบ้านห้วยใหญ่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหลุมพอลาย ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 28 ไร่ ซึ่งถือเป็นต้นทุนด้านแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ สำนักงานเกษตรอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ได้เข้าไปส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ด้านการรวมกลุ่ม ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมหุ้นกันเพื่อเลี้ยงปลาในกระชังและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของวิสา
การเลี้ยงปลาในบ่อดิน สมัยก่อนผู้บริโภคจะมีความกังวลในเรื่องของกลิ่นโคลนเป็นอย่างมาก ต่อมาเกษตรกรได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและได้ศึกษาความรู้ต่างๆ อย่างจริงจัง ส่งผลให้การเลี้ยงปลาในบ่อดินเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และสามารถจำหน่ายเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานมีการรับรองมาตรฐานจีเอพี (GAP) สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ไม่น้อยทีเดียว ต่อมาเมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้น เกษตรกรจึงมีการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องมีรายได้ไม่ขาดช่วง คุณทองอยู่ ไหวพริบ อยู่ที่ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่คร่ำหวอดในเรื่องของการเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม โดยการเลี้ยงที่นี่จะเน้นเลี้ยงในบ่อดิน แต่มีกระชังสำหรับใส่เลี้ยงอีกชั้นหนึ่ง โดยปลาทั้งหมดจะอยู่ภายในกระชัง ปลาสามารถโตดีตามมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ต่อมาเกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ส่งปลาภายในกลุ่มเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เป็นสินค้าที่สร้างได้ให้กับเกษตรกรในย่านนี้ตลอดทั้งปี คุณทองอยู่ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเริ่มเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินเหมือนเช่นทุกวันนี้ สมัยก่อนได้ทำนายึดเป
การเลี้ยงปลากระชังในบ่อดิน เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยง เพราะเป็นวิธีที่ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อยสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการการเลี้ยงก็ไม่มาก สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมที่มีผลตอบแทนคุ้มค่าได้เป็นอย่างดี คุณรำพึง เถือนถ้ำแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 5 ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่มีความสนใจในอาชีพประมง และหันมายึดเป็นอาชีพตั้งแต่อายุ 20 ปี คุณรำพึง เริ่มทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งในบ่อดินก่อน เลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องพบกับปัญหาของตลาดและราคาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตลงในบางส่วน ทำให้บ่อกุ้งที่เคยใช้เลี้ยงว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ คุณรำพึงจึงใช้ประโยชน์จากบ่อกุ้ง โดยการปรับปรุงใช้ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลานิลไปพร้อมกับเพาะเลี้ยงกุ้ง “เราเลี้ยงแบบกึ่งอาศัยธรรมชาติ ปล่อยในบ่อดิน ให้อาหารเม็ด เช้า – เย็น ให้ปลาได้กินพืช กินแร่ธาตุในดินไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ผลตอบแทนในช่วงแรกๆ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับกุ้งและการทำนา แต่พอช่วงหลังเริ่มสังเกตุได้ว่าปลาที่เลี้ยงนั้นเริ่มโตช้าและใช้เวลาเ
คุณชัยวัฒน์ สุขสำแดง อยู่บ้านเลขที่ 67 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่ประสบผลสำเร็จมากว่า 20 ปี โดยเขาได้ใช้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำให้เกิดประโยชน์ ด้วยการมาเลี้ยงปลาในกระชังที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีข้อดีคือกระชังของเขาอยู่เหนือเขื่อนจึงทำให้มีน้ำเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี ทำให้เวลานี้จากงานที่คิดจะทำเป็นอาชีพเสริม กลายเป็นงานที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้กับเขาได้เป็นอย่างดี จากแค่คิดทดลองเลี้ยง จนกลายเป็นอาชีพ คุณชัยวัฒน์ สุขสำแดง เล่าให้ฟังว่า ช่วงสมัยก่อนนั้นมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมทั่วไปคือ ปลูกพืช ต่อมาได้รู้สึกว่าอยากจะเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพเสริม โดยเห็นว่าบริเวณที่ดินอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำ มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี จึงมีแนวคิดว่าการเลี้ยงปลาน่าจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ จึงได้ทดลองเลี้ยงแบบจำนวนน้อยๆ โดยเริ่มเลี้ยงในช่วงแรก ประมาณ 2 กระชัง “ช่วงนั้นเริ่มจากทีละน้อยก่อน เพราะว่าเรื่องการตลาดเรายังไม่มีความรู้มากนัก พอเลี้ยงแล้วเริ่มประสบผลสำเร็จ ก็ขยับขยายการเลี้ยงมาเรื่อยๆ ซึ่งปลาที่เลี้ยงอยู่ในกระชังก็มี 3-4 ชนิด คือ ปลาดุก ปลาทับทิม ปลาก
เมื่อวันที่ 5 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เศษซากต้นสนที่ล้มระเนระนาดอยู่ในทะเลอ่าวไทยห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 200 เมตร ในพื้นที่หมู่ 1 อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เกิดจากความแรงของกระแสคลื่นที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ส่งผลให้เนินทรายที่มีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 500 เมตร ความกว้างมากกว่า 50 เมตร และแนวต้นสนมากกว่า 50 ต้น ซึ่งเคยเป็นเกราะป้องกันชายฝั่งก่อนหน้านี้ ต้องล้มระเนระนาดจนแทบไม่เหลือเนินทรายให้เห็นอีกต่อไป นอกจากนี้กระแสคลื่นยังกวาดเอาทรายเข้าหาฝั่ง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงในกระชัง พื้นที่หมู่ 1 ตำบลหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ทำให้ชาวประมงต้องเร่งกู้กระชัง ด้วยการเข้าไปกวาดเอาทรายที่เข้าไปทับถมในกระชังปลาออก เพราะอีกหลายกระชังยังมีปลาที่เลี้ยงไว้ รอจับขาย และในบริเวณดังกล่าวชาวประมงยังต้องใช้เป็นสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังต่อไป ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว ชาวประมงในพื้นที่กังวลว่าในปีต่อไปเมื่อไม่มีเนินทรายและแนวต้นสน เป็นที่ดูดซับความแรงของกระแสคลื่นในทะเลอ่าวไทยแล้ว ชาวประมงหวั่นเกรงว่า ความแรงของคลื่นจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาวประมงและผู้เลี้ยงปลาใ
วันที่ 13 ธันวาคม นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า คพ.ได้ติดตามเฝ้าระวังการระบายน้ำออกจากทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งใช้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ทั้ง 13 ทุ่ง โดยเริ่มจากทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก พื้นที่ลุ่มต่ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอีก 12 ทุ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ใต้ จ.นครสวรรค์ลงมา ปัจจุบันมีระบายน้ำออกจากทุ่งไปแล้วรวม 1,266 ล้าน ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คงเหลือปริมาณน้ำในทุ่งที่จะต้องระบายรวมกันออกอีกประมาณ 128 ล้าน ลบ.ม. โดยจะคงปริมาณน้ำส่วนหนึ่งไว้ในแต่ละทุ่ง รวมกันประมาณ 346 ล้าน ลบ.ม. และใช้ระบบชลประทานในพื้นที่เก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ในการเตรียมแปลงเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอ นางสุณี กล่าวว่า จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ระบายน้ำ วันที่ 13 ธันวาคม 2560 พบว่าปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ตั้งแต่ช่วง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมา ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ทำให้ปลาและสัตว์น้ำลอยหัวขึ้นสู่ผิวน้ำ การแก้ไขปัญหาจะต้องเพิ่มการระบายน้ำเพื่อเจือจางน้ำเสีย โดย สำนักงานชลประทานที่ 11 ได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเ